DSpace Repository

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาทุนทางสังคม : ศึกษาเฉพาะชุมชนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
dc.contributor.author สุเมธ มิ่งดอนไพร
dc.date.accessioned 2024-04-06T14:14:20Z
dc.date.available 2024-04-06T14:14:20Z
dc.date.issued 2003
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2003
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546. th
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาทุนทางสังคมของชุมชนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาทุนทางสังคมของชุมชนชาวอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 304 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์โดยใช้ตารางไขว้และค่าไค-สแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 31-40 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา สถานภาพสมรส เป็นผู้สมรสและอยู่ด้วยกัน ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้ต่อเดือน 6,001 บาทขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชุมชน ระหว่าง 21-40 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทุนทางสังคมในระดับให้ความสนใจในปัญหาและชักชวนคนอื่นๆ ให้ร่วมกันอนุรักษ์ทุนทางสังคม โดยกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมอนุรัก์ในระดับสูงสุด คือ การวางแผนและร่วมกิจกรรม ได้แก่ การอนุรักษ์การจัดงานประเพณีนมัสการองค์หลวงปู่ปานบางบ่อ รองลงมา คือ การอนุรักษ์การปลูกฝังคุณธรรม เรื่อง ความกตัญญูและความซื่อสัตย์ให้แก่บุตรหลาน จากกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยได้พิจารณาตัวแปรด้านเพศ อาชีพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน พบว่าตัวแปรทั้ง 4 ตัว มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมดังนี้ คือด้านเพศ ปรากฏว่า เพศชายมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ตั้งแต่ระดับการวางแผนอนุรักษ์ขึ้นไป จนถึงการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าเพศหญิง ด้านอาชีพ ปรากฏว่า อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ และอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ตั้งแต่ระดับการวางแผนอนุรักษ์ขึ้นไป จนถึงการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ด้านระดับการศึกษาพบว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงมีความสนใจ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทุนทางสังคม ตั้งแต่ระดับการวางแผนอนุรักษ์ไปจนถึงการเข้าร่วมกิจกรรม ด้านทุนทางกายภาพ ในเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำในคลองสกปรก เน่าเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของเรื่องสิ่งแวดล้อมสูงกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่า ส่วนด้านระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนพบว่า ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในชุมชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทุนทางสังคม ตั้งแต่ระดับการวางแผนอนุรักษ์ขึ้นไปจนถึงการเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้ คือ ผู้ที่อยู่อาศัยระยะเวลา 10-20 ปี มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การทำบุญในวันพระ การถือศีบ 5 อย่างเคร่งครัดในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ผู้ที่อยู่อาศัยระยะเวลา 21-30 ปี มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ด้านทุนทางกายภาพได้แก่ การเลี้ยงปลาสลิด การทำปลาสลิดตากแห้ง และการใช้แพทย์แผนโบราณในการรักษาโรค ส่วนทุนทางด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การถือศีล 5 อย่างเคร่งครัดในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ การรักท้องถิ่นด้วยการคงอยู่ในท้องถิ่น ความสามัคคีของชุมชน เช่น การขอแรงกัน (การลงแขก) ผู้ที่อยู่อาศัยระยะเวลา 31-40 ปี มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ด้านทุนทางกายภาพ ได้แก่ การใช้แพทย์แผนโบราณในการรักษาโรค ส่วนผู้ที่อยู่อาศัยระยะเวลา 40 ปีขึ้นไป มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การจัดงานประเพณีนมัสการองค์หลวงปู่ปานบางบ่อ และการปลูกฝังคุณธรรมและความซื่อสัตย์ให้แก่บุตรหลาน จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อให้ประชาชนเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมดังต่อไปนี้ 1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมของสตรีให้เพิ่มมากขึ้น 2. ส่งเสริมอาชีพให้คนอยู่ในพื้นที่ได้นานๆ จะได้มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมได้ 3. ปลูกจิตสำนึกของประชาชนในชุมชน ให้รู้สึกรักและหวงแหนทุนทางสังคมที่มีอยู่และช่วยกันรักษา ปกป้อง ร่วมถึงการช่วยกันสืบทอดสู่ลูกหลานรุ่นต่อๆ ไป 4. ต้องส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนแปลงทุนทางสังคมที่มีอยู่ในหลายๆ ด้าน ให้เป็นสินทรัพย์โดยที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมและมีผลประโยชน์ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภายใต้การบริหารที่ดี โปร่งใส่ เป็นธรรม เมื่อประชาชนมีรายได้ที่ดี พออยู่ พอกิน พอใช้ ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนและครอบครัว ก็จะทำให้ใส่ใจสนใจเรื่องอื่นๆ ซึ่งก็รวมกึงการมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมก็จะมีสูงขึ้นไปด้วย 5. ควรมีหน่วยงานโดยเฉพาะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับทุนทางสังคมเพื่อคอยให้คำแนะนำปรึกษา สนับสนุน ส่งเสริม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมที่มีอยู่ในแต่ละชุมชน โดยใช้บุคลากรหรือองค์การที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น งานพัฒนาชุมชน เกษตรอำเภอ สาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งกระจายกันอยู่ทุกอำเภอทั่วประเทศไทยอยู่แล้ว 6. ควรบรรจุวิชาทุนทางสังคมเบื้องต้นในหลักสูตรประถมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นการทำความเข้าใจ สนับสนุน ส่งเสริม และปลูกฝังให้เยาวชนได้มีความรู้และตื่นตัวตั้งแต่ยังเล็กๆ ในการเข้ามีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject Social participation -- Thailand -- Samut Prakarn. th
dc.subject บางบ่อ (สมุทรปราการ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี th
dc.subject Bang Bo (Samut Prakarn) -- Social life and customs th
dc.subject ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย -- บางบ่อ (สมุทรปราการ) th
dc.subject Local wisdom -- Thailand -- Bang Bo (Samut Prakarn) th
dc.subject ทุนทางสังคม -- ไทย -- บางบ่อ (สมุทรปราการ) th
dc.subject Social capital (Sociology) -- Thailand -- Bang Bo (Samut Prakarn) th
dc.title การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาทุนทางสังคม : ศึกษาเฉพาะชุมชนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative People' s Participation in Social Capital Keep : A Case Study of Community in Amphur Bangbo, Samutprakarn Province th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การบริหารสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account