การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาส่งผลให้ความมั่นใจในการทรงตัวของผู้สูงอายุลดลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือศึกษาความมั่นใจในการทรงตัวเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุในการทราบระดับความมั่นใจในการทรงตัวและใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่อาศัยในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานีจำนวน 35 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความมั่นใจในการทรงตัว (Activities-spe-cific and Balance Confidence scale) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 11 คนมีประสบการณ์หกล้มโดยเกิดขณะเดินที่ทางต่างระดับ ขณะเดินข้ามสิ่งกีดขวาง ขณะเดินบนพื้นลื่นและขณะเดินในบริเวณที่มืด จากแบบประเมินความมั่นใจในการทรงตัวพบว่าในแต่ละหัวข้อกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนแตกต่างกัน หัวข้อที่กลุ่มตัวอย่างมีความมั่นใจในการทรงตัวระดับมากมี 5 จาก 16 หัวข้อคือเดินรอบบ้าน ก้มลงและหยิบรองเท้าจากตู้ หยิบกระป๋ องขนาดเล็กจากชั้นวางของระดับสายตา กวาดพื้นและเดินออกจากบ้านไปยังที่จอดรถ ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากหัวข้อดังกล่าวกระทำบนพื้นราบ มีความมั่นคงและเป็นกิจวัตรที่ทำเป็นประจำจนเกิดความเคยชิน ในขณะที่หัวข้อก้าวขึ้น–ลงบันไดเลื่อนเมื่อมือถือสิ่งของทำให้ไม่สามารถจับราวบันไดเลื่อนได้และเดินบนพื้นเปียกน้ำ มีคะแนนความมั่นใจในการทรงตัวต่ำที่สุด อาจเป็นเพราะเป็นหัวข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับศูนย์ถ่วงของร่างกาย มีพื้นที่ฐานรองรับน้อยและกระทำบนพื้นลื่นทำให้กลุ่มตัวอย่างทรงตัวได้ลำบาก
Physiological changes lead to a decrease of balance confidence in older persons. An objective of this research was to study the balance confidence in order to benefit the older persons to know their level of confidence and use as information in a development of social welfare for older people. This study was a survey research using purposive sampling technique. Participants were 35 older persons living in Pathumthani Social Welfare Development Center for Older Persons. Research instruments included demographic data record and “Active-specific and Balance Confidence (ABC) scale”. It was found that majority of the participants were females. Eleven of them had experience of falls during walking on a level surface, walking across obstacles, walk on slippery floor, and walking in dark areas. The results from ABC Scale showed different scores in each topic. Of all 16 different topics, participants had a strong level of balance confidence in 5 topics namely, walking around the house, bending over and picking up a slipper from the front of closet floor, reaching for a small can off a shelf at eye level, sweeping the floor and walking outside the house to a car parked in the driveway. This was probably because these topics involved walking on a stable flat floor and were routine activities. The weakest balance confidence was associated with 2 topics: stepping on/off an escalator while holding parcels and unable to hold the handrail, and walking on slippery walkways. This was probably because such activities required changing of body center of gravity and difficulty in keeping balance.