dc.contributor.author |
กรุณา ประมูลสินทรัพย์ |
|
dc.contributor.author |
กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม |
|
dc.contributor.author |
จริยาวัตร คมพยัคฆ์ |
|
dc.contributor.author |
เอกชัย โควาวิสารัช |
|
dc.contributor.author |
Karuna Pramoolsinsup |
|
dc.contributor.author |
Kamonthip Khungtumneum |
|
dc.contributor.author |
Jariyawat Kompayak |
|
dc.contributor.author |
Ekachai Kovavisarach |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
th |
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
th |
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
th |
dc.contributor.other |
Rajavithi Hospital. Department of Obstetrics and Gynecology |
th |
dc.date.accessioned |
2024-01-29T06:20:43Z |
|
dc.date.available |
2024-01-29T06:20:43Z |
|
dc.date.issued |
2013 |
|
dc.identifier.citation |
วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2556) : 54-60 |
th |
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1685 |
|
dc.description |
สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/16889/17208 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก โดยใช้แนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2006) กลุ่มตัวอย่าง คือหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกจำนวน 40 ราย คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดแล้วแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ในจำนวนที่เท่ากันคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่ประกอบด้วย แผนการสอนกลุ่มย่อย แผนการสอนรายบุคคลและครอบครัว คู่มือส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ตัวแบบด้านบวก และแผ่นซีดีเสียงสำหรับฝึกปฏิบัติการคลายเครียดของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก และได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบค่าที (t – test statistic) ผลการวิจัยพบว่า
1) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก หลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p - value < .001
2) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p - value < .05 |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.subject |
การส่งเสริมสุขภาพ |
th |
dc.subject |
Health promotion |
th |
dc.subject |
วัยรุ่นหญิง -- พฤติกรรมทางเพศ |
th |
dc.subject |
Teenage girls -- Sexual behavior |
th |
dc.subject |
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น |
th |
dc.subject |
Teenage pregnancy |
th |
dc.title |
ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก |
th |
dc.title.alternative |
The Effect of Health Promotion Program on Health Promoting Behavior Primigravida Adolescents |
th |
dc.type |
Article |
th |