Abstract:
การทำสารนิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยภายนอกได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก อาชีพคู่สมรส ช่วงอายุที่ต่างกัน จำนวนบุตร รายได้ของครอบครัว รายจ่ายของครอบครัว ระยะเวลาในการสมรส กับความพึงพอใจในชีวิตสมรส และเพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตสมรส ได้แก่ ความสมานฉันท์ทางบทบาทต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรส การสื่อสารระหว่างคู่สมรส ความเป็นเพื่อนคู่ชีวิต โดยศึกษาประชาชนน จำนวน 404 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า 1. คู่สมรสที่มีอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้สูงและพอเพียงมีความสมานฉันท์ในครอบครัว สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น และมีรายได้น้อยและไม่พอเพียง 2. คู่สมรสที่มีอาชีพค้าชายและรับจ้างอิสระ มีการศึกษาสูง มีรายได้สูงและพอเพียง มีการสื่อสารในครอบครัวดีกว่าคู่สมรสที่มีอาชีพอื่น มีการศึกษาน้อยและมีรายได้น้อยไม่พอเพียง 3. คู่สมสรสที่มีอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้สูงและพอเพียง มีการศึกษาสูง แต่อยู่กินกับคู่สมรสไม่นาน มีความเป็นเพื่อนคู่ชีวิตสูงกว่าคู่สมรสอาชีพอื่น 4. คู่สมรสที่มีอาชีพค้าขายและรับจ้างอิสระมีรายได้สูง และพอเพียง มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสมากกว่าคู่สมรสจากอาชีพอื่น และมีรายได้น้อย ไม่พอเพียง5. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสตามลำดับ คือ ความสมานฉันท์ทางบทบาท ความเป็นเพื่อนคู่ชีวิต การสื่อสารระหว่างคู่สมรส มีความพอเพียงของรายได้ อาชีพแรงงานในภาคอื่นที่ไม่ใช่ภาคอุตสาหกรรม การมีบุตรและระดับการศึกษาข้อเสนอแนะ 1. กระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันการศึกษา ควรแทรกเสริมความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการดำเนินชีวิต พัฒนการรู้จักใช้ชีวิตร่วมกันในกลุ่มเพื่อน รู้จักการสร้างเสริมสามัคคี และแบ่งหน้าที่กันในกลุ่ม อันจะไปสู่การรู้จักบทบาทหน้าที่ในชีวิตคู่ต่อไป 2. วัดและบุคลากรทางศาสนา ควรส่งเสริมให้สมาชิกในแต่ละครอบครัวได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง การเดินทางสายกลางและการใช้หลักเหตุผล3. กระทรวงสาธารณสุข เช่น กรมสุขภาพจิต ควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่คู่สมรส ในการวางแผนและการสร้างความสัมพันธ์ในชีวิตสมรส เพื่อให้คู่ชีวิตสมรสมีความสุขมากยิ่งขึ้น