DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตอันเกิดจากภาวะถดถอยจากสังคมและการร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุชาวพุทธ : ศึกษากรณีผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.author อรวรรณ ฉ่ำชื่น
dc.contributor.author Orawan Chamchuen
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2022-05-04T03:55:37Z
dc.date.available 2022-05-04T03:55:37Z
dc.date.issued 1998
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/214
dc.description วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 th
dc.description.abstract การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะถดถอยจากสังคมของผู้สูงอายุชาวพุทธในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะถดถอยจากสังคมของผู้สูงอายุชาวพุทธในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะถดถอยจากสังคมและเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกถดถอยจากสังคม ของผู้สูงอายุชาวพุทธในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยคำนึงถึงตัวแปรด้าน เพศ อายุ การศึกษา อาชีพเดิม สุขภาพ การอาศัยในเขตพื้นที่ ลักษณะการอยู่อาศัย จำนวนสมาชิกในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ ทัศนคติต่อการสูงอายุ ทัศนคติต่อตนเอง การเชื่ออำนาจในตนเอง ความเชื่อการปฏิบัติทางพุทธและวิถีชีวิตแบบพุทธ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 310 คน ได้แก่ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร จำนวน 157 คน และปริมณฑล จำนวน 143 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Oneway Analysis of Variance) และสถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย (Percentage and Means) ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุเพศชายหญิง มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ย 68.2 ปี มีสถานภาพเป็น ผู้สมรสและอยู่ร่วมกัน มีการศึกษาระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา มีสุขภาพค่อนข้างแข็งแรง มีลักษณะการอยู่อาศัยแบบมีเพื่อนบ้านหรืออยู่ร่วมชุมชน และจำนวนสมาชิกเฉลี่ยครอบครัวละ 4.8 คน และฐานะทางเศรษฐกิจและการเงิน พบว่าอาชีพเดิมของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ คือธุรกิจส่วนตัวหรือค้าขาย และยังคงประกอบอาชีพ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 7,738 บาท ส่วนใหญ่มีรายได้มาจากการทำงานของตนเอง แต่ไม่ได้เป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัว ผลการศึกษาภาวะถดถอยจากสังคมของผู้สูงอายุชาวพุทธ พบว่า ผู้สูงอายุจะมีการถดถอยออกจากสังคม ใน 2 ลักษณะคือ ถดถอยจากสังคมด้วยความเต็มใจ และไม่ต้องการถดถอยออกจากสังคมโดยผู้สูงอายุกลุ่มนี้ต้องมีกิจกรรมมารองรับในการถอนตัวจากสังคม ส่วนผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะถดถอยจากสังคมของผู้สูงอายุชาวพุทธมีคือทัศนคติต่อการสูงอายุ รายได้ การเชื่ออำนาจในตนเองของผู้สูงอายุ สุขภาพ และเขตพื้นที่ ซึ่งตัวแปรที่สำคัญที่เป็นอิทธิพลต่อภาวะถดถอยจากสังคมของผู้สูงอายุ คือ การเป็นผู้ที่สุขภาพดี มีเขตพื้นที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จะมีการถดถอยจากสังคมได้ดี ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุชาวพุทธ กับการร่วมกิจกรรมทางศาสนา พบว่ามี 7 ปัจจัย คือทัศนคติที่มีต่อการสูงอายุ ทัศนคติที่ดีต่อตนเอง การเชื่ออำนาจในตนเอง การยอมรับการเปลี่ยนแปลง (การถดถอยจากสังคม) มีอายุน้อย ร่วมกิจกรรมทางศาสนายังคงประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเอง ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุชาวพุทธกับการร่วมกิจกรรมทางสังคม พบว่ามี 5 ปัจจัยดังนี้คือ การมีทัศนคติที่ดีต่อการสูงอายุ ทัศนคติต่อตนเอง การเชื่ออำนาจในตนเอง การยอมรับการเปลี่ยนแปลง (การถดถอยจากสังคม) และมีอายุน้อย ซึ่งจะเห็นว่าการร่วมกิจกรรมทางสังคมไม่มีผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ซึ่งตรงกันข้ามกับการร่วมกิจกรรม ทางศาสนาที่พบว่ามีผลโดยตรงกับความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย และกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุรวมทั้งองค์กรหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนจัดการดูแลผู้สูงอายุเพื่อหาแนวทางมาตรการในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ผู้ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญและมีคุณค่าต่อสังคมไทย ให้ได้มีความสุขอย่างแท้จริงในบั้นปลายของชีวิต th
dc.description.abstract This research aimed to study the factors effecting life satisfaction due to disengagement and activity participation of the Buddhist elderly in Bangkok Metropolitan and its suburban provinces, Samut-Prakan and Chachuengsao. Data was collected from 310 samples 157 from Bangkok and 143 from suburbs, It’s analyzed by SPSS PC+ computer program, using descriptives analysis, stepwise multiple regression and one-way analysis of variance for statistical analysis. The results showed the percentage of elderly men and women were of the same proportion . They were approximately 68.2 years old, married and lived together. Mostly finished primary and secondary levels. They were generally healthy. Lived in community surrounding (among friends and neighbors) with about 4.8 persons in the families. The major ‘previous careers’ were businesspersons and merchants. Most of their income was from self employment though it was not the main family income. From the results, there were 2 kinds of disengagement form society: with and without pleasure. Who disengaged without pleasure, they needed to be encouraged by activities. The important factors effecting disengagement of the Buddhist elderly were attitude towards aging, income, belief in internal locus of control, health, and city residing. Elderly disengaged happily mostly were healthy and lived in city. To study factors effecting the involving in 2 types of activities, religious and social; the finding found that the belief, practice in Buddhism and lived in Buddhist way of lives encouraged elderly to joined religious activities while good attitude towards oneself and absolutely retirement from work encouraged those who joined social activities. To study elderly’s life satisfaction through activities, the findings were as follow: - Through religious activities; 7 factors, which were good attitudes towards aging and oneself, belief in internal locus of control, well disengagement, young aging, participation in religious activities and working still, influenced elderly to be satisfied in lives. - Through social activities; 5 factors, which were good attitudes towards aging and oneself, belief in internal locus of control, well disengagement and young aging, influenced elderly to be satisfied in lives. From the results of the study, it was concluded that, good attitudes towards aging encouraged elderly to be well disengaged form society which meaned they were able to accept changes in lives, all in physical, social and mental changes. It was also confirmed that, without religious activities, social activities alone would not provide life satisfactory to elderly people. The suggestion from the results of this study is that organizations concerning elderly should provide appropriate associations or centers and activities for elderly in order that they could live happily in the less of their lives. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา) ในผู้สูงอายุ th
dc.subject การรับรู้ทางสังคมในผู้สูงอายุ th
dc.subject Adjustment (Psychology) in old age th
dc.subject Social perception in old age th
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต th
dc.subject Older people -- Conduct of life th
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตอันเกิดจากภาวะถดถอยจากสังคมและการร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุชาวพุทธ : ศึกษากรณีผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล th
dc.title.alternative Factors Effecting Life Satisfaction Due Disengagement and Activity Participation of Buddist Elderly in Bangkok Metropolitan and Its Suburbs th
dc.type Thesis th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account