การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
ความเมื่อยล้าส่วนหลังของพนักงานฝ่ายปั๊มขึ้นรูปร้อนของการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานฝ่ายปั๊มขึ้นรูปร้อน จํานวน 92 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการสัมผัสปัจจัยด้นการยศาสตร์ ข้อมูลความเมื่อยล้าทางกาย โดยมีการนําไปทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าคอนบราคเท่ากับ 0.849 ผู้วิจัยได้ตรวจสอบการกระจายของข้อมูลก่อนนํามาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิตเชิงวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าส่วนหลังของพนักงาน ใช้สถิตไคสแควร์ กําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 91.3 เป็นเพศชาย ร้อยละ 40.2 มีอายุ อยู่ในช่วง 30-39 ปี ร้อยละ 59.8 มีอายุการทํางานส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1-10 ปี ร้อยละ 41.3 มีค่าดัชนีมวล กาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 90.2 มีการทํางานล่วงเวลา ร้อยละ 53.3 จบการศึกษา
ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด ประชากรร้อยละ 56.5 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 50 เคยเข้ารับการอบรมหัวข้อท่าทางการทํางานที่ถูกวิธี และ ร้อยละ 90.2 เคยทํางานล่วงเวลา ส่วนการสัมผัสปัจจัยด้านการยศาสตร์ พบว่า ประชากรร้อยละ 58.7 ไม่เสี่ยงต่อการสัมผัสปัจจัยด้านการยศาสตร์ และในส่วนของความเมื่อยล้าบริเวณหลังส่วนบน ร้อยละ 37.0 ประชากรส่วนใหญ่เริ่มรู้สึกไม่สบาย เมื่อยล้าหรือมีอาการปวดเล็กน้อย และร้อยละ 29.3 ปวดเมื่อยล้าปานกลาง (หยุดพักงานทุเลาลง) ส่วนความเมื่อยล้าบริเวณหลังส่วนล่างร้อยละ 30.4 เริ่มรู้สึกไม่สบาย เมื่อยล้าหรือมีอาการปวดเล็กน้อย และ ร้อยละ 45.7 ปวดเมื่อยล้าปานกลาง (หยุดพักงานทุเลาลง) ผลการศึกษาพบว่า การสัมผัสปัจจัยด้านการยศาสตร์มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าหลังส่วนล่างของพนักงานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p-value <0.05 ผลการศึกษาเป็นประโยชน์ สามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันอันตรายในการทํางานที่เกิดจากการสัมผัสปัจจัยด้านการยศาสตร์ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพพนักงาน รวมทั้งใช้เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขสภาพการทํางานของพนักงานฝ่ายปั๊มขึ้นรูปร้อนให้มีระดับความเมื่อยล้าที่เกิดจากการทํางานให้ลดน้อยลง
The study is descriptive research. The purpose of relationship between personal
factors and ergonomics factor with factors related to fatigue among of an auto part
manufacturing factory. The sample for this study were 92 workers who work in hot stamping. Questionnaires was used for data collection including 3 part, personal information, exposure risk for ergonomics and fatigue, body discomfort chart. The statistic level by Cronbach's alpha was 0.849. For analysis used frequency, percentile, mean and Chi-square to test relationship. The result of this study showed that the majority of population 91.3% were male, age was between 30-39 years old representing 40.2% of the population, work experience was between 1-10 years representing 59.8% of the population, the body mass index (BMI) found that the majority of the
population 41.3% were normal, most of the population was 90.2% of overtime, 56.5% of
population were married. And the exposure factors of ergonomics found that 58.7% were risk of exposure to ergonomic factors. In the case of fatigue, upper back, 3 7 .0 % of the population began to feel fatigue or pain, and 29.3% moderate pain, in the lower back, 30.4% of the population feel fatigue or pain, and 45.7% moderate pain from the analysis. The relationship of the factors that were associated with physical fatigue of hot stamping staff is personal factors not related to physical fatigue in the level of p-value>0.05. The exposure factors of ergonomics is associated with physical fatigue, significance level of p-value<0.05. The risk of exposure to ergonomic related with lower back of the level of statistical significance p-valve<0.05. The study can be adopted to protect the worker from exposure to ergonomic factors that may affect the health of employees including to improve the working conditions of hot stamping staff with the fatigue caused by the loss of functionality.