วิชานิติปรัชญา แม้เป็นรายวิชาที่คณะนิติศาสตร์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ กำหนดให้เป็นรายวิชาบังคับ และยังเป็นรายวิชาที่สอดคล้องกับกลุ่มวิชาหลักทั่วไปแห่งกฎหมายตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ พ.ศ.2561 แต่จากผลการสำรวจข้อมูลการจัดเรียนการสอนวิชานิติปรัชญาในคณะนิติศาสตร์ไทย จำนวน 12 สถาบัน สะท้อนว่า ผู้เรียนมักไม่ให้ความสำคัญกับรายวิชาดังกล่าว มองว่าเป็นรายวิชาที่มีความเข้าใจยาก และไม่เห็นถึงประโยชน์ของการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ ทั้ง ๆ ที่เป็นรายวิชาที่จะช่วยบ่มเพาะคุณลักษณะของความเป็นนักกฎหมายให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกที่สัมพันธ์กับสภาพสังคมและกฎหมาย จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น คณะนิติศาสตร์ในประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม จึงควรต้องร่วมมือกันกลับมาทบทวนถึงแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชานิติปรัชญา เพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรในวิชาชีพกฎหมายที่รู้จักตั้งข้อสังเกตและตั้งคำถามกับสถานการณ์ในสังคมผ่านบริบททางกฎหมายมากกว่าการเป็นนักท่องจำ
The course “Philosophy of Law” is considered important by most faculties of law in Thailand as they include it as a compulsory course for undergraduate law students according to the mandate by Thai Qualifications Framework for Higher Education for the undergraduate degree in law (B.E. 2561). Despite its supposed significance of cultivating the character of the future lawyers to be relevant to the present-day social and legal circumstances, our survey of the teaching and learning of the Philosophy of Law Course in 12 faculties of law in Thailand shows that students regard this subject as trivial, difficult to understand, and having little value for their professional career. Therefore, faculties of law in Thailand as well as organizations involved in the judicial process should work side by side to come up with the guideline for the teaching and learning of this crucial course in order to produce qualified future lawyers that can not only memorize particular provisions, but also perceive and question what is happening in the current situation from the legal context.