DSpace Repository

ปัญหาความต้องการและศักยภาพของผู้รับงานไปทำที่บ้านกับการมีส่วนร่วมประกันสังคมในประเทศไทย : กรณีศึกษาผู้ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
dc.contributor.advisor Jaturong Boonyarattanasoontorn
dc.contributor.author กรวิกา ศิริสะอาด
dc.contributor.author Kornwika Sirisaard
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-03-19T05:30:20Z
dc.date.available 2024-03-19T05:30:20Z
dc.date.issued 2000
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1922
dc.description สารนิพนธ์ (สส.บ.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543 th
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาปัญหา ความต้องการ และศักยภาพในการเข้าร่วมประกันสังคมของผู้รับงานไปทำที่บ้าน : กรณีศึกษาผู้ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณในการศึกษาภูมิหลัง ปัญหา ความต้องการ และศักยภาพในการร่วมประกันสังคมของผู้รับงานไปทำที่บ้าน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการเข้าร่วมประกันสังคมของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งจดทะเบียนเป็นกลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าที่สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สมรสแล้ว จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 7 มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ภาคอีสาน คู่สมรสส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง โดยมีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 1,000-3,000 บาท มีผู้ที่อยู่ในอุปการะ 2-3 คน อาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าทำเป็นอาชีพหลักและมีรายได้อยู่ในช่วง 4,001-6,000 บาท หนี้สินส่วนใหญ่เกิดจากการซื้อบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ประเภทของงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ทำอยูในปัจจุบันเป็นการช่วยกันทำงานในกลุ่ม โดยการทำงานตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป การรับงานมาทำที่บ้านจะรับผ่านคนกลาง ซึ่งอยู่ในลำดับช่วงที่ 1 ส่วนปัญหาของผู้รับงานไปทำที่บ้านมีในด้านความผิดปกติทางสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป โดยมีโรคทางสายตาและปวดหลังปวดเอว ร่วมด้วย นอกจากนี้เมื่อเจ็บป่วยก็ไม่คิดจะหยุดงาน แต่การรักษาพยาบาลนั้นเป็นการออกค่าใช้จ่ายเอง และส่วนใหญ่จะไม่มีหลักประกันความมั่นคง เนื่องจากไม่มีการทำประกันชีวิตไว้ ผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ศึกษาครั้งนี้มีความต้องการในการประกันสังคม โดยรวมในระดับปานกลางค่อนข้างสูง โดยมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง ให้รัฐจัดกองทุนสำหรับการกู้ยืมเงินไว้ใช้กรณีฉุกเฉินและคิดดอกเบี้ยต่ำ ส่วนความต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในกรณีต่างๆ นั้น ปรากฏว่าผู้รับงานไปทำที่บ้านมีความต้องการในทุกกรณีคือ ว่างงานทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สงเคราะห์บุตร และคลอดบุตร สำหรับความต้องการในด้านอื่น คือ ให้รัฐช่วยเหลือในเรื่อง จำหน่ายบัตรประกันสุขภาพทั้งครอบครัวในราคาถูก สนับสนุนการศึกษาของบุตรให้เรียนฟรีและมีอาหารกลางวันจนจบ ม. 3 ให้ผู้ว่าจ้างมีส่วนร่วมในการออกเงินสมทบเพื่อจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม จัดอบรมพัฒนาฝีมือ จัดส่งข้อมูลแหล่งงาน จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้ารักษาพยาบาลในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง ออกกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน และจัดทำทะเบียนสมาชิกของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของผู้รับงานไปทำที่บ้านในการเข้าร่วมประกันสังคม พบว่า ผู้รับงานไปทำที่บ้านมีความสามารถในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในช่วง 50-100 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าเงินสมทบตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนวิธีการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ผู้รับงานไปทำที่บ้านเห็นว่าควรให้กลุ่มเป็นผู้นำส่งให้เป็นรายเดือน ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ไม่มีเงินพอที่จะนำส่ง ทั้งนี้เพราะมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และรายได้ไม่แน่นอน สำหรับการวิเคราะห์ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ จากกฎหมายประกันสังคมกฎกระทรวงฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2542) พบว่า เงินสมทบที่คำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำของลูกจ้างในระบบ (ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2537) ตั้งแต่ 1 มกราคม ปี พ.ศ. 2533 และ 1 มกราคม ปี พ.ศ. 2544 เป็นเงิน 50 บาท และ 75 บาท ตามลำดับ และได้รับการคุ้มครองใน 6 กรณี คือ กรณีทุพพลภาพ ชราภาพ ตาย ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สงเคราะห์บุตร และคลอดบุตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนซึ่งมิใช่ลูกจ้าง (ตามมาตรา 40) ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นรายปี พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป เป็นจำนวนเงินปีละ 3,360 บาท (เดือนละ 280 บาท) ในอัตราคงที่อัตราเดียวไม่คำนึงถึงรายได้ที่ได้รับ และได้รับการคุ้มครองเพียง 3 กรณี คือ กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ และตาย ฉะนั้น จึงเป็นปัญหาและข้อจำกัดของกฎหมายประกันสังคม ซึ่งบังคับใช้ที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่สามารถเข้าร่วมประกันสังคมได้ จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบหนี่งที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการประกันสังคม คือ การจ่ายเงินสมทบตามขีดความสามารถของผู้รับงานไปทำที่บ้านทำได้ ซึ่งอยู่ในช่วง 50-100 บาทต่อเดือน ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับเงินงบประมาณแผ่นดินที่รัฐสามารถจัดได้ เพื่อนำเงินมาสนับสนุนในกองทุนประกันสังคม สำหรับการบริหารจัดการของผู้รับงานไปทำที่บ้านนั้น เนื่องจากความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม มีแนวโน้มไปในทางที่ดี ผู้รับงนไปทำที่บ้านจึงต้องการที่จะให้กลุ่มเป็นผู้นำส่งเงินสมทบให้ ดังนั้น จึงมีทางเป็นไปได้ที่ให้กลุ่มเป็นผู้หักงินสมทบรายเดือน แต่นำส่งเงินสมทบเป็นรายปี เพื่อนำส่งเงินสมทบที่หักไว้ใช้ในการหมุนเวียนทางด้านการเงินของกลุ่มก่อน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ในระดับนโยบาย รัฐบาลควรปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมในเรื่องอัตราการจ่ายเงินสมทบ สำหรับผู้ประกันตนซึ่งมิใช่ลูกจ้าง (ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม) รัฐบาลควรออกกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านโดยเฉพาะ และมีการบังคับใช้โดยเคร่งครัด รัฐบาบควรให้มีการจดทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้าน อีกทั้งควรกำหนดให้ผู้ว่าจ้างต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้าน และควรมีการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อกำหนดโครงสร้างค่าจ้างรายชิ้นขั้นต่ำตามแต่ละประแภทของงาน ในระดับปฏิบัติการ สำนักงานผู้รับงานไปทำที่บ้าน ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลแหล่งงานไปยังผู้รับเงานไปทำที่บ้านอย่างรวดเร็ว และควรร่วมือกับภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน เพิ่มพูนความรู้และทักษะในการทำงานให้ได้ผลงานตามมาตรฐาน อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขควรเร่งขยายบัตรประกันสุขภาพเข้าสุ่กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านให้ทั่วถึง เป็นการบรรเทาภาระค่ารักษาพยาบาลส่วนหนึ่งของผู้รับงานไปทำที่บ้าน นอกจากนี้ ยังเสนอว่า ควรจะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงปัญหาและความต้องการในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้รับงานไปทำที่บ้านในลักษณะของกลุ่มเครือข่าย ความสามารถในการจ่ายเงินสมทบของนายจ้าง และศึกษาเปรียบเทียบการประกันสังคมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ประกันสังคม -- ไทย th
dc.subject Social security -- Thailand th
dc.subject ผู้รับงานไปทำที่บ้าน -- ไทย th
dc.subject Home labor -- Thailand th
dc.subject การตัดเย็บเสื้อผ้า th
dc.subject Sewing th
dc.title ปัญหาความต้องการและศักยภาพของผู้รับงานไปทำที่บ้านกับการมีส่วนร่วมประกันสังคมในประเทศไทย : กรณีศึกษาผู้ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร th
dc.title.alternative Problems, Needs and Potentials of Thai Home Workers to Participate in the Current Social Security Scheem : A Case Study of Garment Home Workers in Ladkrabang District, Bangkok th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account