การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลและป้องกันการชักจากไข้ที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลหัวเฉียว โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่นำเสนอ โดยศูนย์ปฏิบัคิการพยาบาลขั้นสูง ประเทศสหรัฐอเมริกา (Soukup, 2000) ตามขั้นตอนดังนี้ขั้นตอนแรกผู้ศึกษาทำการวิเคราะห์ปัญหาการดูแลและป้องกันการชักจากไข้ในการปฏิบัติงานและทบทวนความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ทบทวนและสืบค้นหลักฐานเขิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องได้จำนวน 19 เรื่อง นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างเป็นข้อสรุปองค์ความรู้ในภาพรวม แล้วสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลและป้องกันการชักจากไข้ ซึ่งประกอบด้ย 2 แนวปฏิบัติ คือ 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับเด็กที่มีไข้แต่ไม่มีอาการชัก แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การประเมินสภาพเด็ก ประกอบด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักจากไข้ และระยะที่ 2 การดูแลเด็กที่แผนกฉุกเฉิน แบ่งผู้ป่วยเด็กเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เด็กที่ไม่มีประวัติการชักและไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดชักจากไข้ครั้งแรก กลุ่มที่ 2 เด็กที่ไม่มีประวัติการชักแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดชักจากไข้ครั้งแรก กลุ่มที่ 3 เด็กที่มีประวัติการชักและมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดชักซ้ำไม่เกิน 2 ปัจจัย และ กลุ่มที่ 4 เด็กที่มีประวัติการชักและมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดชักซ้ำมากกว่า 2 ปัจจัย และ 2) แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับเด็กที่มีไข้และมีอาการชัก แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การประเมินสภาพเด็ก ประกอบด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การประเมินลักษณะอาการชักและการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักซ้ำจากไข้ ระยะที่ 2 การดูแลเด็กที่แผนกฉุกเฉิน แบ่งผู้ป่วยเด็กเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 5 เด็กที่มีอาการชักจากไข้ครั้งแรกและมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดชักซ้ำไม่เกิน 2 ปัจจัย และกลุ่มที่ 6 เด็กที่มีอาการชักจากไข้ครั้งแรก และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดชักซ้ำมากกว่า 2 ปัจจัย หรือเด็กที่มีอาการชักซ้ำจากไข้ หรือเด็กที่มี Complex Seizure และระยที่ 3 การดูแลเด็กในหอผู้ป่วยหรือระยะสังเกตอาการในโรงพยาบาล จากนั้นได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่านตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น และขั้นตอนที่ 3 ผู้ศึกษาได้นำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้ในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลหัวเฉียว เป็นเวลา 1 สัปดห์ ผลการทดลองใช้พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ลดความวิตกกังวลลง และสามารถดูแลเด็กที่มีไข้และป้องกันภาวะชักจากไข้ได้ เด็กไม่มีอาการชักซ้ำเกิดขึ้น พยาบาลทุกคนมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ และเกิดความมั่นใจในการดูแลเด็กและการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการดูแลเด็กที่มีไข้และอาการชักจากไข้ ข้อเสนอแนะ ควรมีการประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลและป้องกันการขักจากไข้ และปรับปรุงให้มีความทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอตามองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในภายหลัง ควรมีการบูรณาการแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการบริการของหน่วยงานปฐมภูมิซึ่งเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลหัวเฉียว และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลต่อไป
This study aims to develop clinical nursing practice guideline for promoting care and prevention of febrile convulsion (FC) at the emergency department of Hua Chiew Hospital. Evidence-based practice model of the center of advance nursing practice, United State of America (Soukup, 2000) was applied. Phase1, the investigator analyzed the problem of care and prevention of FC in the practice setting and reviewed the related new knowledge. Phase 2 was to search and review of empirical evidences. 19 Evidences were gained and then were analyzed and synthesized to a summary overview of the knowledge. The clinical nursing practice guideline for promoting care and prevention of FC was developed. It composed of two guidelines. The first was a clinical nursing practice guideline for children with fever but no FC. It consisted of two stages. Stage 1 was the stage of health assessment, included health historyinterview, physical examination, and assessment of risk factors for FC. Stage 2 was the stage of care for the children at the emergency department. The children were divided into 4 groups: 1) children who had no history of FC and no risk factor for first FC, 2) children who had no history of FC but had risk factors for first FC, 3) children who had no history of FC and two or less risk factors for recurrent febrile convulsion (RFC), and 4) children who had history of FC and more than two risk factors for RFC. The second guideline was a clinical nursing practice guideline for children with fever and convulsion. It consisted of three stages. Stage 1 was the stage of health assessment, included health history interview, physical examination, evaluation the symptoms of convulsion, and assessment of risk factors for RFC. Stage 2 was the stage of care for the children at the emergency department. Evaluation of children. The children were divided into 2 groups: 5) children who had first FC and two or less risk factors for RFC, and 6) children who had first FC and more than two risk factors for RFC or those with RFC or with complex convulsion. Stage 3 was the stage of care for the children in ward or the stage of observation in hospital. The clinical nursing practice guideline was validated by four experts. The last phase of the study, the guideline had been implemented in the emergency department of Hua Chiew Hospital for one week. It was found that parents were satisfied, reduced anxiety, and were able to take care their children with febrile and prevent them from FC. The children had no RFC. Nurses were also satisfied with the guideline. They felt confident to care the children and to educate their parents about the care for febrile children and FC. The clinical nursing practice guideline should be systematically evaluated for its effectiveness, and be revised for appropriateness and also be updated to the later new knowledge. It should be integrated into the services of primary care unit, a network of Hua Chiew Hospital, and should be a part of the quality improvement of the hospital.