DSpace Repository

การศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ : สถานภาพที่เป็นจริงและความต้องการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor โชคชัย สุทธาเวศ
dc.contributor.advisor Chokchai Suttawet
dc.contributor.author คำนวณ หลีเสงี่ยม
dc.contributor.author Kamnuan Leesangiam
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-04-27T15:17:31Z
dc.date.available 2024-04-27T15:17:31Z
dc.date.issued 1998
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2077
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 th
dc.description.abstract การศึกษาถึงสถานภาพที่เป็นจริงและความต้องการการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีสถานภาพส่วนบุคคลต่างกันมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้ใช้แรงงานความต้องการในรูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความคาดหวังในอนาคตทางการศึกษา อาชีพและการได้รับประโยชน์จากการศึกษาทั้งในด้านการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าต่อการงานภายหลังสำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดสมุทรปราการร ที่เข้ารับบริการการศึกษา และผู้ใช้แรงงานที่สำเร็จการศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 365 คน จากศูนย์บริการจำนวน 6 ศูนย์ 94 หน่วยบริการ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ และแบบประมาณค่าห้าตัวเลือก ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ผู้ใช้แรงงานที่เข้าร่วมการศึกษานอกระบบโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สายสามัญ แบบเรียนทางไกล ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานหญิง โสด อายุต่ำกว่า 30 ปี มีรายได้เฉลี่ยระหว่าง 5,000-7,000 บาท เป็นแรงงานที่อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าร้อยละ 50 ได้เข้าศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนหลักสูตรมัธยมศึกษา ที่เปิดบริการในสถานประกอบการและนอกสถานประกอบการที่เป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จากการศึกษาถึงสถานภาพและความต้องการ การศึกษาของผู้ใช้แรงงานเหล่านี้ พบว่า 1. ประโยชน์ของการสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ใช้แรงงานโดยส่วนรวมได้ใช้วุฒิทางการศึกษาเพื่อศึกษาต่อไปในระดับสูงขึ้นไป และพัฒนาตนเองในด้านการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต มีผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่มากที่ได้รับการเพิ่มเงินเดือนและเปลี่ยนตำแหน่งทางหน้าที่การงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ทั้งนี้ เพราะผู้ใช้แรงงานเข้าศึกษาโดยไม่มีเงื่อนไขตกลงไว้กับสถานประกอบการ 2. ความก้าวหน้าในหน้าที่ภายหลังสำเร็จการศึกษา มีสถานประกอบการจำนวนไม่มากที่ได้ดำเนินการในความก้าวหน้าทางอาชีพของผู้ใช้แรงงาน เช่น ในรูปของการสนับสนุนให้ศึกษาต่อขึ้นไป เพิ่มเงินเดือน และเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นไป ความคาดหวังของผู้ใช้แรงงานในด้านนี้อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าผู้ใช้แรงงานดังกล่าวยังไม่สามารถสร้างหรือมีเงื่อนไขตกลงกับสถานประกอบการในเรื่องการเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3. ความต้องการการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้ใช้แรงงาน โดยส่วนรวมมีความต้องการการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่จัดในสถานประกอบการหรือสถานที่สถานประกอบการสนับสนุนโดยมีเหตุผลสำคัญที่สุด คือ มั่นใจว่าเข้าเรียนแล้วสำเร็จการศึกษา ในอีกส่วนหนึ่ง คือ ได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการให้เข้าศึกษา การสนับสนุนอาจจะอยู่ในรูปวัตถุหรือการให้เงื่อนไข ข้อตกลง จากการศึกษายังพบอีกว่าค่าใช้จ่ายในการศึกษาผู้ใช้แรงงานที่เข้าร่วมศึกษาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาเอง แต่มีสถานประกอบการให้การสนับสนุนบ้างทั้งในด้านการเงิน อุปกรณ์การศึกษา และการผ่อนผันระยะเวลาในการทำงาน / เลิกงานในระหว่างเข้ารับการศึกษา 4. ความคาดหวังในระดับการศึกษาสูงสุดในอนาคต คือ ระดับชั้นมัธยมศึกษา รองลงมา คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรี โดยรอโอกาศที่เหมาะสม ในด้านความต้องการทักษะอาชีพ ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ต้องการได้รับการฝึกอาชีพเพิ่มเติมในระยะสั้น มีผู้ใช้แรงงานส่วนมากมีความคาดหวังว่าจะมีความก้าวหน้าทางการงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผลจากการวิจัยครั้งนี้ พอที่จะยืนยันได้ว่าผู้ใช้แรงงานไทยต้องการที่จะพัฒนาตนเองในด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับสูงขึ้นไปเพื่อพัฒนาไปสู่แรงงานที่มีระดับฝีมือ โดยใช้บริการทางการศึกษาจากการศึกษานอกโรงเรียนเป็นการต่อวงจรการศึกษา จึงควรที่ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพแรงงานให้ความร่วมมือและสนับสนุนให้ผู้ใช้แรงงานได้พัฒนาคุณภาพชีวิตทางการศึกษาไปจนถึงระดับสูงสุดที่เขาต้องการ โดยผู้วิจัยขอเสนอแนะแนวทางในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับผู้ใช้แรงงานดังต่อไปนี้ 1. ในระดับสถานประกอบการหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบในการศึกษาของบุคลากร ควรสร้างตัวแทนหรือผู้ประสานงานในสถานประกอบการที่พอจะให้แนวทางหรือคำแนะนำเรื่องการศึกษานอกระบบโรงเรียนแก่ผู้ใช้แรงงาน โดยควรมีตัวแทนทุกสถานประกอบการ ทั้งนี้ควรมีการติดตามผลการศึกษา และการดำเนินการภายหลังการศึกษาด้วย 2. ในส่วนของการศึกษานอกระบบโรงเรียน ควรประสานงานกับองค์กรต่างๆ ที่พิทักษ์สิทธิของผู้ใช้แรงงาน เช่น สหภาพแรงงาน ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนให้แก่ผู้ใช้แรงงาน โดยกระจายไปอย่างทั่วถึง 3. ในระดับนโยบาย รัฐควรจัดวางความสำคัญของการศึกษาผู้ใช้แรงงานอยู่ในระดับนโยบายที่เอื้ออำนวยมาตรการให้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานต่อเนื่อง และไม่ฝากเรียนไว้กับหน่วยงานต่างๆ ที่ไม่ได้รับผิดชอบต่อการศึกษาของผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การศึกษานอกระบบโรงเรียน th
dc.subject Non-formal education th
dc.subject การศึกษาผู้ใหญ่ th
dc.subject Adult education th
dc.subject แรงงาน -- ไทย th
dc.subject Labor -- Thailand th
dc.subject โรงงาน -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject Factories -- Thailand -- Samut Prakarn. th
dc.subject การพัฒนาอาชีพ th
dc.subject Career development th
dc.title การศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ : สถานภาพที่เป็นจริงและความต้องการ th
dc.title.alternative A Study on Nonformal Education of Industrial Workers in Samutprakan Province : Situation and Needs th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account