Abstract:
การจัดบริการสาธารณะถือเป็นการกิจที่สำคัญประการหนึ่งของรัฐสมัยใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการเพื่อ
ประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนกายในรัฐ โดยในการจัดบริการสาธารณะของรัฐนั้น มีหลักการพื้นฐานสำคัญที่รัฐต้องคำนึงถึงประการหนึ่งคือ "หลักความเสมอภาค" ซึ่งจะเป็นหลักประกันแก่ประชาชนทุกคนภายในรัฐว่า ในการจัดบริการสาธารณะนั้น รัฐมิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะจัดทำบริการสาธารณะขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการจัดทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน อันหมายรวมถึงคนพิการด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสาธารณะให้กับคนพิการในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นก็มีแนวคิดที่สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ได้มีการนำมุมมองเชิงโมเดลหรือรูปแบบระบบทางสังคม (Social Model) มาอธิบายและปรับใช้ในการให้คำนิยามความหมายของคำว่า "ความพิการ" ตลอดจนนำไปสู่หลักการที่รัฐต้องจัดบริการสารารณะให้แก่คนพิการเท่าเทียมกับบุดคลทั่วไป โดยจากแต่เดิมที่สังคมมักมองว่าความพิการเกิดจากความบกพร่อง หรือความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจของบุคคลแต่ละคน ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นแนวคิดที่ว่า สภาพแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกที่สังคมสร้างขึ้นต่างหาก ที่จะเป็นสาเหตุสำคัญในการอธิบายว่าบุคคลคนหนึ่งจะเป็นผู้พิการหรือไม่ ดังนั้น หากสังคมและรัฐได้ดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมภายในรัฐให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนพิการแล้ว ก็จะทำให้คนพิการได้รับสิทธิเสริภาพในการเข้าถึงบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอภาคเช่นเดียวกับคนทั่วไป