DSpace Repository

การย้ายถิ่น การปรับตัวทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม เพศสภาพ และความรุนแรงในครอบครัวของแรงงานอพยพสตรีพม่าในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
dc.contributor.author เนตรนภา วงษ์สวัสดิ์
dc.date.accessioned 2022-05-02T12:46:07Z
dc.date.available 2022-05-02T12:46:07Z
dc.date.issued 2011
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/194
dc.description วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554 th
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องการย้ายถิ่น การปรับตัวทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม เพศสภาพ และความรุนแรงในครอบครัว : ศึกษากรณีแรงงานอพยพสตรีพม่าในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการอพยพย้ายถิ่น ของแรงงานสตรีอพยพชาวพม่าที่เข้ามาในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เพื่อศึกษาวิถีการดำรงชีวิต การปรับตัวทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม เพศสภาพและความรุนแรงในครอบครัว การเก็บข้อมูลใช้ การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม จังหวัดละ 12 คน ที่ย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศไทย 1-2 ปี ผลการศึกษาเรื่องการย้ายถิ่น พบว่า ปัจจัยที่ดึงดูดให้แรงงานสตรีอพยพชาวพม่าย้ายถิ่นมาประเทศไทย คือ ระบบเศรษฐไทยต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก และคนงานไทยไม่ต้องการทำงานหนัก งานสกปรก และงานอันตราย จึงต้องจ้างแรงงานข้ามชาติทำงานเหล่านี้ ส่วนปัจจัยผลักดัน คือ สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศพม่าจึงทำให้เกิดกระบวนการย้ายถิ่นผ่านทางนายหน้า เครือญาติและเพื่อน ผลการศึกษาเรื่องการย้ายถิ่น พบว่าปัจจัยที่ดึงดูดให้แรงงานสตรีอพยพชาวพม่าย้ายถิ่นมาประเทศไทย คือ ระบบเศรษฐกิจไทยต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก และคนงานไทยไม่ต้องการทำงานหนัก และงานอันตราย จึงต้องจ้างแรงงานข้ามชาติทำงานเหล่านี้ ส่วนปัจจัยผลักดัน คือ สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศพม่าจึงทำให้เกิดกระบวนการย้ายถิ่นทางนายหน้า เครือญาติและเพื่อน ผลการศึกษาการปรับตัวทางสังคมพบว่า แรงงานอพยพสตรีชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาครปรับตัวได้ดีกว่าแรงงานอพยพสตรีในจังหวัดระนองในเรื่องการสื่อสารภาษาไทย การสนับสนุนทางการเงิน อาหาร ที่อยู่อาศัยจากเครือญาติและเพื่อน การสนับสนุนด้านการศึกษาของบุตร การสนับสนุนด้านการอบรม ความรู้ อุปกรณ์ในการทำงานหรือทักษะอาชีพส่วนการปรับตัวในเรื่องอื่น ได้แก่ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ความปลอดภัย ความมั่นคง เสรีภาพและความรู้สึกถึงคุณค่าของตนเอง ความตึงเครียด รวมทั้งการสนับสนุนทางสังคมด้านสุขภาพ การสนับสนุนจากเพื่อน การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เรื่อง การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และการทำบัตรประกันสุขภาพ แรงงานอพยพสตรีชาวพม่าทั้งสองจังหวัดมีการปรับตัวและได้รับการสนับสนุนไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาเพศสภาพของแรงงานสตรีอพยพชาวพม่า จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า บทบาทหน้าที่ในครอบครัวมี 2 ลักษณะคือทั้งทำงานนอกบ้านเพื่อการหารายได้และบทบาทของภรรยาและแม่ เมื่อกลับมาอยู่ในครอบครัว ส่วนจังหวัดระนองมีลักษณะเดิม คือ การเป็นแม่บ้าน ดูแลลูกและเชื่อฟังสามี ด้านเพศสภาพกับอนามัยเจริญพันธุ์ แรงงานสตรีอพยพทั้งสองจังหวัดมีสิทธิเลือกช่วงเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ได้ และคุมกำเนิดด้วยการกินยา สำหรับผลการศึกษาเรื่องความรุนแรงในการมีเพศสัมพันธ์ได้ และคุมกำเนิดด้วยการกินยา สำหรับผลการศึกษาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวส่วนใหญ่จากสามีเมาสุรา จนทำให้เกิดการทำร้ายร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แรงงานสตรีอพยพชาวพม่าตัดสินในหย่าร้าง ประเด็นรองลงมา คือ ความไม่ซื่อสัตย์ของสามีที่มีภรรยาน้อย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสำรวจข้อมูลจำนวนแรงงานต่างด้าสวที่เป็นตัวเลขจริง ควรให้แต่ละหน่วยงานมีการร่วมือประสานกันเป็นพหุภาคี เพื่อช่วยแก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ควรทำงานในรูปแบบจากล่างสู่บน ควรกำหนดแผนงานให้ชัดเจนหรือทำคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการและแก้ปัญหาร่วมกันและควรจัดทำแบบการประเมินผลหรือรายงานส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมีแบบการประเมินผลไปในทิศทางเดียวกัน ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ คือ ควรมีมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคเพิ่มมากขึ้น สถานประกอบการ/โรงงานที่ให้แรงงานข้ามชาติประกอบอาชีพควรประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในการดูแลเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การทำบัตรประกันสังคม/บัตรสุขภาพองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น/เทศบาลควรมีส่วนช่วยดูแลในเรื่องที่พักอาศัยที่ถูกสุขลักษณะปราศจากมลพิษจากสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชนควรเปิดโอกาสให้บุตรแรงงานข้ามชาติเข้าศึกษาในหลักสูตรการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือเปิดสอนภาษาไทยให้กับแรงงานข้ามชาติและหน่วยงานภาคเอกชนควรประสานกับหน่วยงานภาครัฐจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อทำให้แรงงานข้ามชาติเกิดการปรับตัวทางสังคมและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของแรงงานอพยพ th
dc.description.abstract The research on "Migration, Social Adjustment, Social Support, Gender and Domestic Violence : A Case Study of Burmese Migration Women, in Muang District, Samutsakhon Province and La-oon District of Ranong Province have two objectives ; to study migration process of Burmese women and their lifestyles, health condition, relationship in their families, social support, networking and decision on the future of Burmese migrant women. Data collection was undertaken by using the method of in-depth interviews and focus group discussion with 12 chosen migrants ; those migrated to Thailand 1-2 years, from each of 2 provinces ; in Muang district of Samutsakhon Province and La-oon district of Ranong Province. The findings on migration issue was found that pull factor that attracts Burmese women migrants migrated to Thailand had been the Thai economy. Since there is a huge need in labors and Thai workers do not like some kind of job which resulted in the employment of migrant labors. The push factor is the political and economic crisis of Burma that resulted in migration process through the brokers, relatives and friends. The finding on social adjustment issue shows that Burmese migrant women workers in Muang district of Samutsakhon Province can adapt themselves better than women migrant workers in Ranong Province in regards to the Thai language skill, the financial support, food, accommodation from relatives and friends, educational support for their children, job training, working equipment and professional skills. Whereas there is on difference between the two province on the other self adaptabilities, such as relationships with other people, safety, security, freedom and sense of self-esteem, stress management as well as the support for social healthcare, other supports from friends governmental and private sectors on the registration of foreign workers and on th e applying for their health insurance cards. The finding on gender issue shows that women migrant workers from Burma at Samutsakhon Province have major roles ; one as working women for an income and the other as housewives or as mothers when returen home. However, those in La-oon District of Ranong Province, they practiced their traditional role that it is as a housewife, taking care of children and listening to her husband. On the issue of gender and reproductive health, women migrant workers of bothe provinces have the rights to choose the time of sexual retaions and use the pills for the contraception. In regard to the study on domestic violence, the major cause of the violence was the alcohol abuse (or drunkeness) leading to bodily harm which was the main reason for Burmese migrant women made their minds to divorce. The subordinate factor for this has been the dishonest of the husbands in having a concubine. Based of findings, the suggestions on policy level is Ministray of Foreign Affairs, Ministry of Labor and other related agancies including Non-governmental Organizations (NGOs) should conduct a survey of the actual number of migration workers. They should promote the good coordination and collaboration in multi-lateral approach to help solve the problematic issue of migrant workers. The bottom-up approach shall considered and implemented with framework clearly identified or having an operations manual available for the related agencies to follow in integrating actions and solving problems together. There also needs to be one standard format for evaluation or reporting systems meant fir cohesive and one unified direction. The suggestions on action level, there should be more measures related to health promotion and prevention of diseases. The business firms or factories, where migrant workers are employed, should coordinate with governmental agencies mandated to take care about health promotion and support on applying for health insurance and social security cards. The local administrative organizations or municipals should take part in providing support for hygiene and sanitation of accommodations with pollution-free environment. Both governmental and private educational institutions should give an opportunity for migrant children to study in the normal curriculums in order to develop these children for better life or open the course teaching Thai language for those foreign workers. The private organuzations should get in touch with the government agencies for project activities that will help migrant workers toward social adjustment and to live with the better quality of life. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject แรงงานต่างด้าวสตรีพม่า -- ไทย -- ระนอง th
dc.subject Women foreign workers -- Thailand -- Ranong th
dc.subject แรงงานต่างด้าวสตรีพม่า -- ไทย -- สมุทรสาคร th
dc.subject Women foreign workers -- Thailand -- Samutsakhon th
dc.subject การย้ายถิ่นของแรงงาน -- ไทย -- ระนอง th
dc.subject Migrant labor -- Thailand -- Ranong th
dc.subject การปรับตัวทางสังคม th
dc.subject Social adjustment th
dc.subject การสนับสนุนทางสังคม th
dc.subject Social support th
dc.subject ความรุนแรงในครอบครัว th
dc.subject Family violence th
dc.title การย้ายถิ่น การปรับตัวทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม เพศสภาพ และความรุนแรงในครอบครัวของแรงงานอพยพสตรีพม่าในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง th
dc.title.alternative Migration, Social Adjustment, Social Support, Gender and Domestic Violence in Families of Burmese Migration Woman Workers in Muang District, Samutsakhon Porvince and La-oon District, Ranong Province th
dc.type Thesis th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account