การติดตามและประเมินผลโครงการเมืองที่เป็นมิตรสำหรับคนพิการและคนทั้งมวล มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อติดตามประเมินผลโครงการเมืองที่เป็นมิตรสำหรับคนพิการและคนทั้งมวล ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำปีงบประมาณ 2562 เพื่อนำข้อมูลมาประมวลวิเคราะห์และสะท้อนกลับอย่าง เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถรับรู้สถานการณ์ที่เป็นจริงด้านปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ และ/ หรือความไม่สำเร็จของโครงการ และเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะการขับเคลื่อนโครงการเมืองที่เป็นมิตรสำหรับคนพิการ และคนทั้งมวล แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การติดตามและประเมินผลใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการคนพิการจังหวัด เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการเมืองที่เป็นมิตรสำหรับคนพิการและคนทั้งมวล นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการในตำบลที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตำบลนำร่องของโครงการเมืองที่เป็นมิตรสำหรับคนพิการและคนทั้งมวล และการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านคนพิการในตำบลนำร่อง ผลการติดตาม พบว่า ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดนำร่อง 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พิษณุโลก นนทบุรึ ชลบุรี ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และกระบี่ มีบทบาทในการเป็นผู้ประสานงานให้คนพิการในจังหวัดเข้าถึงสิทธิ์ทั้ง ด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพ การจ้างงาน และบริการสวัสดิการทางสังคมตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ผู้บริหาร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านคนพิการมีความใส่ใจคนพิการในพื้นที่มาก มีการประสานงาน และมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ดูแลคนพิการอย่างสม่ำเสมอ แต่ในด้านการจ้างงาน และการอนุมัติเงินกู้ให้คนพิการ บางจังหวัดมีสถิติลดลง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการควรมีนโยบายสนับสนุนจังหวัดนำร่องทั้ง 8 จังหวัดให้เกิดรูปธรรมของการเป็นเมืองที่เป็นมิตรสำหรับคนพิการและคนทั้งมวลให้ชัดเจน โดยเฉพาะ การจัดอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ 5 ด้าน ได้แก่ ทางลาด ที่จอดรถ ห้องนำ ป้ายสัญลักษณ์ และการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่คนพิการ ควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของทุกจังหวัดให้สามารถนำข้อมูลคนพิการรายบุคคลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เอื้อต่อ การดำรงชีวิตของคนพิการในระดับจังหวัดและระดับตำบล โดยการการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกจังหวัดในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อคนพิการอย่างเป็นรูปธรรม ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรคน พิการมีความเข้มแข็ง และผ่านมาตรฐานได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรคนพิการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรสำหรับคนพิการและคนทั้งมวลทั้งในระดับตำบลและระดับจังหวัดได้มากขึ้น
The purpose of monitoring and evaluation smile city for all project was three-fold: (1) to monitor and evaluate efficiency, effectiveness, output, outcome of Smile City for All Project under Empowerment of Persons with Disabilities Department in 2019 fiscal year, (2) to analyze data and feedback updated data to the people concerned, and (3) to suggest organization concerned to adjust and develop flagship project becoming more efficient. Qualitative research methodology was employed by using in-depth interview the Director of Provincial Disability Services Center and officer who responsible smile city for all project, Chief Executive of Sub-district Administrative Organization (SAO) and staff in the areas where was selected as the pilot of smile city for all project including field visit the persons with disabilities' house. The result of the study was Provincial Disability Services Center in 8 pilot provinces namely Chiang Mai, Phitsanulok, Nonthaburi, Chonburi, Khon Kaen, Udon Thani, Songkhla, and Krabi had been helped persons with disabilities to access medical service, education, occupation, employment, and social welfare services. Chief Executive of SAOs and staff provided good take care to PWDs by coordinating with Village Health Volunteer (VHV) to take care of persons with disabilities (PWDs) in the local area. However, the statistic of employment and loan approval for PWDs in some pilot provinces was decreased. Researcher suggests the Department of Empowerment of Persons with Disabilities should fully support 8 pilot provinces to obviously smile city for all especially 5 facilities namely ramp for mobility disabled, car parking, lavatory, disabled person sign, and information center for PWDs. Database of all provinces should be developed to facilitate the storage, retrieval, modification, and deletion for developing the quality of life of PWDs. Innovation for independent living of PWDs at a sub-district level should be developed by coordinating with organizations both internal and external province. Persons with disabilities' organizations (PDOs) should be strengthened to help PWDOs pass standard criteria which would help PDOs to participate in creating quality of smile city for all in sub-districts and province levels