DSpace Repository

การศึกษาปัจจัยก่อนการสมรสปัจจัยการเลือกคู่ครองและทัศนคติต่อการสมรสระหว่างแรงงานที่จดทะเบียนสมรสและไม่จดทะเบียนสมรส : ศึกษากรณีแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.author ฉันทนา วุฒิไกรจำรัส
dc.contributor.author Chantana Wuttikraijumrat
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2022-05-04T07:23:59Z
dc.date.available 2022-05-04T07:23:59Z
dc.date.issued 2001
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/225
dc.description วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 th
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยก่อนการสมรส ปัจจัยการเลือกคู่ครองและทัศนคติต่อการสมรสระหว่างแรงงานที่จดทะเบียนสมรส และไม่จดทะเบียนสมรส : ศึกษากรณีแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแบบแผนการสมรส ความสัมพันธ์ของปัจจัยก่อนการสมรส ปัจจัยการเลือกคู่ครอง ทัศนคติก่อนการสมรสของกลุ่มแรงงานที่มีแบบแผนการสมรสต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จำนวน 300 คนทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิงซึ่งมีแบบแผนการสมรสแบบไม่จดทะเบียนสมรส ปัจจัยก่อนการสมรส กลุ่มที่ไม่จดทะเบียนสมรสมีอายุแรกสมรสต่ำกว่า และใช้ระยะเวลาคบคุ้นกับเพื่อนต่างเพศไม่นาน ขณะที่กลุ่มที่มีแบบแผนการสมรสแบบจดทะเบียนสมรส มีอายุแรกสมรสสูงกว่าและใช้ระยะเวลาคบคุ้นนานกว่า ด้านการสนับสนุนจากบุคคลนัยสำคัญ กลุ่มจดทะเบียนสมรสได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่มากกว่า แต่กลุ่มไม่ได้จดทะเบียนสมรสพ่อแม่มักไม่ยุ่งเกี่ยวกับการสมรสปล่อยให้ตัดสินใจเอง ด้านทัศนคติต่อการสมรส กลุ่มที่จดทะเบียนสมมีทัศนคติเป็นแบบสมัยนิยม คือเมื่อแต่งงานแล้ว สามี ภรรยาจะต้องมีความเสมอภาคกันฉันท์เพื่อน ขณะที่กลุ่มไม่ได้จดทะเบียนสมรสยังมีทัศนคติแบบดั้งเดิม เช่น การดูฤกษ์ยามก่อนทำพิธีแต่งงาน การที่สามีควรทำงานนอกบ้านและภรรยาทำงานในบ้าน ด้านการเลือกคู่ครอง กลุ่มที่จดทะเบียนสมรสเลือกคู่ครองจากความคล้ายคลึงกันทางทัศนคติ รองลงมา คือความคล้ายคลึงกันทางสังคม ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสเลือกคู่ครองจากความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ ด้านเกณฑ์การเลือกคู่ครอง กลุ่มจดทะเบียนสมรสจะเลือกเกณฑ์ในการมีความรัก ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสใช้เกณฑ์ความประพฤติดีและนิสัยดีในการเลือกคู่ครอง เหตุผลในการสมรสเพราะความใกล้ชิด กลุ่มจดทะเบียนสมรสใช้เหตุผลการที่มีบ้านอยู่ละแวกเดียวกัน ขณะที่กลุ่มไม่ได้จดทะเบียนสมรส ใช้เหตุผลจากการทำงานที่เดียวกัน จากผลการวิจัยที่กล่าวมาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อการเลือกคู่ครอง ทัศนคติต่อการสมรส ของกลุ่มแรงงานในอุตสาหกรรม ซึ่งบริษัทหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายบุคคลเป็นต้น ควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกคู่ครองและการสมรส เพื่อให้กลุ่มแรงงานสามารถเลือกคู่ครองได้เหมาะสมรวมทั้งสร้างทัศนคติแบบสมัยนิยม ในการใช้ชีวิตสมรสกันฉันท์เพื่อน ซึ่งจะส่งผลต่อความพึงพอใจและความมั่นคงในชีวิตสมรสให้สูงขึ้นอีกด้วย th
dc.description.abstract The objective of this study , a study on factors related to legal and lllegal marriage : a case study on labours in Leam Chabang Industrial Estate,Chonburi Province, is to study patterns of marriage, relationship of factors prior to marriage, factors relating to choice of spouse, attitude toward marriage of labours with different patterns of marriage. The target sample were 300 workers who workers in factories in Leam Chabang Industrial Estate. Data was collected by questionnaires and analyzed by computer software SPSS/PC+. The findings found that most of the samples were females. The groups with illegal marriage married at average age lower than those with legal marriage and had shorter time of dating than the legal ones. In terms of support from significant persons, the legal marriage group gained higher support from parents. While the illegal marriage group was allowed to make their own decision. Considering attitudes toward marriage, the legal marriage group had a contemporary attitude that; after marriage, husbands and wives were being friends with equal rights. The non-legal marriage group had more conservative opinion; for example, considering an auspicious timing for marriage of husband earning money while wife doing house hold chores. Considering the choice of spouse, the legal marriage group made their choice based on similarity of attitudes, followed by similarity of social status. The illegal group make their choice based on physical attraction. In terms of criteria for couple selection, the legal group made their choice based on love and understanding of each other. The illegal group made their choice based on good behavior and habits. For marriage reasons due to physical proximity. The legal group used living near each other while the illegal group used work working at the same place. From the study above, the researcher has recommendations for choice of spouse, attitude toward marriage of workers in industry. Companies of organizations should educate workers on choice of spouse and marriage. This to help workers to make the right choice and to achieve a contemporary marriage based on friendship and equality. This will result in a higher level of satisfaction and stability in marriage. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การสมรส th
dc.subject การเลือกคู่ครอง th
dc.subject ครอบครัว -- ไทย th
dc.subject การวางแผนครอบครัว th
dc.subject แรงงาน -- ไทย th
dc.subject Marriage th
dc.subject Mate selection th
dc.subject Households -- Thailand th
dc.subject Family planning th
dc.subject Labor -- Thailand th
dc.title การศึกษาปัจจัยก่อนการสมรสปัจจัยการเลือกคู่ครองและทัศนคติต่อการสมรสระหว่างแรงงานที่จดทะเบียนสมรสและไม่จดทะเบียนสมรส : ศึกษากรณีแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี th
dc.title.alternative A Study on Factors Related to Legal and Illegal Marriage : A Case Study of Labours in Laem Chabang Industrial Estate Chonburi Province th
dc.type Thesis th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account