การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การหกล้ม ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มและแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุของชุมชนมิตรภาพพัฒนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี จำนวน 158 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 25 คน ผู้นำชุมชน และ อสม. จำนวน 33 คน และบุคลากรสุขภาพ จำนวน 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การตรวจร่างกายผู้สูงอายุ และการสังเกตสิ่งแวดล้อมในบ้านและชุมชน ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุเป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.0 อายุที่พบมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 70 - 79 ปี ร้อยละ 43.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 58.2 มีโรคประจำตัวที่แพทย์วินิจฉัยแล้ว ร้อยละ 72.2 โดยโรคที่พบมากคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กระดูกและข้อ ตามลำดับ ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวมากกว่า 1 โรค ร้อยละ 37.0 ยาที่ได้รับจากแพทย์มากที่สุดคือ ยาลดความดันโลหิต ร้อยละ 64.0 อุบัติการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 34.8 โดยมีสาเหตุจากการเดินสะดุด ร้อยละ 41.8 ลื่น ร้อยละ 38.2 เวียนศีรษะ ร้อยละ 7.3 ปัจจัยด้านบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ คือ เพศหญิง ร้อยละ 62.0 ความบกพร่องทางสายตา ร้อยละ 44.3 ความผิดปกติของการทรงตัว ร้อยละ 19.6 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50.0 ภาวะดัชนีมวลกายมากกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 34.2 ด้านสิ่งที่ทำให้เกิดการหกล้ม คือ ยาลดความดันโลหิต ร้อยละ 64.0 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในบ้าน คือ ขอบธรณีประตูทางเดินต่างระดับ พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก การจัดสิ่งของในบ้านไม่เป็นระเบียบ ใช้เศษผ้าหรือเสื้อผ้าเก่าเป็นที่เช็ดเท้า และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน คือ ทางเดินรอบบ้านมีสิ่งกีดขวาง ร้อยละ 37.3 มีทางเดินรถจักรยาน/จักรยานยนต์ลักษณะขรุขระ แนวทางการป้องกันการหกล้มที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและรอบบ้าน การส่งเสริมการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุ และการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มในชุมชน
The purpose of this descriptive research was to study incidence of falls, risk factors of falls, and the guideline for preventing falls in the elderly of Mitraphappatana community. The sample was 158 elderly, 25 caregivers, 33 community leaders and village health volunteers, and 6 healthcare providers. Data were collected from November to December 2012 by interviewing with questionnaire, physical examination of the elderly, and observing environment inside elderly’s house and community. Data were analyzed by using frequency, percentage, and content analysis.
The results showed that most of the were female (62.0%) age 70-79 years old (43.0%). Most of them were unemployed (58.2%). Approximately 72.2 persents has been diagnosed with hypertension, diabetes mellitus, bone and joint, In addition, the elderly had more than one disease (37.0%), Most medication, with had been taken, was antihypertensive drugs (64.0%). Incidence of falls among the elderly in the past six months was 34.8 percent, with was caused by stumble (41.8%), slippery (38.2%) and dizziness (7.3%). Significant risk factors were found that host factors was female (62.0%), visually impaired (44.3%), disorders of balance (19.6%), hypertension (50.0%), obesity (34.2%). Agent factors was antihypertensive drugs (64.0%). Environmental factors were doorsill, unever floor, slippery ceramic floor, house disorganized, use rags or old clothes mat. In addition, environmental factors outside the house were having obstacles around the (37.3%) and having rough ways of bicycle/motorcycle (34.2%). Guidelines for the prevention of falls consisted of three components which were to improve the environment in and around the house, to promote exercise for the elderly and educate whom on the prevention of fall in community.