DSpace Repository

ความรู้ ความเข้าใจ และความพึงพอใจของคนพิการในบริการด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ ของสำนักงานเขตสาทร กรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
dc.contributor.advisor Thipaporn Phothithawil
dc.contributor.author กนกวรรณ รัฐสมุทร
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-02-23T05:42:48Z
dc.date.available 2024-02-23T05:42:48Z
dc.date.issued 2007
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1747
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจของคนพิการเกี่ยวกับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของคนพิการต่อการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการที่ได้รับ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของคนพิการในการรับบริการเบี้ยยังชีพคนพิการ 4) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคนพิการต่อการพัฒนาการดำเนินงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ ของสำนักงานเขตสาทร กรุงเทพมหานคร การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คนพิการที่ได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ จำนวน 111 คน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาในส่วนที่ 4 และส่วนที่ 5 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 59.9 มีอายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.2 การศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 59.5 สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 46.8 ไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีรายได้ คิดเป็นร้อยละ 74.8 สมาชิกในครอบครัวอาศัย่มากกว่า 4 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8 มีความพิการทางกาย/เคลื่อนไหว คิดเป็นร้อยละ 36.9 อาศัยอยู่ในบ้านเช่า คิดเป็นร้อยละ 35.1 คนพิการส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการที่ถูกต้องคิดเป็นค่าเฉลี่ย 13.9 และมีความพึงพอใจในการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.12 ประกอบด้วย ความพึงพอใจในด้านเบี้ยยังชีพคนพิการที่ได้รับ ความพึงพอใจด้านหลักเกณฑ์การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ความพึงพอใจด้านวิธีการ ขั้นตอนการสงเคราะห์ ความพึงพอใจด้านสิ่งแวดล้อมและสถานที่ ความพึงพอใจด้านการให้บริการ และความพึงพอใจด้านการมีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาครั้งนี้ คือ ระดับนโยบาย ได้แก่ รัฐควรมีมาตรการส่งเสริมให้กับคนพิการ ได้รับการศึกษามากขึ้นในทุกระดับ ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ รัฐควรเปิดโอกาส่ให้คนพิการมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ รัฐควรจัดสรรงบประมาณการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการให้เพียงพอและทั่วถึงกับคนพิการ รัฐควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร เกี่ยวกับสิทธิและการเข้าถึงบริการ รัฐควรรณรงค์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ระดับปฏิบัติ สำนักงานเขตสาทร ควรมีการเพิ่มจำนวนบุคลากรในด้านการปฏิบัติงานกับคนพิการให้มากขึ้น ควรมีการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น ควรจัดการฝึกอบรมวิชาชีพให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้ และควรมีการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการให้เข้าถึงคนพิการโดยทั่วถึงทุกชุมชน th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject เบี้ยยังชีพคนพิการ th
dc.subject Pensions th
dc.subject คนพิการ -- การสงเคราะห์ th
dc.subject People with disabilities -- Services for th
dc.title ความรู้ ความเข้าใจ และความพึงพอใจของคนพิการในบริการด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ ของสำนักงานเขตสาทร กรุงเทพมหานคร th
dc.title.alternative Comprehension and Satisfaction of the Disabled on Service Concerning Monthly Allowance for the Disabled of Sathon District Office, Bangkok Metropolis th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การบริหารสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account