DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาอุปสรรคและความต้องการของผู้พิการที่ประกอบอาชีพในหน่วยงาน กับผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระ

Show simple item record

dc.contributor.advisor จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
dc.contributor.advisor Jaturong Boonyarattanasoontorn
dc.contributor.author กัลปังหา หงส์ทอง
dc.contributor.author Kalaphangha Hongsthong
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-03-31T01:53:29Z
dc.date.available 2024-03-31T01:53:29Z
dc.date.issued 2002
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1980
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 th
dc.description.abstract การศึกษาเปรียบเทียบปัญหา อุปสรรค และความต้องการของผู้พิการที่ประกอบอาชีพในหน่วยงานกับผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดของผู้พิการในการประกอบอาชีพ ศึกษาปัญหา อุปสรรค ความต้องการในการประกอบอาชีพของผู้พิการที่มีอาชีพในหน่วยงานและอาชีพอิสระ แนวทางในการส่งเสริมให้ผู้พิการมีอาชีพที่มั่นคงและเหมาะสมกับความพิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้พิการที่ทำงานประจำในหน่วยงาน จำนวน 10 คน เพศชาย 5 คน เพศหญิง 5 คน มีอายุระหว่าง 25-35 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้อยู่ระหว่าง 3,000-6,000 บาทและผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 10 คน เพศชาย 6 คน เพศหญิง 4 คน มีอายุระหว่าง 25-45 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว จบการศึกษาระดับประถม มีรายได้ระหว่าง 6,000-8,000 บาท ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือ แนวคิดของผู้พิการทั้ง 2 กลุ่มต่อการประกอบอาชีพ คือ ต้องการให้สังคมได้ตระหนัก รับรู้ ยอมรับในตัวผู้พิการว่า สามารถทำงานหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ต้องการพึ่งพาตนเองมากกว่าขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งให้โอกาแก่ผู้พิการในการทำงานเพื่อแสดงศักยภาพที่มีอยู่ให้สังคมยอมรับ รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสังคม ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ปัญหา อุปสรรค และความต้องการของผู้พิการที่ประกอบอาชีพในหน่วยงาน คือ ปัญหาเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ทั่วถึง ไม่มีความมั่นคง ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ ปัญหาการยอมรับปรับตัวกับผู้ร่วมงาน และด้านการศึกษาที่ไม่มีความเหมาะสม ส่วนผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระ จะประสบปัญหาเรื่องเงินทุนที่ใช้ในการหมุนเวียน ไม่เพียงพอ ไม่มีแหล่งตลาด การศึกษาโดยเฉพาะด้านวิชาชีพที่ไม่เพียงพอและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และไม่มีความมั่นคงในอาชีพ จากปัญหาและอุปสรรคที่ผู้พิการทั้ง 2 กลุ่มประสบ ผู้พิการต้องการให้สังคมเปิดโอกาสในการทำงานกับผู้พิการมากขึ้น ยอมรับ มีความเข้าใจในความพิการ และให้มีการฝึกอาชีพที่เหมาะสม รวมทั้งให้สังคมเปิดกว้างในการศึกษาของผู้พิการอย่างครอบคลุม และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมและทั่วถึง ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 คือ แนวทางการส่งเสริมอาชีพของผู้พิการ จากทัศนะผู้พิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ควรให้ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การศึกษา สังคม และอาชีพ อย่างครอบคลุม และมีการทำงานเป็นเครือข่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพ จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น รถโดยสาร ทางลาด ห้องน้ำ ฯลฯ ในที่สาธารณะอย่างทั่วถึง มีการปรับทักษะด้านฝีมือแรงงานแก่ผู้พิการ รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้พิการในรูปของกลุ่มอาชีพ สหกรณ์ องค์กรคนพิการให้มีความเข้มแข็ง เพื่อช่วยกันพัฒนาศักยภาพของผู้พิการต่อไป การทดสอบสมมติฐานที่ผู้ศึกษาได้ตั้งไว้ ผลการศึกษายอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในเรื่อง สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ส่งผลต่อปัญหาและความต้องการของผู้พิการที่ประกอบอาชีพในหน่วยงานและอาชีพอิสระ ผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระไม่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากสังคม และประเภทความพิการเป็นอุปสรรคต่อการเข้าทำงานในสถานประกอบการ สำหรับผลการศึกษาที่ปฏิเสธสมมติฐาน คือ คนพิการที่ทำงานประจำไม่มีปัญหาด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในระดับนโยบายคือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ควรมีบทบาทในการจัดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้ง 4 ด้านให้ครอบคลุม จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะต่างๆ อย่างทั่วถึง รณรงค์ส่งเสริม เผยแพร่ให้ความรู้ความเข้าใจแก่สังคมต่อผู้พิการอย่างถูกต้อง ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้พิการเพื่อให้ผู้พิการมีส่วนร่วมมากขึ้น ในระดับปฏิบัติการ คือ พัฒนาหลักสูตรวิชาชีพให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จัดการศึกษาในลักษณะการเรียนร่วมกับคนปกติในโรงเรียน ฝึกอบรม เพิ่มทักษะวิชาชีพ รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มทางสังคมในรูปขององค์กร กลุ่มวิชาชีพ เพื่อปรับทักษะทางสังคมของผู้พิการ และสำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาปัญหา อุปสรรค ในงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพของผู้พิการทุกประเภท ทั้งในส่วนภูมิภาคและชุมชนต่างๆ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จด้านอาชีพของผู้พิการ และงานฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพของผู้พิการในลักษณะสหวิชาชีพ th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject คนพิการ th
dc.subject People with disabilities th
dc.subject คนพิการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ. th
dc.subject People with disabilities -- Law and legislation th
dc.subject คนพิการ -- การจ้างงาน th
dc.subject People with disabilities -- Employment th
dc.subject คนพิการ -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ th
dc.subject People with disabilities -- Rehabilitation th
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาอุปสรรคและความต้องการของผู้พิการที่ประกอบอาชีพในหน่วยงาน กับผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระ th
dc.title.alternative A Comparative Study of Problems, Barriers and Needs of the Disabled Working in an Organizarions and Self-employed th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account