การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้ปฎิบัติงานที่เป็นโรคหืดในสถานประกอบการผลิตเส้นใยฝ้าย โดยนำรูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงประเทศสหรัฐอเมริกาซูคัพ (2000) เป็นหลักในการพัฒนาแนวปฏิบัติและใช้รูปแบบโพลิทและเบค (2004) ในการประเมินความเป็นไปได้ของการดำเนินงานภายใต้แบบจำลองการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2006) เริ่มต้นด้วย 1) วิเคราะห์ปัญหาการกำเริบของโรคหืดในผู้ปฏิบัติงานจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการผลิตเส้นใยฝ้าย 2) ค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องโดยกำหนดคำสำคัญเพื่อสืบค้นข้อมูลได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องระหว่าง พ.ศ. 2539-2550 จำนวน 12 เรื่อง ประกอบด้วยงานวิจัยเชิงทดลอง 2 เรื่อง งานวิจัยกึ่งทดลอง 1 เรื่อง งานวิจัยไม่ทดลอง 9 เรื่อง 3) วิเคราะห์งานวิจัยเพื่อค้นหาสาระภายใต้แนวคิดปัจจัยลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรมและพฤติกรรมผลลัพธ์ ร่วมกับออกแบบโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆ ในแนวปฏิบัติพยาบาลที่มีผลต่อการกำเริบของโรคหืด จนได้องค์ประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ 1) การประเมินปัจจัยเพื่อการวินิจฉัยผู้ปฏิบัติงานที่เป็นโรคหืด ประกอบด้วยแบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคลและปัจจัยที่เป็นสาเหตุการกำเริบของโรคหืดและแบบประเมินความสามารถในการควบคุมโรคหืดและการรับรู้พฤติกรรมสุขภาพ 2) การวินิจฉัยระดับความรุนแรงของโรคหืดตามปัจจัยที่ประเมินได้ และ 3) การพยาบาลตามระดับความรุนแรงซึ่งมีทั้งแนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในสถานประกอบการ แนวปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติงานและคู่มือสำหรับผู้เป็นโรคหืดในสถานประกอบการเพื่อการดูแลตนเอง แล้วนำแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นไปหาความเป็นไปได้ในการใช้จริงโดยขอความคิดเห็นจากแพทย์และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 6 ท่าน รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานที่เป็นโรคหืดจำนวน 5 ราย ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ นำข้อเสนอแนะที่ได้ทั้งหมดมาปรับโครงสร้าง องค์ประกอบและสาระจนได้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ชัดเจน ข้อเสนอแนะ นำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้กับผู้ปฏิบัติงานที่เป็นโรคหืดในสถานประกอบการอื่นๆ เพื่อใช้ในการดูแลผู้ปฏิบัติงานที่เป็นโรคหืดให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันการกำเริบของโรคโดยผนวกแนวปฏิบัติการพยาบาลให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานของบุคลากรสุขภาพในสถานประกอบการและเชื่อมโยงเครือข่ายการให้บริการกับหน่วยงานในโรงพยาบาลเพื่อให้การดูแลสุขภาพผู้ปฏิบัติงานที่เป็นโรคหืดในสถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง
The objective of this study is to develop Clinical Nursing Practice Guideline (CNPG) for asthmatic client who work in cotton fiber by using the empirical evidence performance of US. Advanced Nursing Practice Center (2000) in order to develop the CNPG. Also, the evaluation method based on Polit & Beck (2004) under Pender’s Health Promotion Framework (2006) were employed. The study began with analyses of the asthmatic attack problems obtained from health working experiences in factory and, then, looked for any empirical evidence by regulating key words in order to search for relevant studies performed from 1996 to 2007. Twelve studies were found which consisted of 2 experimental studies, 1 quasi-experimental study, and 9 non-experimental studies. The next step was to synthesize the specific characteristics with accorded to Individual Characteristics and Experiences, Behavior-Specific Cognition and Affect and Behavioral Outcome which were main concepts under Pender’s Health Promotion Framework. Then, the structure and components of CNPG were designed to have 3 parts : 1) Risk factors assessment which composed of personal characteristics, health risk behaviors, and capability and perception for controlling asthmatic attack, 2) Diagnostic guideline, and 3) Nursing practice guideline both for nurse who was health personal in factory and asthmatic client for practicing by themselves in their works and at home. In the following two weeks, the professionals’ opinions were asked from 6 doctors and nurses who worked in the asthmatic clinic of Bang Pa-in Hospital and 5 asthmatic workers if the created nursing guidelines were feasible. Then, the structure, components, and contents of the obtained suggestions were adjusted to attain the clear-cut nursing practice guidelines. The suggestions for this study can be summarized as follows: The nursing practice guidelines should be distributed to asthmatic clients who work in nearby factories to enhance the capabilities in taking care their health by themselves. Besides, they must be monitored their actions on improving self care capabilities and preventing the attack in asthmatic client who work in factories by supplementing the nursing practice guidelines to the working instructions of any health care professionals in each factory. Moreover, there should be a health continuing care tools between the factory and related sections in hospitals in improving asthmatic client’s health continuously.