บทนำ การหกล้มเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายประการ นอกจากนี้การหกล้มยังสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงต้องการศึกษาหาความชุกของการหกล้ม ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุวิธีการ ศึกษาในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการหกล้ม ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ประเมินความสามารถการทรงตัว ภาวะการรับรู้ ภาวะกลัวการหกล้ม ภาวะซึมเศร้า และคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มโดยใช้สถิติ Chi squareผลการวิจัย ผู้สูงอายุจำนวน 139 คน มีความชุกการหกล้มร้อยละ 35.3 หรือคิดเป็นการหกล้ม 1.9 ครั้งต่อคนต่อปี ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 60-69 ปี และมีความถี่การหกล้มหนึ่งครั้ง ผู้สูงอายุเพศชายหกล้มมากกว่าเพศหญิง 1.45 เท่า ส่วนใหญ่หกล้มจากการลื่นและมีทิศทางการหกล้มไปด้านหลัง ในขณะที่เพศหญิงส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการลื่นหรือสะดุดและหกล้มไปด้านหน้า นอกจากนี้ยังพบว่าช่วงสูงอายุตอนต้น (p<0.032) สถานภาพหม้ายหรือหย่าร้าง (p<0.026) และไม่ออกกำลังกาย (p<0.039) ออกกำลังกายน้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ (p<0.046) มีการหกล้มมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้สูงอายุร้อยละ 65.69 มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง 32.12 มีคุณภาพชีวิตระดับดี และ 2.19 มีคุณภาพชีวิตระดับต่ำสรุปผลการวิจัย ผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการมีความชุกการหกล้มค่อนข้างสูง พบเหตุการณ์หกล้มมากที่สุดในผู้สูงอายุตอนต้น สถานภาพสมรส และการออกกำลังกาย เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มในผู้สูงอายุ อีกทั้งผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง
Introduction: Falling is a common problem among the elderly. It provides both direct and indirect effects on elderly health. Falls occur from various factors. Therefore, this study aims to assess the prevalence associated factors and quality of life in the elderly. Methods: The study was conducted in elderly living in Samutprakarn Province. The information of fall history, balance, cognition, fear of falling, depression, and quality of life were collected. The associated factors were analyzed using Chi square test. Results: One hundred-thirty-nine elderly were recruited in the study. The prevalence of fall was 35.3% or the elderly had fall rate of 1.9 per person-year. Falling mostly occurred in the elderly at the age between 60-69 and was found once a year. Male had the 1.45 times higher risk of falling than female. The majority cause of falls in male was slipping especially in backward direction whereas the cause of falling in female occurred from forward slipping or stumbling. Additionally, the statistically significance rate of falls were found in the early elderly (p <0.032), the widowed or divorced (p <0.026) and none-exercise (p <0.039), and the elder who exercise less than 3 days per week (p <0.046). Sixty-five point sixty nine percent of the elderly had a moderate quality of life, 32.12% had a good quality of life, and 2.19 had a low quality of life. Conclusion Elderly people in Samutprakan province have a high prevalence of falls. The high rate of falls was related to the early elderly, marital status and history of exercise. Moreover, most elderly in Samutprakan province had a moderate quality of life.