การศึกษาเรื่องนี้ เป็นการศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการแรงงานที่อยู่ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2540 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบชนิดของสวัสดิการแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกจ้างที่มีต่อสวัสดิการแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตประเภทต่าง ๆ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในสวัสดิการแรงงานของลูกจ้างดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง คือลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัด สมุทรปราการ จำนวน 450 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้เป็นแบบสอบถามและแบบวัดความพึงพอใจในสวัสดิการแรงงาน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติไคสแคว์ ค่าความแปรปรวน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติผลการศึกษาพบว่าลูกจ้างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-29 ปี สถานภาพสมรสแล้วและไม่สมรสใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่ไม่มีบุตร อาศัยอยู่บ้านเช่าหรือเช่าห้องพัก จบการศึกษา ม.1-ม.6 อายุการทำงาน 1-5 ปี เป็นลูกจ้างรายเดือน เงินเดือนเฉลี่ย 10,155.80 บาท/เดือน ค่าตำแหน่งเฉลี่ย 1,562.60 บาท/เดือน ค่าครองชีพเฉลี่ย 727.98 บาท/เดือน ค่าล่วงเวลาเฉลี่ย 2,462.05 บาท/เดือน ค่าเข้ากะเฉลี่ย 614.88 บาท/เดือน ค่าเบี้ยขยันเฉลี่ย 485.25 บาท/เดือน และมีรายได้อื่น ๆ เฉลี่ย 4,694.83 บาท/เดือน มีภาระค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 8,078.46 บาท/เดือน การศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการแรงงานทั้ง 7 ด้าน พบว่าลูกจ้างมีความพึงพอใจสูงสุดต่อไปนี้ 1) ด้านเศรษฐกิจ คือ วันหยุดตามประเพณีที่ได้รับค่าตอบแทน 2) ด้านสุขภาพอนามัยคือสวัสดิการการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี 3) ด้านความปลอดภัยในการทำงานคืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงาน 4) ด้านความมั่นคงในการทำงาน คือสวัสดิการกองทุนเงินสะสม 5) ด้านนันทนาการ คือตู้เก็บสิ่งของส่วนตัว 6) ด้านการศึกษา คือ การจัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้และ ทักษะ 7) ด้านประกาศเกียรติคุณการยกย่องชมเชย คือ การประกาศเกียรติคุณการยกย่องชมเชยผู้ได้รับแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น การศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดสวัสดิการแรงงานกับขนาดของโรงงาน พบว่าโรงงานขนาดเล็กมีการจัดเฉพาะด้านเศรษฐกิจและสุขภาพอนามัย ขนาดกลางมีการจัดเฉพาะด้านเศรษฐกิจ สุขภาพอนามัย นันทนาการและการศึกษา ส่วนขนาดใหญ่มีการจัดสวัสดิการแรงงานทั้ง 7 ด้าน จากการศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจในสวัสดิการแรงงานตามตัวแปร 7 ชนิด คือ ประเภทอุตสาหกรรม ขนาดของโรงงาน เพศ การอยู่อาศัย การศึกษา ประเภทลูกจ้างและตำแหน่ง พบว่าตัวแปรดังกล่าวมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในสวัสดิการแรงงานแตกต่างกัน คือ 1) ประเภท อุตสาหกรรมพบว่าการผลิตสิ่งทอถักเครื่องแต่งกายและหนังสัตว์ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าและออมทรัพย์ ส่วนอุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐานมีต่อวันหยุดประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับค่าตอบแทน 2) ขนาดของโรงงาน พบว่าโรงงานขนาดเล็กมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในสหภาพแรงงาน 3) เพศ พบว่าเพศหญิงมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดให้มีความรู้ด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 4) การอยู่อาศัย ผู้ที่พักอาศัยที่พักของบริษัท มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในวันลาหยุดประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับค่าตอบแทนการจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าและออมทรัพย์ 5) การศึกษา ผู้จบปริญญาตรีมีความพึงพอใจต่อวันลาหยุดประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับค่าตอบแทนขณะที่ผู้จบประถมปีที่ 6 มีต่อสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนเงินทดแทนและประกันสังคม 6) ประเภทลูกจ้าง ลูกจ้างรายเดือนมีความพึงพอใจต่อการจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าและออมทรัพย์ ลูกจ้างรายวันมีความพึงพอใจต่อสหภาพแรงงาน 7) ตำแหน่ง หัวหน้างานฝ่ายผลิตและผู้ช่วย มีความพึงพอใจวันหยุดประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับค่าตอบแทนขณะที่พนักงานฝ่ายผลิตมีต่อสหภาพแรงงานจากผลการศึกษา พบประเด็นที่ข้อเสนอแนะดังนี้1) โรงงานประเภทอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเครื่องดื่ม และยาสูบการผลิตสิ่งทอสิ่งถักเครื่องแต่งกายหนังสัตว์ และโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางควรสนับสนุนการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาที่ให้ทางเลือกหลากหลายตามความเหมาะสมสำหรับลูกจ้าง ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนรวมทั้งการฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มคุณภาพ2) หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการแรงงาน ควรขอความร่วมมือจากระดับจังหวัด และสถานประกอบการเพื่อจัดลานแสดงความคิดเห็นในระดับจังหวัดและสถานประกอบการเพื่อให้ลูกจ้างได้พบปะสังสรรค์ แสดงความคิดเห็น พักผ่อนหย่อนใจ และกิจกรรมนันทนาการเพื่อสร้างความสามัคคีและบริการสร้างสรรค์ร่วมกัน3) ควรมีการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบสวัสดิการในอุตสาหกรรมที่เหลืออีก 9 หมวดใหญ่ เช่น การก่อสร้าง การขนส่ง การขายปลีก บริการการเงิน เพื่อเสริมเต็มเกิดองค์ความรู้รวม
This research aims to study the satisfaction on labour welfare service as provided by manufacturing industries of different kinds and sizes before the economic crisis occurred In July 1997.The objectives of this study are (1) to compare the labour welfare service manufactories of different sizes. (2) to find out the degree of satisfaction on such services in manufactories of different kinds. (3) to study factors effecting their satisfaction on such welfares. The sample of 450 employees were picked up from manufactories of different kinds and sizes in Samut Prakarn Province. Questionnaires to measure satisfaction were distributed to collect data and SPSS/PC+ computer program was used to analyse data in the form of percentage, arithemetic mean, standard deviation, crosstabulation, chi-square, one-square, one-way analysis of variance and normal regression analysis. Result of the study showed that the employees were mostly male 20-29 year old, single and married nearly equal with mostly no children, living in rent houses or rooms, Mathayom 1-6 educational background, working experience 1-5 years, mainly work on monthly basis of average wage per month of 10,155.80 bath, with additional income 1,562.60 baht for status position, 727.98 baht for cost of living allowance, 2,462.05 baht of overtime allowance, 614.88 baht for shift work, 485.25 baht for diligent attendance and 4,694.83 baht for others. While monthly average expense was 8,078.46 bahtRegarding to levels of satisfaction in seven areas of labour welfare service with which employees were satisfied, the study found that (1) Economic : public holidays with pay ; (2) Health : annual health check-up; (3) Safety : personnel safety equipment; (3) Safety : personnel safety equipment; (4) Job security : pension funds; (5) Recreation : personal lickers; (6) Education : in-house training; (7) Morale : an announcement of promotion. On the relationship between labour welfare service and size of factories, the study found that the small ones offered economic and health care, while the medium provided economic, health care, recreation and education and the large ones did all.The employees’ satisfaction of those labour welfare service varied according to kinds and sixes of factories, employees’ sex, their living quarters, educational background, position and types of employees. The study also revealed that all variables effecting their satisfaction in the following ways (1) Kinds : employees in garment and leather factories were satisfied with the set up of cooperative store, while those in base mental factories with the provision of leaves with pay. (2) Size : employees in small factories with their Labour unions. (3) Sex : female employees with heath with and safety education. (4) Housing : employees living in company’s accommodation with leaves with pay and cooperative stores. (5) Education : employees of bachelor’s degree with leave with pay while those of Prathom 6 with compensation fund and social security fund. (6) Types of employment : monthy based employees with cooperative stores while daily based employees with labour unions. (7) Position : production chiefs and assistant chiefs with pay while production workers with labour unions. Suggestions derived from these study are : 1) Food and beverage, textile garment and leather factories of small and medium size should strengthen welfare service on further education and skill training both formal and non formal of different types to suite their needs. 2) Government agencies related to labour welfare, in cooperation with provincial authorities and enterprises should provide an open platform for employees to join each others, exchange their opinions and arrange their recreation to create s\esprit de corps, and creative activities. 3) To promote a comparative study on labour welfare service as launched in the rest of industry sectors i.e. construction, transportaion, retail trade, financial service, ect. To fulfil the body of knowledge.