DSpace Repository

การขึ้นทะเบียนบัญชีมรดกโลกตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ.1972 : ศึกษากรณีกลุ่มป่าแก่งกระจาน

Show simple item record

dc.contributor.author นิก สุนทรธัย
dc.contributor.author Nick Soonthorndhai
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law th
dc.date.accessioned 2024-03-02T06:54:48Z
dc.date.available 2024-03-02T06:54:48Z
dc.date.issued 2021
dc.identifier.citation วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 12,1 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) : 181-201 th
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1765
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawhcu/article/view/250118/168591 th
dc.description.abstract ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ.1972 ในปี พ.ศ. 2530 โดยตระหนักถึงความสำคัญร่วมกันในการปกปักรักษาเอกลักษณ์และคุณค่าของทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติเพื่อให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติทั้งปวง โดยอนุสัญญาได้กำหนดหลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่ประเทศภาคีสามารถเสนอชื่อและสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกผ่านระบบและกลไกตามที่อนุสัญญากำหนดไว้ ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เสนอสถานที่สำคัญและได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกไปแล้ว 5 แห่ง เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง และเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกแห่งล่าสุดที่ประเทศไทยเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่ก็ได้รับการคัดค้านจากคณะกรรมการมรดกโลกในข้อกังวลเรื่องเขตแดนไทยและเมียนมาร์ กลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานมาแต่ดั้งเดิม เกิดความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยงกับหน่วยงานภาครัฐที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ในประเด็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ใจกลางกลุ่มป่าแก่งกระจาน แต่ในที่สุด กลุ่มป่าแก่งกระจานก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 พ.ศ. 2564 ด้วยเหตุผลหลักในเรื่องความโดดเด่นของความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มป่าแก่งกระจาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกลุ่มป่าแก่งกระจาน แต่สิ่งที่รัฐควรต้องตระหนักคือประเด็นในเรื่องการเคารพต่อสิทธิทางวัฒนธรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน สิทธิของชนกลุ่มน้อย ชนเผ่าพื้นเมือง ในบริบทของกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมาย ภายในประเทศ การทบทวนบทบัญญัติของพระราชบัญญัติป่าชุมชน เพื่อสนับสนุนหลักการในอุดมคติ “คนอยู่กับป่า” สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มชาติพันธ์ดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่มรดกโลก โดยถือว่าชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมเหล่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกทางธรรมชาติเช่นกัน th
dc.description.abstract Mindful of the importance to safeguard the identity and value of cultural and natural properties so that they can be preserved as heritage for all mankind, Thailand has ratified the 1972 Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage in 1987. The Convention has set out the rule and regulation for State Parties to nominate the names and potential sites in their country which can be considered for inscription of the World Heritage List through the system and mechanism prescribed by the Convention. In the past, Thailand had nominated important sites of which five of them were listed as the World Heritage – three as the World Cultural Heritage and two as the World Natural Heritage. Kaeng Krachan Forest Complex was the latest site nominated by Thailand for adding to the World Heritage List. However, the nomination was opposed by the World Heritage Committee due to concerns over the conflict at the Thai-Myanmar border. The conflict was caused by lack of understanding between the state agencies and Karen minority group on the point concerning the latter’s inhabitancy in the heart of Kaeng Krachan Forest Complex. The Karen minority group has originally been living there for a long time. The conflict lasted for over ten years. Eventually, the Kaeng Krachan Forest Complex was successfully added to the World Natural Heritage list at the 44th Ordinary Session of the World Heritage Committee in 2021 based mainly on the forest complex’s outstanding qualification on biodiversity. But although the listing of Kaeng Krachan Forest Complex had gained success, what the State should be fully aware are the points on respecting the cultural right which is part of human right, community right and ethnic minority group right issues in the context of international and domestic law, as well as on the review of provisions in the Community Forest Act in a bid to support an ideal principle on “People and Forest Living Together” and enhance good relation with original ethnic groups living in the world heritage site reckoning them as part of the World Natural Heritage as well. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. 1972 th
dc.subject Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage, 16 November 1972 th
dc.subject มรดกโลก th
dc.subject Wold heritage th
dc.subject มรดกทางวัฒนธรรม th
dc.subject Cultural property th
dc.subject ทรัพยากรทางวัฒนธรรม th
dc.subject มรดกทางธรรมชาติ th
dc.subject Nature Conservation th
dc.subject ป่าแก่งกระจาน th
dc.subject Kaeng Krachan Forest Complex th
dc.title การขึ้นทะเบียนบัญชีมรดกโลกตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ.1972 : ศึกษากรณีกลุ่มป่าแก่งกระจาน th
dc.title.alternative The World Heritage List according to The Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage 1972 : The Case Study of Kaeng Krachan Forest Complex th
dc.type Article th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account