การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ความต้องการและปัญหาการดูแลระยะยาว, วิเคราะห์ นโยบาย แผน กลไกและนำเสนอรูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่อุตสาหกรรม ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 3,130 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 355 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลระยะยาว จำนวน 31 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ด้านสถานการณ์ ความต้องการและปัญหาการดูแลระยะยาว ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนนดัชนีบาร์เชลความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในช่วง 5-11 คะแนน มี 70.1% ในขณะที่ผู้สูงอายุที่มีคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน เท่ากับหรือน้อยกว่า 4 คะแนน มี 29.9% ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เจ็บป่วย 98.9% และส่วนใหญ่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผู้สูงอายุมีคนดูแลตลอดทั้งวัน 42.3% ที่เหลืออีก 41.4% มีคนดูแลบางช่วงเวลาและมีผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง 16.3% ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีความต้องการดูแลระยะยาวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.47) ซึ่งสามารถเรียงตามลำดับดังนี้ บริการชุมชน (ค่าเฉลี่ย 3.70) รองลงมาบริการที่บ้าน (ค่าเฉลี่ย 3.43) และบริการในสถาบัน (ค่าเฉลี่ย 3.11) ปัญหาการดูแลระยะยาวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.63) ผลการดำเนินงานในปี 2559-2560 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการการดูแลระยะยาว จำนวน 22 แห่ง จากทั้งหมด 48 แห่ง มีผู้จัดการดูแลระยะยาว (CM) จำนวน 79 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG) จำนวน 477 คน ดำเนินการจัดทำแผนการดูแล (Care plan) จำนวน 1,423 ราย เบิกจ่ายเงินไปแล้ว ร้อยละ 70.77 จากข้อค้นพบ ผู้วิจัยนำเสนอรูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่อุตสาหกรรม โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก อายุ 40-59 ปี เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่านั้นควรเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบการดูแลระยะยาว และกลุ่มที่ 3 คือผู้สูงอายุที่สามารถช่วยตัวเองได้ ควรเข้าสู่การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การจำแนกผู้สูงอายุควรประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ครอบครัวและชุมชนร่วมด้วย เนื่องจากในพื้นที่อุตสาหกรรมมีปัญหาเกี่ยวกับเวลาที่จำกัดในการดูแลผู้สูงอายุและเป็นสังคมเมือง ด้านการบริการเน้นบริการในชุมชนและการบริการที่บ้าน ด้านการบริหารจัดการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนาระบบให้เกิดความยั่งยืน
This research is a mixed methods research composed of quantitative and qualitative research. The objectives are to study the situation, needs, and problems of long-term care (LTC), analyze policy, plan, mechanism and present LTC model for the elderly in the industrial area. The sample population is 3,130 elderly people who are dependent on Samutprakarn Province and 355 people randomly selected, collect data by using questionnaires along with in-depth interviews with those involved in LTC 31 people, analyzed by descriptive statistics and content analysis.
The study found that the situation, needs, and problems of LTC, 70.1% of the dependent elderly who had the Barthel Activities of Daily Living: ADL score of 5-11, while 29.9% of elderly at ADL score equal or less than 4, 98.6% of the elderly were sick and most was non-communicable diseases, 42.3% needed someone to take care all the time, 41.4% had cared for an uncertain period and 16.3% were left alone. The dependent elderly who need LTC service was at a high level (mean 3.47) ranging from community service (mean 3.70) followed by the home service (mean 3.43) and Institutional services (mean 3.11) respectively. The overall problem of LTC was at a high level (mean 3.63). Performance in the years 2016 - 2019, 22 local administrative organizations were participating in the LTC program for a total of 48 locations. There were 79 care managers (CM), caregivers (CG) of 477 people, conducted a care plan of 1,423 cases, disbursed 70.77%. According to the findings, the researcher presents the LTC model by dividing the elderly into 3 groups. Group 1: 40-59 years old should focus on promoting health and preventing chronic infectious diseases (non-communicable diseases: NCDs). Group 2: 60 or older should be prepared to enter the LTC system. Group 3: older people who can help themselves should promote health and prevent disease. Classification of the elderly should assess ADL together with family and community because in the industrial area there is a problem with limited time in caring for the elderly and being an urban society. In service, emphasizing community service and home services, management of local administrative organizations to prepare a memorandum of cooperation with relevant agencies so that all sectors are involved in caring for the elderly and developing a sustainable system.