DSpace Repository

ปัจจัยส่วนบุคคล สังคมและระดับความรู้ที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุและพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4X100 ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขต 8 และ 9

Show simple item record

dc.contributor.author ประกายเพชร แก้วอินทร์
dc.contributor.author ภุชงค์ เสนานุช
dc.contributor.author Prakaipech Kawin
dc.contributor.author Puchong Senanuch
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare. th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare. Master of Social Work and Social Welfare.
dc.date.accessioned 2024-03-03T03:35:34Z
dc.date.available 2024-03-03T03:35:34Z
dc.date.issued 2018
dc.identifier.citation วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 26, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561) : 205-233 th
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1780
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swjournal/article/view/169064/121637 th
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยส่วนบุคคล สังคมและระดับความรู้ที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุและพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4X100 ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขต 8 และ 9 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมของเด็กและเยาวชน ระดับความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดชนิด 4x100 พฤติกรรมการใช้ยาเสพติดและสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4x100 ของเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการใช้ยาเสพติด ชนิด 4 x 100 ของเด็กและเยาวชน ซึ่งมีวิธีการสุ่มตัวอย่าง คือ การเลือกสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive) โดยเลือกจากประชากรที่เป็นเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เขต 8 และเขต 9 รวมจำนวน 14 แห่ง ที่ถูกศาลพิพากษาตัดสินลงโทษในคดียาเสพติดประเภทกระท่อมเท่านั้น และกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) จำนวน 200 คน ซึ่งจะกระจายตามสัดส่วนประชากรของแต่ละสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจนครบตามจำนวนขนาดตัวอย่างที่กำหนดไว้ ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 16 -17 ปี (คิดเป็นร้อยละ 70.5) มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ชั้นประถมศึกษา (คิดเป็นร้อยละ 74.5) มีจำนวนพี่น้องอยู่ระหว่าง 2-3 คน (คิดเป็นร้อยละ 64.5) อาศัยอยู่บ้านของพ่อและแม่ (คิดเป็นร้อยละ 76.0) มีรายรับต่อเดือนส่วนใหญ่ต่ำกว่า 1,500 บาท (คิดเป็นร้อยละ 31.5) โดยเฉลี่ยรวมแล้วกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโทษเรื่องโทษของยาเสพติดชนิด 4 x 100 (คิดเป็นร้อยละ 51.7) และไม่มีความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดชนิด 4x100 (เป็นร้อยละ 48.3) มีปริมาณการใช้ยาเสพติดชนิด 4x100 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ (คิดเป็นร้อยละ 35.5) มีพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4x100 อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 1.85, SD=1.137) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.36, SD=1.058) มีสัมพันธภาพในครอบครัว อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.07, SD=1.097) และมีกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจากครอบครัว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.81, SD=1.045) ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัย (1) โรงเรียนควรมีหลักสูตรการให้ความรู้ และสร้างความตะหนักเรื่องโทษของยาเสพติดให้แก่เด็กและเยาวชนตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อป้องกันการใช้ยาเสพติดให้แก่เด็กและเยาวชน เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยพบว่าเด็กและเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 14 ปี ซึ่งเป็นช่วงของวัยรุ่น มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านตามพัฒนาการ แต่หากมีการให้ความรู้และปลูกฝังตั้งแต่เด็กจะส่งผลทำให้เด็กมีทัศนคติในการใช้ยาเสพติดที่ลดลงได้ (2) ควรสร้างแกนนำนักเรียนในโรงเรียนเพื่อช่วยควบคุมดูแลไม่ให้เพื่อนๆหรือเด็กและเยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด (3) ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นแก่ผู้ปกครองและครูในการดูซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ พฤติกรรมต่างๆ ที่ผู้ปกครองและครูควรให้ความสำคัญ (4) ป้องกันการเผยแพร่ภาพ/วีดิโอ ของสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ นิตยสาร วิทยุ Internet (อินเตอร์เนต) ฯลฯ ให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเคร่งครัด โดยไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพ หรือข้อมูลตัวอย่างที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างกระทำเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ เช่น การใช้ Face book บันทึกภาพขณะกำลังเสพยาเพื่อโชว์เพื่อนใน Face book ฉากละครที่มีพระเอกหรือนางเอกเคยใช้ยาเสพติด เป็นต้น (5) ส่งเสริมให้ผู้ปกครองปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดีเรื่องการรับผิดชอบทั้งในเรื่องการเห็นคุณค่าของเงินรวมทั้งส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักการออมเงินตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อให้เด็กและเยาวชนเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในเรื่องการมีความรับผิดชอบด้านการใช้เงินให้เกิดประโยชน์ไม่นำเงินไปใช้จ่ายในทางที่ไม่เหมาะสม th
dc.description.abstract This research examines the Personal factors, society factors and knowledge level related to causes and behaviors of taking 4x100 drug type, among children and youth in The Venue of Youth Observation and Protection in Zone 8 and 9. The purpose of this research aimed to study personal factors, social factors and level of knowledge on the dangers of the 4x100 drug amongst the adolescent and young people; as well as to propose preventive measures for 4x100 drug problems in adolescents and young people. Employing purposive sampling method, the research limits target of study solely to the adolescent and young people who were punished by law for the use of Kratom drug in Observation and Protection Center Area 8 and 9 consisting of 14 centers in total. The research uses quota sampling system to study 200 samples, by distributing the quota proportionately to the population in each center. The results reveal that the majority of the sample group are of 16-17 years old (70.5%), have received primary school education (74.5%), have 2-3 siblings (64.5%), live with parents (76%) and have a monthly income less than 1,500 baht (31.5%).The majority of the group (51.7%) are aware of the dangers of 4x100 drug, while the other 48.3% are not aware of the dangers of the substance. The average frequency of 4x100 drug use is 3-4 times/week (35.5%) with moderate use (average 1.85, SD=1.137). The majority of the sample group are moderately self-responsible (average 2.36, SD=1.058), have a neutral relationship with their families (average 2.07, SD=1.097) and have been intensively disciplined by family (average 2.81, SD 1.045). Research suggestions (1) There should be an education program that provides knowledge on drugs for children and youth from early childhood, in order to prevent the use of drugs in children and youth. The research found that most children and youth who use drugs are 14 years old and above, which is the teenage period when there are many changes in self-development. However, if knowledge is given since childhood, it will result in lower drug consumption. (2) Student leaders should be appointed to help keep their friends, children, and youth away from drugs. (3) Provide knowledge on development of children and teenagers to parents and teachers, to observe changes in emotions, and behavior that need to be well taken care of. (4) Prevent media consumption such as television, magazine, radio, Internet, etc. and be aware strictly of social responsibility by controlling media that may influence the behavior of the sample group such as video of drug consumption on Facebook, or scenes of actors or actress taking drugs, etc. (5) Encourage parents to cultivate responsibility for the value of money and encourage children and youth to know how to save money since young. This is in order for children and youth to develop responsible money habits and not spend money in the wrong way. th
dc.language.iso th th
dc.subject เยาวชน -- การใช้ยา th
dc.subject Youth -- Drug use th
dc.subject การติดยาเสพติด th
dc.subject Narcotic habit th
dc.subject การควบคุมยาเสพติด th
dc.subject Drug control th
dc.subject ยาเสพติด th
dc.subject Narcotics th
dc.subject คนติดยาเสพติด th
dc.subject Drug addicts th
dc.title ปัจจัยส่วนบุคคล สังคมและระดับความรู้ที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุและพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4X100 ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขต 8 และ 9 th
dc.title.alternative Personal Factors, Society Factors and Knowledge Level Related to Causes and Behaviors of Taking 4x100 Drug Type, Among Children and Youth in the Venue of Youth Observation and Protection in Zone 8 and 9 th
dc.type Article th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account