ครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อครอบครัวทั้งด้านโครงสร้างและความเป็นอยู่ดีมีสุขของครอบครัว งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการสำรวจความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยตามวงจรชีวิตครอบครัว แบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการสร้างแบบวัด โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อระบุคุณลักษณะของความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยกระบวนการสนทนากลุ่มจากตัวแทนครอบครัว (n = 310 คน) ใน 5 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ แบ่งกลุ่มการสนทนาออกเป็นกลุ่มชายและกลุ่มหญิง กลุ่มๆ ละ 6-10 คน รวมจำนวน 40 กลุ่ม ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาพบว่าความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวตามการรับรู้ของครอบครัว ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 ด้าน คือ 1. ด้านสัมพันธภาพ 2. ด้านบทบาทหน้าที่ 3. ด้านเศรษฐกิจ 4. ด้านการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง 5. ด้านความร่วมใจและปลอดภัยในชุมชน 6. ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ 7. ด้านการดูแลสุขภาพ 8. ด้านการศึกษา และ 9. ด้านความมั่นคงและการพึ่งพา จากนั้นนำข้อมูลเชิงคุณภาพที่สรุปได้มาสร้างแบบวัดครอบครัวอยู่ดีมีสุข (ฉบับร่าง) จำนวน 85 ข้อ เป็นคำถามให้ตอบเป็นมาตรวัดแบบลิเคิร์ตสเกล 5 ระดับ ระยะที่สอง เป็นการทดสอบคุณภาพของแบบวัด โดยตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านครอบครัวจำนวน 5 ท่าน หลังจากนั้นนำไปทดสอบความเชื่อมั่นของแบบวัด ความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้แทนของครอบครัว จำนวน 351 ครอบครัว ในเขตกรุงเทพมหานคร
ผลจากการวิจัย พบว่า ได้แบบวัดแบบวัดครอบครัวอยู่ดีมีสุข จำนวน 9 องค์ประกอบ 75 ข้อคำถาม โดยการกระจายของตัวแปรในแต่ละปัจจัยเป็นไปตามที่การจัดกลุ่ม 9 องค์ประกอบที่ได้กำหนดไว้ และแบบวัดมีความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในเท่ากับ .952 และความเชื่อมั่นรายองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง .703 -.925 ทั้ง 9 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 55.66
Thai families are in amidst of changes that affect both family structures and their well-being. The objective of this study was to development of Family Well-being (FWB) scale for Thai families which part of tool development for FWB survey according to family life cycle. The process consisted of two phases. The first phase was scale development, using qualitative research method to identify the attributes of FWB. Focus group discussion was performed by asking about the meaning and perception of FWB among family representatives within 5 regions, including Bangkok Metropolitan, the northern, the central, the northeastern, and the southern regions. The 310 families were divided into 6-10 subjects per group according to gender (male and female. The findings from content analysis showed 9 components of FWB which are 1) Relationship, 2) Role, 3) Economic, 4) Sufficiency economy, 5) Community sharing and safety, 6) Spiritual development, 7) Health, 8) Education, and 9) Self-sufficiency and dependency. The draft FWB scale was developed based on qualitative results which consisted of 85 items with 5 levels of Likert scale response. Second phase was the evaluation of the psychometric properties of the scale. The draft FWB scale was reviewed by 5 experts in family research. Then it was pilot tested among 351 families in Bangkok area for construct validity using exploratory factor analysis and reliability. The results of exploratory factor analysis revealed that the final FWB scale have 9 components with 75 items as predetermined. The FWB scale and its subscales have shown good internal consistency reliability of .952 and between .703 - .925. The total variance accounted for was 55.66%.