DSpace Repository

ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยตามวงจรชีวิตครอบครัว: กรณีศึกษาภาคใต้

Show simple item record

dc.contributor.author ระพีพรรณ คําหอม
dc.contributor.author ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
dc.contributor.author รุจา ภู่ไพบูลย์
dc.contributor.author Rapeepan Kumhom
dc.contributor.author Thipaporn Phothithawil
dc.contributor.author Ruja Phuphaibul
dc.contributor.other Thammasat University. Faculty of Social Administration th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare th
dc.contributor.other Mahidol University. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Ramathibodi School of Nursing th
dc.date.accessioned 2024-03-03T04:01:23Z
dc.date.available 2024-03-03T04:01:23Z
dc.date.issued 2020
dc.identifier.citation วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 28, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563) : 24-59 th
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1782
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swjournal/article/view/240115/168627 th
dc.description.abstract ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยตามวงจรชีวิตครอบครัว: กรณีศึกษาภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ครอบครัวไทยแบบบูรณาการตามวงจรชีวิตครอบครัวระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวงจรชีวิตครอบครัวไทยภาคใต้ตามลักษณะการรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดในครอบครัวในระยะต่างๆ ตามการเพิ่มและลดของสมาชิก (2) เพื่อศึกษาความอยู่ดีมีสุขและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยภาคใต้ตามวงจรหรือพัฒนาการชีวิตครอบครัว วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่างครอบครัวภาคใต้ 784 ครอบครัว การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่า t–test และค่า F–test (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายมีอายุระหว่าง 41-60 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา มีรายได้ตนเองต่อเดือน เฉลี่ย 8,826.80 บาท/เดือน และรายได้ครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 20,209.39 บาท อายุเมื่อแต่งงานหรือมีคู่เฉลี่ยเท่ากับ 23.11 ปี มีบุตร 1 คน ลักษณะครอบครัว พบว่า เป็นครอบครัวเดี่ยว ระดับความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวภาคใต้โดยรวมมีคะแนนความอยู่ดีมีสุขระดับมากทั้ง 9 ด้าน ด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือด้านจิตวิญญาณ ด้านการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา จำนวนผู้สูงอายุ จำนวนบุตร จำนวนผู้ป่วยติดเตียง และจำนวนบุตรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว ปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่ดีมีสุขของครอบครัวในภาคใต้ ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยจำนวนบุตรในครอบครัว และปัจจัยด้านความสมดุลของเวลาระหว่างการทำงานและชีวิตครอบครัว ครอบครัวอยู่ดีมีสุขในภาคใต้จำแนกตามระยะวงจรชีวิต พบว่า ระยะเลี้ยงดูบุตรวัยรุ่นมีคะแนนครอบครัวอยู่ดีมีสุขสูงสุดและค่อยๆลดลงจนถึงวัยสูงอายุ และความอยู่ดีมีสุขเพิ่มขึ้นวัยสูงอายุตอนปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านความสมดุลของเวลาระหว่างการทำงานและชีวิตครอบครัวที่ดีมีผลทางบวกกับความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว ข้อเสนอแนะ ควรจัดหลักสูตรโรงเรียนครอบครัวเพื่อพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาวะของครอบครัวให้มีความอยู่ดีมีสุข ควรนำแบบประเมินความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว 36 ข้อไปใช้เป็นเครื่องมือการทำงานกับครอบครัวแต่ละประเภทกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และควรเสริมสร้างแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงพื้นที่ด้านความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวใต้ด้านจิตวิญญาณ th
dc.description.abstract “Thai Family Well-being Based on Family Life Cycle: South Region, Thailand” is part of an integrated study on Thai families based on the second phase of the family life cycle. It aims at examining: (1) family life cycle or development and southern family life cycle, based on the perception of the changes in various phases of family life, taking into account an increase or decrease in the number of family members; and (2) family well-being and factors affecting family well-being in the south of Thailand. The methodology used is a research survey on a representative sample of 784 families in the south. The data analysis, the t-test and F-test values (One-way ANOVA) revealed that the sample group consisted of more females and males aged between 41 and 60 years old, with an education level lower than primary education, an average personal income of 8,826 baht/mouth and an average household income of 20,209.39 baht/month, an average age at marriage or entering into partnership of 23.11 years, and with 1 child. Most families were nuclear families. The overall well-being scores of the southern families were high for all of the 9 aspects, the highest being the spiritual aspects and self-sufficient lifestyle. Factors regarding age, educational levels, the numbers of elderly members in the family, offspring and bedridden patients had a positive correlation with family well-being, with statistical significance.Factors affecting the well-being of families in the southern region are economic status, the number of children in a family and the balance between work and family life. The study revealed that the well-being scores were highest among southern families with teenage offspring and then were in gradual decline until they reached an elderly stage, after which (over 80 years old), the well-being scores increased once again. Furthermore, the balance between work and family life has a positive effect on the well-being of the family. Recommendation are that they should be developing the family school course for family well-being care, using the family well-being assessment form 36 topics as an instruments in working with each family type and the concered agencies and also promoting the local development plan for the Southern family well-being on the spiritual. th
dc.language.iso th th
dc.subject สุขภาวะ th
dc.subject Well-being th
dc.subject ความอยู่ดีมีสุข th
dc.subject ครอบครัว -- ไทย (ภาคใต้) th
dc.subject Families -- Thailand, Southern th
dc.title ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยตามวงจรชีวิตครอบครัว: กรณีศึกษาภาคใต้ th
dc.title.alternative Thai Family well-being Based on Family Life Cycle: South Region of Thailand th
dc.type Article th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account