DSpace Repository

การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล
dc.contributor.advisor Saovalug Luksamijarulkul
dc.contributor.author กิตติภณ คล้ายเจ๊ก
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
dc.date.accessioned 2024-04-07T03:04:36Z
dc.date.available 2024-04-07T03:04:36Z
dc.date.issued 2005
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2013
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.) (การจัดการระบบสุขภาพ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548 th
dc.description.abstract สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาในประชากร 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเจ้าหน้าที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 2 คน และ 2) กลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขที่เป็นเจ้าของและที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มประชากรแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2548 จากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ด้วยแบบบันทึก และแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ และคำนวณค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีกยาคุมกำเนิน ทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย และฉีดวัคซีน/ซีรั่ม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้สัมผัสโรค แต่กิจกรรมดังกล่าวยังต่ำกว่าเป้าหมาย มีระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า มีการประชาสัมพันธ์และประสานงานการควบคุมโรคกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด แต่ขาดการตรวจสอบจากหน่วยงานส่วนกลาง มีการอบรมอาสาสมัครปศุสัตว์ 510 ราย (เกินเป้าหมาย) มีปัญหาการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า คือ สุนัขที่ไม่มีเจ้าของ มีการฉีดวัคซีน การฉีดยาคุมกำเนิน และการทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย เพียงร้อยละ 30 พบว่า กลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขที่เป็นเจ้าของมีความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและการควบคุมโรค มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ยาคุมกำเนิด และทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมียสูงกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ ซึ่งหากมีการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไป ควรศึกษาการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าที่ไม่มีเจ้าของเป็นหลัก เพราะเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการควบคุมโรค th
dc.description.abstract This is a descriptive study to evaluate the management of the rabies control program in Samutprakarn Province. Two groups of population, 44 dog owners and 16 care – takers of wandering dogs were studies. Data were also collected from 2 technicians from provincial livestock office who are responsible for rabies epidemic control. The data were obtained by document analysis and questionnaires designed for this study. Duration of data collection between February-March 2005. Analysis the data with frequency differentiation and percentage calculation. The findings of studies are as followed. Rabies vaccination, birth control with hormone injection and spaying in the bitches and castration in the male dogs were carried out. One (s) who exposed to the rabies was immunized with vaccine and immune serum. Rabies investigation system was applied over the province. This included information propaganda against rabies, coordinating each other among the rabies unites and municipal authorities who had participated in the rabies control program. In term of planning and operation, training of livestock volunteer covered up to 510 persons (exceeded the target), but the rabies vaccination rate was under the target. Birth control (with hormones injection), spaying in the bitches, castration in male dogs and with the vaccine and immunization of exposed subjects were carried out but not so successfully. The main problems are only 30% of strayed dogs were treated by vaccination and birth control program. The rabies control program by the provincial livestock officers and municipal authorities was operated without any connection with central, birth control with hormones injection, spaying in the bitches and castration in the male dogs raised by the owner are higher than wandering dogs raised by the others. From this study, it is suggested that the next study should pat attention on the management of the rabies control in the strayed dogs to solve the problem in rabies control. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject โรคพิษสุนัขบ้า -- ไทย -- สมุทรปราการ. th
dc.subject Rabies -- Thailand -- Samut Prakarn th
dc.subject โรคพิษสุนัขบ้า -- การป้องกัน th
dc.subject Rabies -- Prevention th
dc.title การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative Management of the Rabies Control Program in Samutprakarn Province th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการระบบสุขภาพ th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account