วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ในชุมชน ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ รวมทั้งศึกษาความคิดเห็นของผู้นำชุมชนและตัวแทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเดกชน เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยศึกษากรณีชุมชนตำบลแม่แผกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาเป็นลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กลุ่มประชากร 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 23 ราย กลุ่มสมาชิกในครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์จำนวน 18 ราย กลุ่มประชาชนทั่วไป 21 ราย กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 17 ราย และกลุ่มตัวแทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 5 ราย โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแนวคำถามประการการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในระหว่างการเยี่ยมบ้านและการร่วมกิจกรรมด้านเอดส์ในชุมชน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และนำเสนอผลการศึกษาในรูปการบรรยายเชิงพรรณนาผลการศึกษาปรากฏดังนี้1.โรคเอดส์ส่งผลกระทบที่เป็นปัญหาต่อชุมชนทั้งในด้านโครงสร้างของสถาบันครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวอ่อนแอไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ด้านวัฒนธรรมชุมชนเกิดการรังเกียจแบ่งแยกสังคมขาดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน ด้านพลังชุมชนเกิดการขาดความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการพัฒนาชุมชน และมีประชากรที่ด้อยคุณภาพ รวมทั้งด้านภาพพจน์ของชุมชนเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการลงทุนในชุมชน2.กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ พบว่าชุมชนแห่งนี้มีการปรับตัวในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมระหว่างประชาชนทั่วไปกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ รวมทั้งการมีหน่วยงานด้านสาธารณสุขและองค์กรต่าง ๆ แล้วก็ตาม แต่ผู้ติดเชื้อเอชไอวียังประสบปัญหาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต จึงรวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มเทียนแห่งชีวิต ดำเนินกิจกรรมเพื่อคลี่คลายปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของสมาชิกกลุ่มเป็นหลัก และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยเอดส์ตามหมู่บ้านอีกด้วย ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีมาสร้างจุดยืนในกลุ่มตนเองให้เข้มแข็ง และสร้างคุณประโยชน์ต่อชุมชนเพื่อจะได้กลับเข้าสู่สังคมทั่วไปของชุมชน และเมื่อชุมชนประสบปัญหาจากเอดส์มากขึ้น ประกอบกับเห็นความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเทียนแห่งชีวิต จึงเกิดความตระหนักว่าชุมชนควรต้องร่วมมือช่วยเหลือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการเอดส์ตำบลแม่แฝกใหม่ ซึ่งเป็นองค์กรประชาชนร่วมกันดำเนินงานเรื่องเอดส์ที่เป็นรูปธรรมและแตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ที่ดำเนินงานในรูปเฉพาะองค์กร3.องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้นำชุมชนเป็นหลัก โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุนทางด้านความรู้และเงินทุน มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมมือดำเนินกิจกรรมเรื่องเอดส์ทั้งในระดับการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และร่วมติดตามประเมินผล โดยยึดหลักวัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาชาวบ้านใช้ประกอบตามสถานการณ์4.สำหรับความคิดเห็นของผู้นำชุมชนและตัวแทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนพบว่า ปัจจุบันกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่นนิยมการเสพสารเสพติดที่จะส่งผลกระทบต่อการเสี่ยงติดเชื้อเอดส์มาก และยังมีประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่ยังไม่กล้าที่จะเปิดเผยตนเองว่าติดเชื้อเอชไอวีและป่วยโรคเอดส์ แต่ต้องการคำแนะนำช่วยเหลือจากชุมชน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้อย่างทั่วถึง จึงควรมีศูนย์บริการให้คำปรึกษาเรื่องนี้ทางโทรศัพท์ การจัดค่ายเยาวชนและสถานดูแลเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ขึ้นในชุมชน ตลอดจนการขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านนี้กับชุมชนภายนอกต่อไปด้วย จากการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้1.การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเกิดความตระหนัก และร่วมมือดำเนินกิจกรรมเรื่องเอดส์ วัดและโรงเรียนตามหมู่บ้านต่าง ๆ ควรร่วมดำเนินการเพิ่มเติมจากการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของคณะกรรมการหมู่บ้านด้วย2.การสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจ เพื่อเชิญชวนให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เปิดเผยตนเอง เพื่อที่ชุมชนจะได้ให้ความช่วยเหลือ ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่มผู้ติดเชื้อให้แก้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ตามหมู่บ้านต่าง ๆ โดยผ่านกรรมการหมู่บ้าน วัด และโรงเรียนในหมู่บ้าน3.การจัดตั้งสถานดูแลเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ในชุมชน ควรมีอาสาสมัครเป็นพี่เลี้ยงดูแลเด็กโดยขอรับการสนับสนุนด้านความรู้ในการดูแลเด็กจากหน่วยงานของกรมประชาสงเคราะห์และกระทรวงสาธารณสุข ค่าใช้จ่ายของอาสาสมัครจาก อบต. มีวัดและโรงเรียนในชุมชนร่วมการดูแลเด็ก4.เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชนเป็นไปอย่างทั่วถึง และเกิดการสานต่อในระยะยาว ชุมชนควรมีการขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านนี้กับชุมชนภายนอก และมีการสร้างเสริมความพร้อมในการดำเนินงานแก่สมาชิกของชุมชนด้วย5.ชุมชนควรดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพองค์รวม และการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนให้ยั่งยืนอีกส่วนหนึ่งด้วย เพื่อการขยายเครือข่ายทางสังคมในความร่วมมือเรื่องเอดส์ในวันสำคัญต่าง ๆ มีการจัดประกวดบุคคลและครอบครัวตัวอย่าง โดยเชิญผู้นำหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และนักการเมืองท้องถิ่นร่วมเป็นเกียรติ6.หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านสังคมและเศรษฐกิจ ควรร่วมมือกันในการสร้างเสริมศักยภาพของชุมชน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยให้การสนับสนุนทางด้านความรู้ และเงินทุนแก่ชุมชน และเปลี่ยนบทบาทจากการชี้กำหนดให้ชุมชนปฏิบัติตามเป็นการให้คำปรึกษาเพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป
The purpose of this study is investigate the impact of AIDS and study community participation in preventing and solving AIDS problems. The study also includes the opinions of community leaders and representatives of both government and non-governmental organizations on these issues. This is a qualitative research utilizing a semi-structure questionnaire, an in-depth interview, participatory observation and participation in AIDS activities. The respondents interviewed are from five target groups : 23 from people with HIV of AIDS, is from family members of those with HIV or AIDS, 21 from normal population, 17 from community leaders and 5 from government and non-governmental organizations. Qualitative analysis was used. The presentation of finding are in descriptive form.Major findings: 1.AIDS affect both families and communities. Aids problems have led to the decrease in the capability of the family to self- reliant. People with AIDS are casting away, discriminated against and received no help in their communities. The existence of people with HIV or AIDS in community affect its image which impedes earning a living and investment in the community. 2.In terms of community participation in preventing and solving AIDS problems, the existence of health and other organizations, people with AIDS and people with HIV are still suffering from their physical and mental health problems. Therefore, they organized themselves as a “ Light for life group” to conduct activities which help lessen the pressure from their physical and mental health problems and to assistance to people suffering AIDS in villages. This help strengthen their standpoint and be of benefit to community. The rise of the AIDS problems in combination with recognition of “ Light for life group” results in increasing community’s consciousness of mutual cooperation in preventing and solving AIDS problems. The Mae Fhag Mai Sub- District AIDS Committee were appointed to deal with AIDS problems. This committee is a community – based organization. 3. It is evident that factors appear to influence the community participation in preventing and solving AIDS problems are people with AIDS and community leaders, supports of both knowledge and finance from government and non-governmental organizations, campaigns aiming at consciousness and participation in AIDS activities based on community culture and wisdom. 4.Regarding opinions of community leaders and representatives for government and non-governmental organizations, it was found that youth and adolescence engaged in risky behaviors using drugs and those with AIDS or HIV are fear to disclose themselves as having AIDS or HIV but need advises and help from their community. Therefore, it is suggested tat the telephone counseling services, youth camp, centre for children who are affected from AIDS and networks with other communities and essential. Recommendations : 1.Campaigns to raise consciousness and participation in AIDS activities among schools and temples in villages should be done in addition to those normally done through village amplifier. 2.Understanding and trust should be built up to encourage those with AIDS or HIV to disclose themselves so community can render help to them. The dissemination of information about AIDS activities to other villages should be done through village committee, temples and schools.3.AIDS centre in the community for children affected from AIDS should be established. There should be volunteers who acquire knowledge in child care from the Department of Public Welfare and Ministry of Public Health. The expenses for volunteers should be paid by the Sub-District Administrative Organization. village temples and schools should be involved in caring for children in AIDS centre. 4.To extend the prevention and solution of AIDS problems and to keep it up for a long run, community should build up networks with other communities and should also prepare its members to be able to prevent and solve AIDS problems.5.To build up networks for well-being community by the whollistic health and community culture activities in memorial days, compete successful persons and families and invite leaders of government and non-governmental organizations also includes district politicians to preside at those ceremonies are essential.6.Both government and non-governmental organizations concerning sicio-economic development should cooperate in enhancing community’s potential in preventing and solving AIDS problems through knowledge and financial supports. These organizations should also change their role from dictator to supervisor in order to facilitate leaning process and to develop strong community.