DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับดัชนีมวลกายต่อการรับรู้และความเข้าใจและระดับความสามารถทางการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ : การศึกษาภาคตัดขวาง

Show simple item record

dc.contributor.author ชญานี แก้วทอง
dc.contributor.author มัญชุลีพร วิริยะวัฒนากูล
dc.contributor.author Chayanee Kaewthong
dc.contributor.author Monchuleeporn Viriyawattanakul
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy th
dc.date.accessioned 2024-03-22T10:22:54Z
dc.date.available 2024-03-22T10:22:54Z
dc.date.issued 2021
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1945
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีมวลกายต่อการรับรู้และความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และความเข้าใจต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับดัชนีมวลกายต่อการรับรู้และความเข้าใจของผู้สูงอายุ วิธีการ : มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 183 คน ที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกผู้สูงอายุทุกคนจะต้องตอบแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน และตอบแบบสอบถามความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ แบ่งผู้สูงอายุเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่าปกติจำนวน 24 คน กลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติ จำนวน 40 คน กลุ่มอ้วนระดับที่ 1 จำนวน 37 คน กลุ่มอ้วนระดับที่ 2 จำนวน 51 คน และกลุ่มอ้วนระดับที่ 3 จำนวน 31 คน ผู้สูงอายุทั้งห้ากลุ่มจะได้รับการประเมินการรับรู้และความเข้าใจด้วยแบบประเมิน Montreal Cognitive Assessment: MOCA และประเมินความสามารถทางการเคลื่อนไหวด้วยการประเมิน Timed up and go นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One-way Analysis of variance (ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้และความเข้าใจของผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มและใช้สถิติ Spearman correlation เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีมวลกายกับการรับรู้และความเข้าใจและความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และความเข้าใจกับความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ผลการวิจัย : จากผลการวิจัยพบว่า พบว่าค่าคะแนนการรับรู้และความเข้าใจในผู้สูงอายุทั้ง 5 กลุ่มมีภาวะการรับรู้และความเข้าใจบกพร่อง (mild cognitive impairment) โดยที่กลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่าปกติมีคะแนนการรับรู้และความเข้าใจ เท่ากับ 16.08 ± 5.12 กลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติเท่ากับ 16.33 ± 5.71 กลุ่มอ้วนระดับที่ 1 เท่ากับ 16.57 ± 4.80 กลุ่มอ้วนระดับที่ 2 เท่ากับ 18.02 ± 5.03 และกลุ่มอ้วนระดับที่ 3 เท่ากับ 16.35 ± 4.39 ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีมวลกายและการรับรู้และความเข้าใจ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนของผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P value เท่ากับ 0.393 และพบความสัมพันธ์เชิงลบในระดับปานกลาง (r= -0.364) ระหว่างการรับรู้และความเข้าใจและความสามารถทางการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุสรุปผลงานวิจัย : ผู้สูงอายุอยู่ภายในจังหวัดสมุทรปราการมีภาวะมีการรับรู้และความเข้าใจบกพร่อง (mild cognitive impairment : MCI) ค่าการรับรู้และความเข้าใจในผู้สูงอายุทั้ง 5 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีมวลกายและการรับรู้และความเข้าใจไม่สัมพันธ์กันและพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงลบระดับปานกลางระหว่างการรับรู้และความเข้าใจต่อความสามารถในการเคลื่อนไหว ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะการรับรู้และความเข้าใจบกพร่องส่งผลถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน th
dc.description.abstract Objective : The aim of this study was to investigate the correlation between body mass index and cognitive function, cognitive function and functional mobility and to comparison of cognitive function between the 5 group of elderly (underweight, normal weight, obesity class I, obesity class II and obesity class III) in elderly. Method : There were 183 participants in this study. Participants were divided into 5 groups including underweight, normal weight, obesity class I, obesity class II and obesity class III. All participant were tested cognitive function with Montreal Cognitive Assessment (MOCA) and functional mobility with Timed up and go test. The comparison between 5 groups were test by One-way Analysis of variance. A spearman correlation used to find the relation between body mass index and cognitive function and cognitive function and functional mobility. Result : All of 5 groups of elderly showed mild cognitive function. The cognition score of underweight group was 16.08 ± 5.12, normal group was 16.33 ± 5.71 obesity class I group was 16.57 ± 4.80, obesity class II group was 18.02 ± 5.03 and obesity class III group was 16.35 ± 4.39. The result showed that no significant difference of cognitive function between 5 groups. no correlation between body mass index and cognitive function, however finding to the correlation between cognitive and functional mobility. (r= -0.364)Conclusion : The elderly were mild cognitive function and cognitive function correlated to functional mobility in elderly. th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2561 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ดัชนีมวลกาย th
dc.subject Body mass index th
dc.subject ผู้สูงอายุ th
dc.subject Older people th
dc.subject การรับรู้ตนเองในวัยสูงอายุ th
dc.subject Self-perception in old age th
dc.subject การเคลื่อนไหวของมนุษย์ th
dc.subject Human mechanics th
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างระดับดัชนีมวลกายต่อการรับรู้และความเข้าใจและระดับความสามารถทางการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ : การศึกษาภาคตัดขวาง th
dc.title.alternative Association between the Level of Body Mass Index with Cognitive Function and Functional Mobility in Elderly : A Cross-Sectional Stud th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account