สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เกี่ยวกับความถี่ของขนิดอาหารที่บริโภค และความถี่ของมื้อที่บริโภคอาหาร และชนิดอาหารที่ความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาบวัดพิชัยสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ศึกษาในนักเรียนภาวะอ้วน 32 คน และนักเรียนน้ำหนักปกติ 64 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2547-กุมภาพันธ์ 2548 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและทดสอบค่า Chi square test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า ชนิดอาหารที่นักเรียนภาวะอ้วนบริโภคบ่อยที่สุดในแต่ละชนิด คือ ข้าวผัดกระเพรา แฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอกทอด นมเปรี้ยว น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว และส้ม ซึ่งต่างจากชนิดอาหารที่นักเรียนน้ำหนักปกติบริโภค คือ ข้าวไข่เจียว แขนด์วิซ ไก่ย่าง และนมจืด ส่วนกลุ่ม เครื่องดื่ม ขนมหวาน และผลไม้ บริโภคเหมือนกับกลุ่มนักเรียนภาวะอ้วน ความถี่ของมื้ออาหารแต่ละชนิดที่บริโภค นักเรียนภาวะอ้วนและน้ำหนักปกติ บริโภคอาหารทุกชนิดกระจายอยู่ทุกมื้อคล้ายคลึงกัน ชนิดอาหารที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับภาวะอ้วน คือ หมูทอดและกล้วย ที่ p-value 0.01 และ 0.03 ข้อเสนอในการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและชนิดอาหารที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วน ควรใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกและเพิ่มจำนวนกลุ่มอตัวอย่าง
A descriptive analytical study was carried out in 32 obesed students and 64 normal students to describe the eating behaviors and to analyse the relationships between kind of foods consumed and obesity. All studied students were at the fourth Prathomsuksa, Watpichaisongkram Kindergarden, Samutprakarn Province. Data were collected during December 2004 to February 2005 by questionnaires, and analysed by SPSS (Version 9) α = 0.05. Results showed that the most frequently eaten foods in obesed students included kawpadkrapraw, hamburger, fried sausages and yogurt while normal students, in a week, consumed rice with omelette, sandwiches, fried chicken and fresh milk. Both groups took similar soft drink, dessert, and fruit. In addition, both groups consumed in a week every kind of foods in every meal. The foods that were significantly related to obesity in the studied students were toasted pork (p=0.01) and banana (p=0.03). Results suggested that food consumption and kind of foods related to obesity should further be studied by increasing of sample size and collecting data by in-depth interview.