ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เป็นธรรมดาและเกิดขึ้นเป็นปกติพร้อมกับการเกิดการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ ความขัดแย้งมีทั้งเป็นสิ่งที่เป็นคุณและเป็นโทษ เนื่องจาก ความขัดแย้งถือเป็นเครื่องมือประการหนึ่งที่กระตุ้นให้สังคมไม่เกิดความเฉื่อยชาและเกิดการพัฒนาขึ้นอยู่เสมอ แต่ความขัดแย้งดังกล่าวนี้จะต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะพอสม ไม่สูงหรือไม่ต่ำจนเกินไป เมื่อพิเคราะห์ถึงเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งจะพบว่า ความขัดแย้งมีที่มาจากปัจจัยสำคัญในด้านต่างๆ 4 มิติด้วยกัน ได้แก่ มิติด้านผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ มิติด้านสถานะของคนในสังคม มิติด้านความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และมิติด้านค่านิยม ความเชื่อ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมรัฐจำเป็นต้องกำหนดทิศทางนโยบายเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆดังกล่าวทั้ง 4 มิติดังกล่าวให้ครบทุกมิติอย่างมีประสิทธิผล
Conflicts is the natural things and occur in natural with the emergence of human society. Conflict is both good and harmful, because conflict is one of the tools that motivate society to not become indolent and evolve over time, but on the other hand, this conflict must be at a reasonable level. The factors that caused the conflict were found in four different dimensions: Economic dimension, Status dimension, Power relations dimension and Values and Beliefs dimension. Therefore, to resolve this social conflicts, the states shall to set the policy direction for solving problems in all dimensions effectively.