DSpace Repository

ความสัมพันธ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กและสัมพันธภาพในครอบครัวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียว : ศึกษาเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya
dc.contributor.author กัญญา จุฑามณี
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-03-19T07:15:29Z
dc.date.available 2024-03-19T07:15:29Z
dc.date.issued 2002
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1928
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 th
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมของวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูลูกเพียงฝ่ายเดียว รูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูเด็กและสัมพันธภาพในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียว รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของการเลี้ยงดูเด็กและสัมพันธภาพในครอบครัวพ่อหรือแม่ที่เลี้ยงลูกตามลำพังกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในสังกัดโรงเรียนสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 417 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 15 ปี มีแม่เป็นผู้ดูแลใกล้ชิด กรณีที่จำแนกตามระดับอายุ พบว่า เด็กที่อายุ 14 ขึ้นไป พ่อจะเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิดมากกว่าแม่ แต่เด็กที่อายุ 13 ปีลงมา จะเป็นแม่ที่ดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิดมากกว่าพ่อผลการวิจัยพบว่า การอบรมเลี้ยงดู เด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็วสูงที่สุด รองลงมา คือ แบบรักสนับสนุน แบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และแบบควบคุมน้อยมากกว่า ควบคุมมาก ท้ายที่สุด คือ แบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย ซึ่งเด็กที่มีผู้ดูแลใกล้ชิดเป็นแม่และเครือญาติของแม่กับพ่อและเครือญาติของพ่อ จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และแบบควบคุมน้อยมากกว่าควบคุมมากผลการวิจัยสัมพันธภาพในครอบครัว พบว่า สัมพันธภาพในครอบครัวเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูใกล้ชิดจากพ่อและเครือญาติ และจากแม่และเครือญาตินั้นมีสัมพันธภาพในครอบครัวสูงที่สุดนอกจากนี้การสำรวจด้านพฤติกรรม พบว่า พฤติกรรมเกี่ยวกับการเรียนมีความเหมาะสมในระดับปานกลางค่อนข้างมาก และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมเกี่ยวกับเพศมีความเหมาะสมในระดับปานกลางค่อนข้างมาก จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูและสัมพันธภาพในครอบครัวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก พบว่า การเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน แบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และแบบควบคุมน้อยกว่ามากกว่าควบคุมมากจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของเด็ก คือ เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมน้อยอย่างไรก็ดี จากการศึกษาสภาพของครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูลูกเพียงฝ่ายเดียว พบว่า การมีหรืออยู่ในครอบครัวที่มีเครือญาติเกื้อหนุนจะช่วยลดความรุนแรงในปัญหาด้านจิตใจ การเลี้ยงดูบุตรได้อย่างมากจากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูเพียงฝ่ายเดียว ได้แก่การจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก การสร้างเครือข่ายในกลุ่มเพื่อนและกลุ่มครอบครัวของพ่อเดี่ยวแม่เดี่ยว เพื่อให้ความช่วยเหลือ แนะนำในการแก้ไขปัญหา จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและระหว่างครอบครัวในมิติต่างๆ อีกทั้งรัฐควรมีส่วนร่วมในการปรับพื้นฐานสวัสดิการสังคมมีการรวบรวมลักษณะครอบครัวที่ต้องประสบปัญหา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงดูเพียงฝ่ายเดียว โดยกำหนดเป็นนโยบายอย่างต่อเนื่อง th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ครอบครัว th
dc.subject Families th
dc.subject การดูแลเด็ก th
dc.subject Child care th
dc.subject บิดามารดาและบุตร th
dc.subject Parent and child th
dc.subject บิดามารดาที่เป็นโสด th
dc.subject Single parents th
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject High school students -- Thailand -- Samut Prakarn. th
dc.title ความสัมพันธ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กและสัมพันธภาพในครอบครัวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กในครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียว : ศึกษาเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative The Relation of Child Rearing, Family Relationship and Child Improper Behavior in Single Parent Families : A Study of Secondary School Students in Samutprakarn Province th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การบริหารสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account