การวิจัยนี้ต้องการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรักษาวินัยของข้าราชการตำรวจ โดยใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือตำรวจจากกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น และดัดแปลงจากแบบวัดอื่น ๆ ประกอบด้วยแบบวัดด้านสุขภาพจิต ทัศนคติ การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม แรงสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดพฤติกรรมการรักษาวินัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 337 คน เป็นชั้นสัญญาบัตร 96 คน ผบ.หมู่-ลูกแถว 241 คน ส่วนใหญ่อายุ 21-30 ปี จบมัธยมศึกษาตอนปลาย รายได้ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 7,000 บาทและอายุราชการส่วนใหญ่ 1-10 ปีด้านสุขภาพจิต ข้าราชการตำรวจมีสุขภาพจิตค่อนข้างดี ในระดับสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และพบว่าความแตกต่างในตำแหน่ง อายุ ระดับการศึกษา รายได้ หน่วยงานที่สังกัด ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและลักษณะการปฏิบัติงานสัมผัสประชาชน มีผลทำให้สุขภาพจิตต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้านการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ พบว่าอยู่ในระดับการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยหน่วยงานที่สังกัด ระดับการศึกษาและรายได้ มีผลให้ระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้านทัศนคติต่องานของข้าราชการตำรวจ อยู่ในระดับค่อนข้างดี เมื่อพิจารณาเป็นรายได้จะเห็นได้ว่าข้าราชการตำรวจ มีทัศนคติด้านการมีความรู้สึกที่ดีต่องานสูงสุด โดยหน่วยงานที่สังกัด รายได้ลักษณะการปฎิบัติหน้าที่สัมผัสประชาชน และระดับการศึกษา มีผลให้ระดับทัศนคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้านแรงสนับสนุนทางสังคมของข้าราชการตำรวจ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีแรงสนับสนุนจากครอบครัวสูงสุด และหน่วยงานที่ข้าราชการตำรวจสังกัด รายได้ และลักษณะการปฏิบัติหน้าที่สัมผัสประชาชน มีผลให้แรงสนับสนุนทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้านพฤติกรรมการรักษาวินัยของข้าราชการตำรวจ อยู่ในระดับค่อนข้างดี โดยมีความรู้สำนึกในหน้าที่ และตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่สูงสุด และพบว่าหน่วยงานที่ข้าราชการตำรวจสังกัด มีผลให้พฤติกรรมการรักษาวินัยของข้าราชการตำรวจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญผลการศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) พบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรักษาวินัยของตำรวจ ได้แก่ ทัศนคติต่อการปฏิบัติงาน แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนร่วมงาน การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม สุขภาพจิต แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว หน่วยงานที่สังกัด ได้แก่ข้าราชการตำรวจที่สังกัดกองกำกับการอารักขาและรักษาความปลอดภัย มีความสัมพันธ์เชิงบวก ส่วนกองกับการสุนัขตำรวจมีความสัมพันธ์เชิงลบ ซึ่งทั้ง 7 ปัจจัยสามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการรักษาวินัย ได้ร้อยละ 48.23 (R2= .48231) และมีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมรักษาวินัยของข้าราชการตำรวจในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (R= .69449)การทดสอบสมมติฐานพบว่า ทัศนคติต่อการปฏิบัติงาน การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม สุขภาพจิตและแรงสนับสนุนทางสังคมมีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมการรักษาวินัยของข้าราชการตำรวจ ส่วนปัจจัยทางชีวสังคม คือ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ ตำแหน่ง รายได้ และลักษณะการปฏิบัติงานสัมผัสประชาชน มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมดังกล่าวข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ ซึ่งจะส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมการรักษาวินัยของข้าราชการตำรวจก็คือ กรมตำรวจควรปรับปรุงด้านการศึกษา รายได้และสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจมีสุขภาพจิต ทัศนคติ และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมดีขึ้น ส่งเสริมด้านกิจกรรมนันทนาการ เพื่อลดความตึงเครียดอันจะส่งผลบวกต่อสุขภาพจิต ตลอดจนเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา และควรพิจารณาให้มีการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน่วยงานที่สังกัดตามความสมัครใจ โดยพิจารณาควบคู่ไปกับประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในสายงานประกอบ
This research aims to study the factors effected disciplinary practice of the police officers with 337 samples from Metropolitan Patrol and Special Operations Division. Data were collected by a constructed questionnaires composed of mental health, attitude, moral reasoning, social support and a behavioral test of disciplinary practice, and analyzed by SPSS/PC computer program in form of percentage, means, one-way analysis of variance, correlation coefficient and multiple regression. The 337 samples were 96 commissioned and 241 non-commissioned police officers, mostly aged between 21-30 years, high school educational level with the average income less than 7,000 baht per month and the working period is between 1-10 years. The findings were as follows: Mental Health: Their mental health is at a quite good level. When considering the details, it is found that the scores for their mental health in terms of giving assistance to others rank highest. In addition the differences in ranks, ages, educational level, income, division belongs, working duration period and social interaction affect differently to police mental health with statistical significance. Moral Reasoning: The moral reasoning of the most sampled officers is of society’s typical standard. The personal background factors which have a statistically significant effect on moral reasoning are the division belongs, educational level and income. Attitude4s: The attitudes of the sampled officers is at a quite good level. Looking into details. It appears that their scores for job satisfaction rank highest. The personal background factors which have a statistically significant effect on attitude are the division belongs, income, social interaction and educational level.Social Support: The social support of the sampled officers is at quite a high level. When considering the details, the scores for social support from their family rank highest. The division belongs, income, and social interaction are the personal background factors which have a statistically significant effect on social support. Disciplinary Practice Behavior: The disciplinary practice behavior of the sampled officers is at a quite good level. When considering the details, the scores for awareness and recognition of duty ranks highest. The personal background factor which has a statistically significant effect on the disciplinary practice behavior is the division belongs. Based on the study by the stepwise method, 7 factors were selected to the multiple regression such as the attitude towards the execution of one’s duties, the social support from their colleagues, the moral reasoning . the mental health, the social support from their family, the division belongs such as the Security Sub-division had positive correlation. The other which is the Kanine Sub-division had negative correlation. The 7 factors had shown the variance of the officers’s disciplinary practice behavior which is 48.23 percent 48.23 (R2= .48231) and had shown the relationship with the officers’ disciplinary practice behavior about moderate to high. (R= .69449)In addition, the study had answered the hypothesis. The officers’s attiudes, mental health, social support and the division belongs were directly related to the officers’ disciplinary practice behavior whereas other personal background factors which are ages, educational level, working period, rank, income and social interaction were indirectly related. The results of this research give suggestions both direct and indirect effects on the officers’ disciplinary practice behavior. The Royal Thai Police should provide more support to the officers in terms of education, income, welfare to encourage them with better mental health, attitude and moral reasoning. In addition, recreational activities and sports will help them relax. Social support from their family, colleagues and superiors will encourage them to have better mental health. As for the officers’ divisions, appointments, promotions and rotations of the officers to other divisions should be also based on the officers’ satisfaction, as well as their experience, education, competence and skills.