DSpace Repository

การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุภรัฐ หงษ์มณี
dc.contributor.author คำนึง ธรรมสุข
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-04-27T15:07:29Z
dc.date.available 2024-04-27T15:07:29Z
dc.date.issued 2002
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2076
dc.description ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 th
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการพัฒนาตำบลชอง อบต. รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเป็นสมาชิกชมรม การเข้าร่วมกิจกรรมและสภาพความเป็นชนบทและเมืองของพื้นที่ อบต. ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการพัฒนาตำบลของ อบต. ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 360 คนจาก อบต. 9 แห่ง โดยใช้แบบวัดในแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทัศนคติความพึงพอใจต่อการทำงานของ อบต. และข้อมูลการมีส่วนร่วมในโครงการของ อบต. เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลครบถ้วน จึงนำมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย และใช้ค่าสถิติไคแสควร์ ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง การเป็นสมาชิกชมรม การเข้าร่วมกิจกรรม และสภาพความเป็นชนบทและเมืองของพื้นที่ อบต. ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมโดยใช้ค่าสถิติการถดถอยพหุคูณ ซึ่งการศึกษาพบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 38.4 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา - ปวช. โดยมีรายได้ต่อเดือนระดับปานกลางเฉลี่ยเท่ากับ 10,544.40 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมหรือรับบริการจาก อบต. โดยในรอบปีที่ผ่านมาประชาชนมีการติดต่อประสานงานกับ อบต. เฉลี่ยคนละ 1 ครั้งต่อปี และมีผู้ไม่เคยติดต่อกับ อบต. เลยจำนวนมากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมต่างๆ ของ อบต. จากการศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อ อบต. โดยรวมนั้นอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ประชาชนมีความพึงพอใจต่อ อบต. ด้านการบริหารงานของ อบต. สูงสุด รองลงมา คือ ความพึงพอใจด้านการให้บริการของ อบต. ความพึงพอใจด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของ อบต. ความพึงพอใจด้านผู้บริหาร อบต. ความพึงพอใจด้านความรับผิดชอบในการทำงาน/โครงการของ อบต. โดยมีความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ อบต. น้อยที่สุด การวัดระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับ อบต. โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และจำแนกการมีส่วนร่วมในรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามโครงการการมีส่วนร่วมในการวางแผนโครงการ และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกลุ่มกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการของ อบต. พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรม การเป็นสมาชิกชมรม มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยประชาชนที่เคยเข้าร่วมกับกิจกรรมหรือร่วมงานกับ อบต. และประชาชนที่เป็นสมาชิกชมรมของ อบต. จะมีระดับการเข้ามีส่วนร่วม มากกว่าผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกชมรมหรือผู้ไม่เคยเข้าร่วมโครงการ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่อาศัยในเขตเมืองหรือเขตชนบทกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อ อบต. ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการของ อบต. พบตัวแปร 5 ตัว คือ รายได้ ความพึงพอใจด้านการบริหารงาน ความพึงพอใจด้านการให้บริการ ความพึงพอใจด้านความรับผิดชอบในการทำงานหรือโครงการ และความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ อบต. ที่มีอิทธิพลต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะหน่วยงาน อบต. ควรให้ความสำคัญแก่งานประชาสัมพันธ์ การรณรงค์สร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนท้องถิ่นของตนเองให้มากขึ้น สร้างประสิทธิภาพการทำงานโดยปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงรุกเข้าสู่ประชาชนมากกว่านี้เพื่อสร้างความใกล้ชิด ความรู้สึกที่ดีระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ อบต. และควรพัฒนาเพิ่มศักยภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และผู้บริหาร อบต. โดยเปิดโอกาสในการแสวงหาความรู้ การยกระดับการศึกษาเพิ่มเติม การฝึกอบรม เพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้แก่องค์กร รวมทั้ง อบต. ควรสร้างความโปร่งใสในการทำงาน การดำเนินโครงการ ตลอดจนมีการติดตามตรวจสอบโรงการ และควรเพิ่มการประสานการทำงานร่วมกันระหว่าง อบต. ต่างๆ การแลกเปลี่ยนช่วยเหลือด้านบุคลากร อุปกรณ์ ซึ่งจะสามารถสร้างความสำเร็จของงานได้เพิ่มขึ้น มีข้อเสนอแนะต่องานวิจัยครั้งต่อไปว่าควรทำการศึกษาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมหรือวางแนวทางการเข้ามีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ในการเข้ามีส่วนร่วมดำเนินโครงการของ อบต. และควรทำการวิจัยเปรียบเทียบประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนระหว่าง อบต. ที่ประสบความสำเร็จกับ อบต. ที่ไม่ได้รับความสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วม ควรทำการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการสร้างการมีส่วนร่วมจากมุมมองของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร อบต. เพื่อเป็นข้อมูลในการเสนอแนวคิดการมีส่วนร่วมในทุกระดับ th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject องค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject Subdistrict Administrative Organization -- Thailand -- Samut Prakarn th
dc.subject การปกครองท้องถิ่น th
dc.subject Local government th
dc.subject การมีส่วนร่วมของประชาชน th
dc.subject Political participation th
dc.subject การพัฒนาชุมชน th
dc.subject Community development th
dc.title การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative People's Participation in the Development Project of Sub-district Administration Organization : A Case Study of Samut Prakarn Province th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account