DSpace Repository

ความรู้ ทัศนคติของนักเรียนมัธยมที่มีต่อผู้ป่วยโรคเอดส์และการป้องกันโรคเอดส์ เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
dc.contributor.advisor Jaturong Boonyarattanasoontorn
dc.contributor.author จรินทร์ เกษรบัว
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-02-23T04:43:33Z
dc.date.available 2024-02-23T04:43:33Z
dc.date.issued 2007
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1743
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์ และการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อหาแนวทางในการประชาสัมพันธ์ให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้ และตระหนักถึงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเอดส์ ใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนมัธยมเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลบางบ่อ โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 266 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหญิง อายุระหว่าง 15-17 ปี การศึกษา 2549 มีเกรดเฉลี่ย 2.51-3.50 สภาพครอบครัวอาศัยอยู่กับครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ และส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมเรื่องโรคเอดส์มาแล้ว 1-3 ครั้ง ส่วนใหญ่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์สำหรับผู้ที่เคยมีสัมพันธ์ ส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เป็นบางครั้ง กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดไม่มีผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อในครอบครัว จากการศึกษาระดับความรู้และทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์และการป้องกันโรคเอดส์ ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในระดับปานกลาง และมีความรู้เกี่ยวกับการติดต่อและการป้องกันในระดับดี และส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ป่วยเอดส์ในระดับปานกลาง และมีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ในระดับดี นักเรียนมัธยมที่อาศัยอยู่กับบิดา มารดาและญาติ มีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่านักเรียนที่อยู่กับเพื่อนและอยู่คนเดียว นักเรียนมัธยมที่เคยได้รับการอบรมเรื่องโรคเอดส์มากกว่า 3 ครั้ง มีความรู้เรื่องโรคเอดส์สูงกว่านักเรียนที่เคยได้มีการอบรมเรื่องโรคเอดส์น้อยครั้งกว่า และไม่เคยได้รับการอบรม และมีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่านักเรียนที่เคยได้มีรับการอบรมเรื่องโรคเอดส์น้อยครั้งกว่า และไม่มเคยได้รับการอบรม นักเรียนมัธยมที่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เป็นบางครั้ง มีทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และนักเรียนที่ใช้ถึงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง มีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ต่ำสุด โดยนักเรียนมัธยมที่เคยมีเพศสัมพันธ์มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่านักเรียนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ นักเรียนมัธยมที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ด้านใดด้านหนึ่งสูง จะมีความรู้อื่นๆ สูงด้วยและนักเรียนมัธยมที่มีทัศนคติด้านใดด้านหนึ่งสูง จะมีทัศนคติด้านอื่นๆ สูงเช่นเดียวกัน โดยมีความสัมพันธ์ของความรู้กับทัศนคติไปในทางเดียวกัน จากผลการศึกษาดังกล่าวผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1) รัฐบาลควรกำหนดให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับเพศศึกษาในโรงเรียนมัธยม (2) รัฐบาลควรเน้นการประชาสัมพันธ์สถานการณ์ของโรคเอดส์ต่อกลุ่มเยาวชนตามความเป็นจริงอย่างต่อเนื่อง (3) รัฐบาลควรมีนโยบายควบคุมและป้องก้นการเผยแพร่สื่อลามกอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้นักเรียนและวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยที่เหมาะสม ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ (1) หน่วยงานด้านสุขภาพและโรงเรียน ควรจัดกิจกรรมเสริมทักษะการป้องกันโรคเอดส์โดยมีหลักสูตรแบบ Home Room (2) หน่วยงานด้านสุขภาพควรมีการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่่ยวกับโรคเอดส์ การติดต่อและการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป (1) ควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการใช้และไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยม (2) ควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้นักเรียนมีทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์ที่ไม่ดีในเรื่องใดบ้าง th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject โรคเอดส์ -- การป้องกัน th
dc.subject AIDS (Disease) -- Prevention. th
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา -- พฤติกรรมทางเพศ. th
dc.subject High school students -- Sexual behavior. th
dc.subject ทัศนคติต่ออนามัย th
dc.subject Health attitudes th
dc.title ความรู้ ทัศนคติของนักเรียนมัธยมที่มีต่อผู้ป่วยโรคเอดส์และการป้องกันโรคเอดส์ เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative Knowledge and Attitude of High School Students towards HIV/ AIDS Patients and the Prevention in Bang Bo Hospital's Responsible Area, Samutprakan Province th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การบริหารสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account