วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางความคิดเชิงบริหาร ทักษะการเคลื่อนไหว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในเด็กอายุ 7 ถึง 10 ปี วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในเด็กประถมเพศชายและหญิง อายุ 7 - 10 ปี จำนวน 84 คน โดยได้รับการทดสอบทักษะพื้นฐานทางความคิดเชิงบริหาร 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านความจำเพื่อใช้งานทดสอบด้วย digit span test ด้านการยั้งคิดไตร่ตรองทดสอบด้วย stroop color and word test ด้านความยืดหยุ่นทางความคิดทดสอบด้วย trail making test part A (TMT-A) และได้รับการทดสอบทักษะการเคลื่อนไหว 3 ด้านด้วยชุดการทดสอบ movement assessment battery for children-2 (MABC-2) ประกอบด้วย ความคล่องแคล่วของทักษะการใช้มือ การเคลื่อนไหวแบบมีเป้าหมาย และความสามารถของการทรงตัว และทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยการวัดแรงบีบมือด้วย hand-held dynamometer จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติด้วยค่าสหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson's correlation coefficient; r) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ค่าน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา: พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทักษะความคิดเชิงบริหารด้านความยืดหยุ่นทางความคิดกับทักษะการเคลื่อนไหวโดยรวม (r = - 0.312, p = 0.004) ความคล่องแคล่วของทักษะการใช้มือ (r = - 0.283, p = 0.009) และความสามารถในการทรงตัว (r = - 0.276, p = 0.011) อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างความคิดเชิงบริหารกับการเคลื่อนไหวแบบมีเป้าหมายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสรุป: ทักษะความคิดเชิงบริหารด้านความยืดหยุ่นทางความคิดที่ดีสัมพันธ์กับทักษะการเคลื่อนไหวที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคล่องแคล่วของทักษะการใช้มือและความสามารถในการทรงตัวในเด็กอายุ 7-10 ปี ดังนั้นเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของเด็กประถมวัยผ่านทางกิจกรรมที่ส่งเสริมทั้งความสามารถด้านทักษะของสมองและการเคลื่อนไหว
Objective: To study the correlation between executive function, motor skills, and muscle strength in school-age children 7 to 10 years old. Method The participant was 84 children aged between 7 to 10 years, who were assessed the three domains of executive function include working memory, inhibitory control and cognitive flexibility by digit span test, stroop color - word test and trail making part A (TMT-A), respectively. The movement assessment battery for children - 2 (MABC-2) consisted of manual dexterity, aiming and catching, and balance was measured. In addition, muscle strength was measured using a hand-held dynamometer. All data were analyzed a statistical correlation by Pearson's correlation coefficient at p-value <0.05. Result: The cognitive flexibility has been found a statistical negative correlation with total score of motor skills (r = - 0.312, p = 0.004), manual dexterity (r = - 0.283, p = 0.009), and balance (r = - 0.276, p = 0.011). However, there was no statistical correlation between the three domains of executive function, aiming and catching, as well as muscle strength. Conclusion: Our finding suggests that the cognitive flexibility is associated with motor skills, especially manual dexterity and balance. Therefore, executive function and motor skills training may enhance learning ability in elementary school-age children.