ยาชื่อพ้องมองคล้ายเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยา ซึ่งผูกโยงกับความปลอดภัย ในทุกขั้นตอนของการใช้ยาของผู้ป่วย ทั้งผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก การรับยาจากร้านยาและในการเลือกใช้ยาด้วยตนเอง สําหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขจัดให้ยาชื่อพ้องมองคล้ายเป็นหนึ่งในสามของประเด็นความปลอดภัยด้านยา ตามประกาศในนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยระดับชาติ พ.ศ.2550-2551 แต่จนถึงปัจจุบัน การพัฒนาการศึกษาและการแก้ปัญหาส่วนใหญ่ยังจํากัดเฉพาะภายในโรงพยาบาล ในส่วนของการแก้ปัญหาเชิงระบบนั้น ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมในระบบและกลไกสนับสนุนสําคัญหลายอย่างเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาเชิงระบบ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีการศึกษาปัญหายาชื่อพ้อง มองคล้ายในหลากหลายมิติมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงความสําคัญของปัญหา ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดการเชิงนโยบายเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาเชิงระบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในการใช้ยา
Look-alike sound-alike drug problems may cause medication errors that affect patient safety. Confusion may occur at every stage of the medication use process in inpatient, outpatient, drugstore and self-medication situations. Ministry of Public Health (Thailand) has established look-alike sound-alike drug problems as one of the three main issues for actions in medication safety, as announced in the National Patient Safety Goal 2007-2008. The development of problem solving and research is limited to the hospital level, other levels found lacking system and support mechanisms for look-alike sound- alike drug problems. A multidimensional study should be conducted that builds awareness of the importance of the problems and promote policy to drive systematic solutions to ensure medication safety.