การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติพยาบาลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงประเทศสหรัฐอเมริการ (Soukup. 2000) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา การศึกษาเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจของเจ้าหน้าที่แผนกหน่วยจ่ายกลางในโรงพยาบาล ตามด้วยการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการและแหล่งสืบค้นที่หลากหลาย การประเมินคุณภาพระดับความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้จากหลักฐานงานวิจัยทั้งหมดได้จำนวน 20 เรื่อง แบ่งเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ วิจัยเชิงทดลอง 2 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 10 งานวิจัยัเชิงทดลอง 5 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 25 งานวิจัยเชิงทดลองแต่ไม่มีการสุ่ม 4 เรื่องคิดเป็นร้อยละ 20 งานวิจัยเชิงบรรยายอย่างเป็นระบบ 6 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 30 งานวิจัยเดี่ยวเชิงบรรยาย 1 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5 และแนวปฏิบัติการพยาบาลจำนวน 2 เรื่องคิดเป็นร้อยละ 10 จากนั้นนำหลักฐานที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สร้างข้อสรุปในภาพรวมขององค์ความรู้ที่ได้จากหลักฐานทั้งหมด ร่วมกับบูรณาการความรู้ใหม่ที่ได้เข้ากับประสบการณ์การปฏิบัติงานทางคลินิกและบริบทของหน่วยงาน พัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่มีภาวะดัชนีมวลกายเกิน แนวปฏิบัตินี้ประกอบด้วย การตรวจคัดกรอง เพื่อประเมินภาวะดัชนีมวลกาย ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารประเมินระดับแรงจูงใจ หลังจากนั้นมีการนำเข้าสู่กระบวนการสร้างแรงจูงใจ แบ่งระดับกลุ่มเป้าหมาย เป็นระดับน้อย ระดับปานกลาง ระดับมาก และให้การพยาบาลตามระดับกลุ่มที่ได้ประเมินไว้ หลังจากนั้นประเมินผลหลังจากเข้าสู่กระบวนการสร้างแรงจูงใจเพื่อประเมินผลกลุ่มเป้าหมาย แนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความครอบคลุมของเนื้อหาตลอดจนความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างแรงจูงใจ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกินแล้ว ได้ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการปรับแก้ไขร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาจนได้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
This study was aimed to develop a Clinical Nursing Practice Guideline (CNPG) for the Motivation Behavior change in the eating for Prevention in coronary heart disease in the over body mass index. The evidence-based practice model developed by the Center for Advanced Nursing Practice Evidence-Based Practice Moel in the United States (Soukup. 2000) was applied as a framework in the study. The study began with an analysis of Cardiovascular disease problem, in a supply official in the hospital and then searched for related evidences from various strategies and sources. Twenty evidences were retrieved, comprising two meta-analysis of randomized control trials, five randomized control trials, four quasi-experimental study, six qualitative study, one descriptive study and two expert guidelines. These evidences were analyzed and synthesized to receive new body of knowledge. The integration of new knowledge, clinical experiences and context of the setting were performed to develop a clinical practice guideline for the Motivation Behavior changed in the eating for Prevention in Coronary heart disease in the over body mass index. This CNPG was composed screening of risk of body mass index to evaluate behavior change in the eating and to conduct motivation process and nursing. This CNOG was validated by 3 experts check possibility of content and to correct until CNPG for the Motivation Behavior change in the eating for Prevention in coronary heart disease in the over body mass index.