บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง สานพลังชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังหญิง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งความห่วงใยให้เปิดโอกาสแก่ผู้ต้องขัง ผู้พ้นโทษ โดยผู้นําชุมชนและท้องถิ่นรวมทั้งประชาชนได้มีส่วนร่วมแบ่งปันและสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีขอบเขตการวิจัยประกอบด้วย การนําแนวคิดการเสริมพลังอํานาจไปประยุกต์ใช้เตรียมความพร้อมกับผู้นําและสมาชิกชุมชนตําบลหันตรา อําเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวน 6 หมู่บ้านในการรับผู้ต้องขังหลังพ้นโทษจากเรือนจําจังหวัดพระนครศรีอยุธยากลับเข้าสู่ครอบครัวและชุมชนวิธีการดําเนินการวิจัย คือการจัดอบรมการให้คําปรึกษา และกิจกรรมกลุ่มก้าวที่พลาดด้วยวิธีการเสริมพลังอํานาจให้แก่กลุ่มแกนนํา หลังจากนั้นแกนนํามาขยายผลด้วยการเชิญชวนสมาชิกชุมชนทั้ง 6 หมู่บ้าน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหรือครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นกลุ่มเสี่ยง ตลอดจนอดีตผู้ต้องขังของตําบลหันตราเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มการเสริมพลังอํานาจ “ก้าวที่พลาด” เป็นลักษณะกลุ่มเปิดจํานวน 6 ครั้ง ครั้งละ 20-30คน รวมผู้เข้าร่วมจํานวน 110 คน ผลการศึกษาพบว่า แกนนําชุมชน สมาชิก ผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงและครอบครัว ตลอดจนผู้พ้นโทษได้เรียนรู้จากการเป็นประจักษ์พยานคําบอกเล่าแบ่งปันประสบการณ์ความทุกข์ และบทเรียนที่ได้จากการกระทําผิด ผลที่เกิดขึ้นคือ พลังแห่งการแบ่งปัน การเกื้อกูลกันในกลุ่มก่อให้เกิดความเข้าใจก้าวที่พลาดในชีวิตมนุษย์นั้นไม่ใช่ตราบาปชั่วชีวิตแต่เป็นบทเรียนส่วนหนึ่งของชีวิตที่ให้อภัยและให้โอกาสแก่ตนเองและผู้อื่น สําหรับข้อเสนอแนะ เรือนจํา องค์การบริหารส่วนตําบลหันตรา กลุ่มสานพลังชุมชนหันตราและเครือข่ายอื่น มีการทํางานอย่างบูรณาการและสนับสนุนให้อาสาสมัครหรือแกนนําของชุมชน ได้เข้ามามีบทบาทในการดําเนินการช่วยเหลือผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษอย่างเป็นระบบ และขยายผลไปยังชุมชนอื่นมากขึ้น
This article is part of the research “Community empowerment to improve the quality of life for female prisoners”. The objectives is building a community of concern to provide opportunities for prisoners who are punished by community and local leaders as well as people to participate, share and create areas of learning together happily. These article is qualitative research. The scope of research include presents the concept of empowerment for prepare community leader and member in community 6 village in Hantra Subdistrict, Mueang District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province that have to accept prisoners after being released back to their families and communities. The research methodology is to provide training counseling and leadership with community leaders. After that the community leaders extended result by persuade the members in community from 6 villages that especially at risk groups and families as well as the former inmates of Hantra Subdistrict participated in empowerment activities. "Missed steps" are in the form of open groups, 6 times, 20-30 people at a time, totaling 110 participants. The results of the study show that community leaders, members at risk and their families as well as those acquitted from the testimony, hearsay, share suffering experience and learned from wrongdoing. Its results show that people in the community are concerned about each other as a basis, and the culture of opening the heart to listen as friends help friends. It creates a broader perspective in the meaning of error by understanding, accepting and giving opportunities for oneself and others. It is the power to strengthen the internal power to prevent the use of power to induce the cycle of evil, including self-esteem, being ready to develop one's potential in order to have knowledge, ability and skills in transferring experiences through the steps that have been missed to other people. Suggestions the prison, Hantra subdistrict administration organization, Sarm Palang Hantra group and others network have to integrated and support volunteer or community leader take action to help with prisoners and acquitted systematically and extended to other communities.