วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความยากจนในด้านต่าง ๆ ของชนเผ่าแขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อศึกษา บทบาทขององค์กร Village Focus International (VFI) ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของชนเผ่าใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อหาแนวทางปรับปรุงบทบาทขององค์กร Village Focus International (VFI) ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชนเผ่าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้ได้ผลมากยิ่งขึ้นผลการวิจัยพบว่า ชนเผ่าในพื้นที่ที่ทำการวิจัยมีปัญหาความยากจนมากเช่นที่เมืองลาวงามและเมืองสาละวัน ร้อยละ 50 ของครัวเรือนมีข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคเพียง 6 เดือน ในรอบปีและที่เมืองตะโอยและเมืองซะมวย ร้อยละ 68 ของครัวเรือนมีข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคเพียง 6 เดือนในรอบปี และร้อยละ 31 ของครอบครัวมีข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคเพียง 3 เดือนในรอบปี นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยโดยเป็นไข้มาลาเรีย บางปีมีโรคท้องร่วงระบาดทุกหมู่บ้าน ไม่มีห้องน้ำและน้ำดื่มน้ำใช้เป็นน้ำห้วยที่ไม่สะอาด ชาวบ้านขาดความรู้เรื่องการรักษาสุขภาพ ผู้หญิงมีลูกหลายคน ไม่รู้จักวางแผนครอบครัว เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ขาดสารอาหารในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียนและครู เด็ก ๆ จำนวนมากไม่ได้เรียนหนังสือ และนับถือศาสนาดั้งเดิม คือ นับถือผี ซึ่งมีความเชื่อว่าเวลาคลอดลูกในหมู่บ้านเป็นเรื่องที่ผิดผี หญิงที่ตั้งครรภ์จึงต้องไปคลอดลูกในป่าคนเดียว ทำให้อัตราการตายของเด็กในระหว่างคลอด รวมทั้งระหว่างการเลี้ยงดูสูงมากVillage Focus International (VFI) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความยากจนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านร่างกายและสติปัญญา มีบทบาทในการให้ความรู้ ให้การอบรม เพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ผิด ๆ ด้านการเกษตร มีบทบาทในการให้วัสดุอุปกรณ์และเมล็ดพันธุ์พืช เพื่อให้ชาวบ้านทุกครอบครัวมีข้าวกินตลอดปี ด้านสุขภาพอนามัยและโภชนาการ มีบทบาทในการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การรักษาความสะอาดในการทำอาหาร การฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ครบถ้วน ส่งเสริมการทำห้องสุขา ด้านสังคม มีบทบาทในการสร้างผู้นำหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง เข้าใจงานพัฒนา และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ส่งเสริมให้หญิงชายเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นผู้นำการวางแผนหมู่บ้านส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจระหว่างการประชุมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้น ด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมการรักษาวัฒนธรรมพื้นเมือง การเก็บรักษาประวัติศาสตร์ของชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับการเกษตร ด้านการศึกษา ส่งเสริมให้นักเรียนที่เข้าเรียนอ่านภาษาลาวได้ มีอัตราการไม่รู้หนังสือลดลง สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกผลการวิจัยสรุปได้ว่า Village Focus International (VFI) ได้มีบทบาทแก้ไขปัญหาความยากจนของชนเผ่าใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในหลายด้าน แต่มีผลด้านผลการวิจัยพบว่า ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งจะต้องปรับปรุงบทบาทในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้ดีขึ้น ได้แก่ ด้านสุขอนามัย ด้านความเชื่อ ด้านการคุมกำเนิด ด้านการประกอบอาชีพที่ทำให้มีรายได้จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าในระดับนโยบาย รัฐจะต้องเพิ่มการบริการทางสังคมให้ครอบคลุมในพื้นที่ชนเผ่าอย่างมีคุณภาพและความสะดวกมากกว่าเดิม รัฐควรเพิ่มคุณภาพทางการศึกษา และการให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ และควรสร้างช่องทางในการพัฒนาชนเผ่าให้เป็นผู้นำทางความคิดในเรื่องการพึ่งตนเองให้มากขึ้น โดยควรส่งเสริมภูมิปัญหาชาวบ้าน ความสวยงามของวัฒนธรรมของชนเผ่า ควบคู่กับการใช้วิทยาการใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ในระดับปฏิบัติ ในการจัดกิจกรรมใด ๆ ก็ตามควรจะมีกระบวนการหรือขั้นตอนชี้แจงให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่า การสงเคราะห์เพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดการพึ่งพิงและไม่ส่งเสริมศักยภาพในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง จึงควรส่งเสริมให้มีการใช้ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาควบคู่กันไปด้วย ทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนควรร่วมกันขยายมิติการมองเรื่องความยากจนให้กว้างขึ้น โดยให้แต่ละชนเผ่าและแต่ละชุมชนมีส่วนร่วมในการมองปัญหาความยากจนด้วย และองค์กร Village Focus International (VFI) ควรทำงานกับกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ในกลุ่มชนเผ่าให้มากขึ้น ส่วนแนวทางปรับปรุงบทบาทขององค์กร Village Focus International (VFI) ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชนเผ่าในแขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ควรพยายามลดการให้แบบสงเคราะห์ แต่ควรมุ่งเน้นการเสริมพลัง โดยให้ชนเผ่ามีส่วนร่วมในการคิด ร่วมออกแรง และร่วมลงทุน แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้เกิดจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเอง นอกจากนี้ควรแก้ไขความเชื่อที่ผิดของชนเผ่าซึ่งทำให้เกิดการไร้พลัง การกระตุ้นให้มีส่วนร่วมและการแก้ไขความเชื่อที่ผิดจะทำให้ชนเผ่าได้รับการเสริมแรง (Empowerment) อันจะทำให้ชนเผ่าสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเอง โดยไม่หวังพึ่งแต่การช่วยเหลือจากภายนอกเท่านั้น ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรวิจัยเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนในกลุ่มชนเผ่าทุกภาคทั่วประเทศ เนื่องจากลักษณะเฉพาะทางความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งบริบททางเศรษฐกิจ และสังคมอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาที่เหมาะสมของแต่ละชนเผ่าต่อไป
This objectives of this research are to study poverty reduction amongst ethnic groups in Salavan Province, People's Democratic Republic of Laos (Lao PDR) ; the role of Village Focus International (VFI) as a non-governmental organization in poverty reduction for ethnic groups in the Lao PDR ; and to identify guidelines that will strengthen the role of Village Focus International (VFI) in its efforts to achieve poverty reduction for ethnic groups in the Lao PDR.This research found that ethnic groups in the research were living under conditions of considerable poverty. For example, in the districts of Lao Ngam and Salavan, only 50% of households had enough rice for household consumption for 6 months of the year. In Ta Oi and Samuoi districts, 68% of households had enough rice for 6 months of household consumption and 31% of households had enough rice only for 3 months a year. In addition, many ethnic people suffered from illnesses such as malaria. In certain years, they experienced diarrhea at endemic levels. None of the villages had latrines and many village people consumed unclean water form ponds and streams. The villagers lacked adequate knowledge on healthcare. Women had many children and had no access to information about family planning techniques. Children under 5 were malnourished. villages had neither schools nor teachers so that majority of children never received and education Villagers followed animistic religious belief systems which forbade women to give birth within village boundaries ; women had to go into forest alone to deliver which resulted in high infant mortality rates. Village Focus International (VFI) as a non-governmental organization implementing integrated rural development activities aimed at achieving poverty reduction. VFI’s activities cover both physical and intellectual aspects of rural development. There is a role to provide knowledge and training in order to facilitate behavioral change, particularly with regard to detrimental religious beliefs. For agriculture activities, VFI provided materials and seeds so that all families had sufficient rice to eat the whole year round. On sanitation and nutrition, it provided knowledge on family planning and birth control, vaccinations, food hygiene and promotion of latrine usage. VFI played a part in building the capacity of village leaders so that they would better understand development processes and take part in both quantitative and qualitative development work. It promoted gender equality and balanced participation of both women and men in village planning. It supported villagers to take part in decision making during meetings and activities that they themselves they themselves have initiated through participatory processes. VFI promoted preservation of indigenous cultures and community history. Concerning the environment, VFI supported provision of adequate water resources for farming. On education, it supported students to learn Lao language which resulted in improved literacy rates and increased access to information. The research concluded that VFI has played a significant role in poverty reduction and improved livelihoods for ethnic groups in the Lao PDR. However, the research also found that progress in several areas was insufficient and improvement can be made to better address issues such as sanitation, beliefs, birth control and income generation. Given the findings, the researcher recommended that at policy level the government must provide for more quality and convenient social services to cover areas inhabited by these ethnic groups. The government should upgrade quality of education and provision of knowledge regarding opportunities to improve livelihoods. The government should provide development alternatives for ethnic groups to facilitate indigenous leadership and self-help. This can be achieved by promoting indigenous wisdom and cultural pride in unison with modern technologies relevant to the way of life of ethnic communities. At practical level, there should be a clear process or steps explaining new activities or interventions to foster better understanding amongst villagers. Villagers must be able to appreciate that simple welfare is conducive to dependence and does not enable them to develop the capacity to solve their own problems. Both public sector and non-governmental organizations should cooperate to broaden perspectives on poverty by encouraging each ethnic group and community to take part in the identification of their own specific poverty issues. VFI should work more with ethnic youth as they represent the new generation and are more receptive to positive behavioral change. As for guidelines to strengthen the role of VFI in poverty reduction for ethnic groups in Salavan Province of the Lao PDR, There should be a move away from welfare activities and an increased focus on empowerment of ethnic groups by supporting their participation in planning and implementation of development activities. There must also be a level of local investment, however minimal, as it promotes local participation and ownership over development activities addressing poverty issues, In addition. Attention must be given to appropriate adaption of selected detrimental animistic beliefs of ethnic groups, which weaken their potential. Motivating increased participation and adaptation of select animistic beliefs would empower ethnic groups to better address poverty issues by themselves without excessively depending on external assistance. Concerning recommendation for future inquiry ; there should be research on guidelines for poverty reduction amongst differing ethnic groups across the country due to their unique characteristics of beliefs, cultures, traditions as well as economic and social contexts. Such research should suggest guidelines for poverty reduction and development that is distinctly relevant to each ethnic group.