คุณภาพการนอนหลับมีผลต่อความจำและผลการเรียนของนักศึกษา อีกทั้งยังกระทบต่อการดำรงชีวิตและการทำงานของคนทั่วไป งานวิจัยนี้จะทำการศึกษาความสัมพันธ์ของผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับกับพื้นฐานสุขภาพของร่างกายตามศาสตร์แพทย์แผนจีนในนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 113 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สุ่มเก็บข้อมูลจากนักศึกษาแต่ละชั้นปีโดยกรอกข้อมูลแบบสอบถามด้วยตนเองเพียงลำพัง ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ ได้แก่แบบสอบถามประเมินสุขภาพทั่วไป แบบประเมินความเครียด แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ(PQSI) และแบบสอบถามอาศัยตามหลักการของพื้นฐานสุขภาพของร่างกายตามศาสตร์แพทย์แผนจีน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับกับพื้นฐานสุขภาพของร่างกายตามศาสตร์แพทย์แผนจีนในนักศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์ในการบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นแนวทางในการจัดการสุขภาพและปรับปรุงคุณภาพในการนอนหลับของนักศึกษาผลการวิจัย พบว่าจากข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างช่วงอายุไม่ได้มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับระดับความเครียดและคุณภาพการนอนหลับ ส่วนระดับความเครียดและคุณภาพในการนอน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (P=0.001 <0.01) คือ ผู้ที่มีคุณภาพในการนอนดีมาก ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีระดับความเครียดปานกลาง และน้อย ส่วนผู้ที่มีคุณภาพในการนอนไม่ดีเลย จะเป็นผู้ที่มีระดับความเครียดปานกลาง และมากที่สุด ตามลำดับ และจากการศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นฐานสุขภาพของร่างกายของกลุ่มตัวอย่างและคุณภาพการนอนหลับ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (P=0.001 <0.01) และพบว่า 5 อันดับแรกที่มักจะมีปัญหาการนอนไม่หลับ หรือมีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ได้แก่ กลุ่มชี่พร่อง กลุ่มพิเศษ กลุ่มชี่อุดกั้น กลุ่มอินพร่อง และกลุ่มร้อนชื้น ส่วนกลุ่มสมดุลมักมีคุณภาพการนอนหลับค่อนข้างดี และจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นฐานสุขภาพของร่างกายกับผู้ที่มักภาวะนอนไม่หลับในประเทศจีนที่ผ่านมา ไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่ากลุ่มพิเศษมีโอกาสนอนหลับได้ไม่ดีในอันดับแรกๆ แต่จากการศึกษาครั้งนี้กลับพบว่ากลุ่มพิเศษมักมีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ทั้งนี้อาจจะเกิดจากแหล่งที่อยู่ที่แตกต่างกันทำให้พื้นฐานสุขภาพของร่างกายต่างกัน
Sleep quality affects students' memory and academic performance. It also affects the living and working of the people. This research will study the relationship of people with insomnia and the Traditional Chinese Medicine (TCM) Constitutions in groups of 113 Huachiew Chalermprakiet University students. By using of questionnaire data collection. Information is randomly collected from each class of students to filling in the questionnaire by themselves. Containing General personal information, Health awareness assessment form such as General health assessment questionnaires, Stress assessment form, Pittsburgh Sleep Quality Index (PQSI), and TCM constitutions questionnaire to analyze the relationship of people with insomnia and the basics of physical health according to TCM among students. This is useful to integration of teaching and learning activities and guides student to health management and improves sleep quality. The results of the study found that, age ranges of was no significantly difference in stress levels and sleep quality. The stress level and the sleep quality, there was a statistically significant correlation (P = 0.001 <0.01). The sleep quality was very good. Most of them are those with moderate and low stress levels, and those with poor sleep quality. Will have moderate and highest stress levels, respectively and from the study of the relationship between TCM constitutions of the sample and the quality of sleep. There was a statistically significant correlation (P = 0.001 <0.01) and the top 5 most likely to have insomnia or having poor sleep quality, including Qi-deficiency, Special, Qi-depression, Yin-deficiency, and Dampness-heat constitution, while the balanced constitution had relatively good sleep quality. And a review of the literature found that studies of the between Traditional Chinese Medicine (TCM) Constitutions with insomnia in China, it is no data to support that special constitution were top-ranked insomnia. But this study, it was found that special constitution often had poor sleep quality. This may be due to different locations, which make everyone's basic of physical health different.