การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของนักเรียนที่ใช้สารเสพติดในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ใช้สารเสพติด ในจังหวัดสมุทรปราการ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ใช้สารเสพติด ในจังหวัดสมุทรปราการ กับข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 198 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนที่ใช้สารเสพติดเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ เป็นบุตรคนที่ 1 ในพี่น้อง 2 คน มีพ่อหรือแม่ใช้สารเสพติดประเภท กัญชา บุหรี่และเหล้าและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม สิ่งที่ใช้เสพ คือ บุหรี่ เบียร์ เหล้า กัญชา กระท่อม ด้วยเหตุผลเพราะอยากลอง เพื่อนชวนหรือคลายเครียด 2) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ใช้สารเสพติดอยู่ในระดับน้อย 3) ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับเพศ ระดับการศึกษา การอยู่อาศัย จำนวนพี่น้องในท้องเดียวกัน สมาชิกในครอบครัวที่ใช้สารเสพติด สารเสพติดที่คนในครอบครัวใช้ และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. สำหรับลำดับบุตรในท้องเดียวกัน กิจกรรมที่ทำในยามว่าง ไม่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์
This survey research was aimed to study: 1) the personal information of substance abuse students in Samut Prakan Province; 2) the level of emotional intelligence of substance abuse students in Samut Prakan Province; and 3) the relationship between the emotional intelligence of substance abuse students in Samut Prakan Province and personal information. The sample consisted of 198 students obtained by multistage sampling. The instruments used in this study were 1) a personal data questionnaire and 2) an emotional intelligence test. The frequency, percentage, standard deviation and Chi-Square test were used for data analysis.
The results of the study revealed that 1) the substance abuse students were more males than females. They lived with their parents and were the first of two siblings whose father or mother used addictive substances, i.e., marijuana, cigarettes, and alcohol. They grew up with authoritarian parenting style. The addictive substances used were cigarettes, beer, liquor, marijuana, and Kratom. The reasons for substance abuse were experimenting, persuading by friends, and using it for stress relief. 2) The emotional intelligence of substance abuse students was at a low level. 3) The emotional intelligence was related to sex, education level, residence, number of siblings, family members who used addictive substances, type of addictive substances used, and parenting style with a statistically significant level of .05. The birth order and free-time activities were not correlated with emotional intelligence.