การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและบัณฑิตที่มีต่อคุณภาพของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและคุณลักษณะพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ของบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 197 คน ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา จำนวน 56 คน และผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา2561 จำนวน 141 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Purposive sampling เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บังคับบัญชาและบัณฑิต แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและบัณฑิตที่มีต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิต และแบบสอบความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและบัณฑิตที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิตตามอัตลักษณ์บัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.97 และ 0.96 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม ถึง กรกฎาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาต่อคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติโดยรวม มีคะแนนเฉลี่ย 3.87 (SD 0.64) อยู่ในระดับปานกลาง บัณฑิตประเมินตนเองโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 (SD 0.55) อยู่ในระดับมาก โดยผู้บังคับบัญชา มีความพึงพอใจด้านคุณธรรมจริยธรรมของบัณฑิตมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.23 (SD 0.52) อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับบัณฑิตประเมินตัวเอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 (SD 0.51) ผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจด้านทักษะทางปัญญาน้อยที่สุด คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 (SD 0.52) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนบัณฑิตประเมินตัวเองโดยมีความพึงพอใจด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.07 (SD 0.55) อยู่ในระดับมาก สำหรับความพึงพอใจต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ ได้แก่ ความเอื้ออาทร ความรับผิดชอบ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งผู้บังคับบัญชา (Mean= 4.14, SD= 0.50) และบัณฑิต (Mean= 4.50, SD= 0.53) มีความพึงพอใจด้านความเอื้ออาทรมากที่สุด และมีความพึงพอใจน้อยที่สุดในด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น จากผลการวิจัยควรสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกลยุทธ์การเรียนการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตทั้ง 6 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยเฉพาะทักษะด้านภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบัณฑิตและตอบสนองกับความต้องการในระบบสุขภาพ
This descriptive research aimed to investigate the satisfaction of administrators and undergraduate nurses towards the Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) competencies and expected attributes of undergraduate nurses who graduated from the Faculty of nursing, Huachiew Chalermprakiet University, Academic Year 2018. The purposive samples were 56 administrators and 141 undergraduate nurses. Data collection was done using 3 questionnaires including the demographic data questionnaires, satisfaction toward TQF competencies questionnaires and satisfaction toward expected attributes of Faculty of nursing, Huachiew Chalermprakiet University questionnaires. The reliability of TQF competencies and expected attributes questionnaires were 0.97 and 0.96 respectively. Data were collected during January - July 2020. Descriptive statistics including mean and standard deviation were used to analyze data. The results showed that the overall scores of TQF competencies evaluated by administrators was at moderate level (Mean= 3.87, SD= 0.64), while the overall scores evaluated by undergraduate was at high level (Mean= 4.55, SD= 0.55). The highest scores evaluated by administrators (Mean 4.23, SD 0.52) and undergraduate nurses (Mean 4.52, SD 0.51) was morality and ethics. The lowest scores evaluated by administrators was cognitive skills (Mean 3.61, SD 0.52), whereas numerical analysis, communication and information technology skills was lowest among undergraduate nurses' self evaluation (Mean 4.07, SD 0.55). Regarding to satisfaction towards expected attributes of undergraduate nurses, both groups evaluated "caring" as the highest scores and "cooperation" as the lowest scores. The results of this study suggested the learning-teaching development which could increase the undergraduates' competencies in all aspects and primarily focused to English skills. As a result, it will enhance the graduates' competencies and meet the demand in healthcare system