บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการปรับตัวในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบท (2) ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาในการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบทในปัจจุบัน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปใน 2 พื้นที่ คือ ชุมชนเมือง เทศบาลเมืองบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และเขตชุมชนชนบทเทศบาลตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีจำนวนทั้งสิ้น 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการปรับตัวในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ประกอบด้วย 1) ปัญหาด้านมาตรฐานทางสังคม คือการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบใหม่ 2) ปัญหาด้านทักษะทางสังคม คือการเน้นการเข้ากลุ่มเล็กหรือเพื่อนที่สนิท 3) ปัญหาด้านแนวโน้มพฤติกรรมต่อต้านสังคม คือกฎระเบียบที่ส่งผลต่อการเงินของผู้สูงอายุ 4) ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัญหาเขตชุมชนเมืองคือช่องว่างระหว่างวัย ส่วนเขตชุมชนชนบทคือความรู้สึกเหงา 5) ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในสถาบัน/ชมรม/กลุ่มสังคม คือ คำสั่งที่ต้องลงทุน และยังไม่คุ้นเคยกับการเข้ากลุ่มใหญ่ 6) ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในชุมชนที่อยู่อาศัย คือความไม่เข้าใจกันกับสมาชิกในชุมชน
วิธีการแก้ปัญหาในการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบทในปัจจุบัน ประกอบด้วย ด้านจิตใจคือ 1) มีสติในการใช้ชีวิต 2) ปล่อยวาง 3) มองโลกในแง่ดี 4) เป็นมิตร 5) ควบคุมอารมณ์เวลาเข้าสังคม 6) ช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น 7) ปรับการวางตัวไม่อยู่เหนือคนอื่น 8) ปรับทุกข์กับเพื่อนเวลามีปัญหา ส่วนของด้านกายภาพคือ 1) หางานอดิเรกและงานสันทนาการทำ 2) ร่วมกิจกรรมนอกบ้าน 3) ใช้ชีวิตแบบพอเพียง และ 4) หารายได้เสริม
The objectives of this research article were to (1) study the context of elderly social adaptation in urban and rural communities and (2) study the solutions to the social adaptation problem of the elderly in urban and rural communities at present. The key informants are elderly people aged 60 years and who live in Bang Khu Rath Subdistrict, Amphur Bangbuathong, Nonthaburi and Nong Mu Subdistrict, Amphur Wiharndeang, Saraburi, total of 54 people in these 2 areas, were in-depth interviewed on social adaptation. Content analysis was applied to analyze the data.
The result of the study found that the context of elderly social adaptation in urban and rural communities consisted of 1) the problem of Social Standards is the new rules and regulations, 2) the problem of Social Skills is being stuck with groups/close friends, 3) the problem of the trend of anti-social behavior is the rules that affect the elderly's finances, 4) the problem of Family relationships of the urban community is the generation gap and the problem of rural community is loneliness, 5) the problem of Relationships in institutions is the order that must be invested and not familiar to join with big group, 6) the problem of Relationship in the residential community is the misunderstanding with village members.
For solutions that the elderly people use social adaptation currently in both areas consisted of the mental aspects are 1) Being mindful in life 2) Letting it go 3) Being Optimistic 4) Being Friendly 5) Controlling emotions when socializing 6) Helping & Sharing to others 7) Adjusting one's distancing and 8) Recount his/her tale of woe with friends. The physical aspects are 1) Finding hobbies and recreational work 2) Participating in outdoor activities 3) Living a self-sufficient lifestyle, and 4) Earning extra income.