DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นโสด รูปแบบการเป็นโสดและปัจจัยสนับสนุนการใช้ชีวิตโสด : ศึกษาเฉพาะสตรีโสดวัย 25-50 ปี ในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.author ชัชทอง ธุระทอง
dc.contributor.author Chuttong Turatong
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2022-05-04T06:34:32Z
dc.date.available 2022-05-04T06:34:32Z
dc.date.issued 1998
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/223
dc.description วิทยาลัยนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 th
dc.description.abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ชีวิตโสด เครือข่ายทางสังคมของสตรีโสด ทัศนคติต่อการสมรสและการเป็นโสด และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อการใช้ชีวิตโสดของสตรีอายุ 25 – 50 ปี ในกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าแปรปรวน และวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณแบบปกติผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปีจบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีอาชีพในภาคธุรกิจเอกชน มีรายได้ตั้งแต่ 9,001 บาทขึ้นไป และส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัวในส่วนของรูปแบบของการใช้ชีวิตโสด กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้สมัครใจเป็นโสดมีสัดส่วนสูงที่สุดรองลงมาคือ สมัครใจเป็นโสดชั่วคราว และสมัครใจเป็นโสดถาวรมีน้อยที่สุดในการศึกษาปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนค่อนข้างสูง และจากครอบครัวในระดับปานกลางค่อนข้างสูง โดยกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนฝูง ได้แก่ กลุ่มที่มีรายได้สูง ประกอบอาชีพรับราชการและเอกชน ส่วนกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวสูง ได้แก่ กลุ่มที่มีการศึกษาดี ทำงานธุรกิจเอกชน และเป็นผู้ที่ไม่เคยสมรสมาก่อนจากการศึกษาปัจจัยด้านจิตใจ กลุ่มตัวอย่างมีระดับการเชื่ออำนาจในตนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการศึกษาระดับสูง รายได้ดี เป็นผู้ที่มีความเห็นว่าการอยู่เป็นโสดดีกว่าและสมัครใจอยู่เป็นโสดถาวรส่วนการเห็นคุณค่าในตนเอง กลุ่มตัวอย่างมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่มีการศึกษาสูง รายได้ดี เป็นผู้ที่ยังไม่เคยสมรสมาก่อนและเลือกที่จะใช้ชีวิตสมรสมากกว่าการใช้ชีวิตโสดสำหรับทัศนคติต่อการเป็นโสด กลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่าการเป็นโสดดีกว่า สูงกว่ากลุ่มที่เห็นว่าการแต่งงานดีกว่าในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นโสด ผลการวิเคราะห์พบว่า ความคิดเห็นว่าการเป็นโสดดีกว่า และการมีอายุค่อนข้างสูง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สตรีตัดสินใจเป็นโสดถาวรโดยสมัครใจ และการมีอายุยังน้อยและมีรายได้ดีมีอิทธิพลต่อการเป็นโสดชั่วคราว และการมีความคิดเห็นว่าการแต่งงานดีกว่า และความคิดเห็นว่าการเป็นโสดของสตรีจะเป็นปัญหากับสังคม มีอิทธิพลต่อการไม่สมัครใจเป็นโสดของกลุ่มตัวอย่างนอกจากปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยอ้อม ได้แก่ การเชื่ออำนาจในตน การเห็นคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและเพื่อนจากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้ที่วิจัยจึงเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเผยแพร่ข้อมูลในแง่การศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นโสด การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการใช้ชีวิตโสดกรณีที่ต้องตัดสินใจใช้ชีวิตโสดอย่างถาวร เพื่อให้สตรีกลุ่มดังงกล่าวสามารถยอมรับการใช้ชีวิตโสดได้ อย่างมีความสุข รวมทั้งการสร้างเครือข่ายทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุโสดด้วย th
dc.description.abstract This research aims to the types of single good life, social support of single women, attitude towards single life and factors effecting life of 25-50 years old single women in Bangkok, the data has been analysed by program SPSS/PC+ to study the percentage, mean and multiple regression. The result found that the most samples aged between 25-30 years old with bachelor degree, worked in business organization, earned about 9,001 baht per month and most of them were living with families. On the study of types of single life, the result has show that most samples preferred not to be single, others preferred being temporary single and smallest part preferred to be single permanently. On the study of mental characteristics, samples mostly had high level of internal locus of control and self-esteem and most of them preferred single lifes to to married lives From the study of social support, the samples received high support from their friends and fair support from their families, those who received friend’s support had high income, worked in government and private organization, while those with high support from families had high education, worked in business organization and never been married. The analysis of factors effecting singlehood showed that good attitude towards single-life and higher ages were important factors for women who chose to become a permanent single women. The group of younger women with high income preferred to be only temporary single women. And those who chose not to be single had good attitude towards married life. Apart from the direct factors; there were some indirect factors, such as, high level internal locus of control. Low level of self-esteem and social support from friends also influenced women to choose to be single intentionally. From the result, this study has suggestions for involved organizations to provide information for women who have chances to become single to prepare their social support, attitude towards single lives, and internal locus of control in order to live their single lives happily. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject สตรี -- สถานภาพทางกฎหมาย th
dc.subject สตรีโสด th
dc.subject Single women th
dc.subject Women -- Social conditions th
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นโสด รูปแบบการเป็นโสดและปัจจัยสนับสนุนการใช้ชีวิตโสด : ศึกษาเฉพาะสตรีโสดวัย 25-50 ปี ในกรุงเทพมหานคร th
dc.title.alternative Factors Effecting Singlehood, Single-Life Types and Factors Supporting Single Lifes : A Case Study of 25-50 Years Old Single Women in Bangkok th
dc.type Thesis th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account