DSpace Repository

สัมพันธภาพในครอบครัวแรงงานต่างด้าวพม่าในเขตจังหวัดสมุทรสาคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
dc.contributor.author สัญญา โพธิ์ทองคำ
dc.date.accessioned 2022-04-30T08:57:58Z
dc.date.available 2022-04-30T08:57:58Z
dc.date.issued 2007
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/180
dc.description วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550 th
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะ 1) เพื่อศึกษาระดับและลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัวของแรงงานต่างด้าว 2) เพื่อศึกษาบทบาทหญิงชายในครอบครัวแรงงานต่างด้าวพม่า 3) เพื่อศึกษาความศรัทธาและการปฏิบัติศาสนาของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า และ 4 ) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพในครอบครัวแรงงานต่างด้าวชาวพม่าวิธีการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามและมีผู้สัมภาษณ์เป็นผู้เก็บข้อมูลตามแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานต่างด้าวเชื้อชาติพม่าในเขตจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 217 คน ได้ผลการศึกษาดังนี้ข้อมูลส่วนบุคคล ในงานวิจัยนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 18-39 ปี มีเชื้อชาติพม่า ระดับการศึกษาได้รับการศึกษา 6 ปี มีอาชีพรับจ้างในงานประมง และทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว พบว่ารายได้ในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย 7,000 บาทโดยมีรายได้ในครอบครัวอยู่ระหว่าง 4,000-25,000 บาท ครอบครัวที่ไม่มีหนี้สินในครัวเรือนส่วนใหญ่ไม่มีการส่งเงินกลับบ้าน กลุ่มตัวอย่างส่วนมากระบุว่ามีสมาชิกในครัวเรือนเพียง 2-3 คน กลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่มีบุตรมีจำนวนมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบครัวเรือนเป็นแบบอยู่เฉพาะครอบครัวตนเองมีจำนวนมากที่สุดจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป บทบาทหญิงชายในครัวเรือน บทบาทหญิงชายในวิถีชีวิตชาวพม่า การสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยด้านศาสนากับสัมพันธภาพในครอบครัว พบว่าเพศ มีอิทธิพลในเชิงแปรผันตามกันกับสัมพันธภาพในครอบครัวการศึกษามีอิทธิพลในเชิงแปรผกผันกับสัมพันธภาพในครอบครัวปัจจัยด้านศาสนามีอิทธิพลในเชิงแปรผันตามกันกับสัมพันธภาพในครอบครัวโดยตัวแปร เพศ การศึกษา และปัจจัยด้านศาสนา ร่วมกันสามารถอธิบายความสัมพันธ์ กับสัมพันธภาพในครอบครัวได้ร้อยละ 31.5ข้อเสนอแนะ1.การส่งเสริมให้มีการเข้าใจบทบาทของหญิงชายในครอบครัวแรงงานต่างด้าวชาวพม่าให้มีความร่วมมือร่วมใจ เคารพซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้นอันจะทำให้สัมพันธภาพที่ดีเกิดขึ้นภายในครอบครัว2.ส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าและชุมชนได้มีความรู้และการศึกษามากขึ้นในด้านบทบาทหญิงชายในครอบครัว ตลอดจนให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาได้ง่ายขึ้น3.ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างแรงงานต่างด้าวชาวพม่าและคนในชุมชนเพื่อจะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันอันจะมีส่วนช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดที่มีในครอบครัว4.ปลูกฝังความคิดความเชื่อความศรัทธาด้านศาสนา และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนา th
dc.description.abstract Objectives of this study are 1) to study the level and characteristics of family relation of immigrant Myanmar labour 2) to study gender roles in household of immigrant MyanmarLabours 3) to study faith and religious practices of immigrant Myanmar labours and 4) to study factors effecting family relation relation of immigrant Myanmar labours. This study is quantitative research. Data collection is designed to used interview form as a tool. The samples are 217 immigrant Myanmar labours. Results of this study are as follows:As for personal characteristics it is found that most of the samples are men aged between 18-39 years old. They have Myanmar race. The level of their education is grade 6. They are fishermen and all are Buddhists.Regarding family data it is found that the mean of family income is 7,000 bath. Family income is between 4,000-25,000 bath. Their families do not have any debt. Most of them do not send their money home. Most of the samples indicate that they have 2-3 family members. Most of the samples do not have any children and mostly live with their own family members.With multiple regression analysis to find relationship between general data, gender relation in family, gender relation in Myanmar culture, support, religious factors and family relation it is found that: Sex has positive effect to family relation. Education has negative effect to family relation and religious factor has positive effect to family relation.All independent variables jointly explained variation of dependent variable at 31.5 percent. Suggestions1.Promote understanding on gender relation in family to create more cooperation, and more mutual respect for better family relation.2.Promote higher education and more knowledge together with easy accessibility to education. 3.Promote good relationship among community members so that they will help each other with generosity and this will lessen tension in family.4.Implant religious faith, religious thought and religious practice. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject แรงงานต่างด้าวพม่า -- ไทย -- สมุทรสาคร th
dc.subject Foreign workers, Burmese -- Thailand -- Samut Sakhon th
dc.subject ครอบครัว th
dc.subject Families th
dc.title สัมพันธภาพในครอบครัวแรงงานต่างด้าวพม่าในเขตจังหวัดสมุทรสาคร th
dc.title.alternative Family Relation of Immigrant Myanmar Labours in Samutsakorn Province th
dc.type Thesis th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การบริหารสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account