การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ กระบวนการและผลการสร้าง หุ้นส่วนสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม ชุมชนพิทักษ์ธรรม ตําบลสําโรงใต้ อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 35 ราย กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ผู้ดูแล พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย ผู้นําชุมชน อสม. และบุคลากรในกองสาธารณสุขเทศบาลปู่เจ้าสมิงพราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แนวคําถามสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ความแม่นตรงตามเนื้อหา 0.90 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์โดยรวม 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการณ์ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ด้านผู้สูงอายุ คือ อายุ อาการปวดเข่าและประสิทธิภาพการดําเนินชีวิตประจําวัน ด้านผู้ดูแลคือ ความเพียงพอของรายได้ และการรับรู้ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมที่เกิดกับผู้สูงอายุ บทบาทของผู้เกี่ยวข้องที่อาจส่งผลต่อข้อเข่าเสื่อมแยกได้ 3 ประเด็น คือ 1) บุคลากรสุขภาพส่วนใหญ่รักษาตามอาการและให้คําแนะนําแบบทั่วไป และสนับสนุนงบประมาณยังไม่ครอบคลุม 2) บุคลากรชุมชนทราบปัญหาไม่ครบถ้วน ไม่มีโครงการหรือกิจกรรมดูแลข้อเข่าเสื่อม และ อสม.ไม่มั่นใจให้คําแนะนําและ จัดกิจกรรมในชุมชน 3) ผู้ดูแลเน้นจัดยา ให้รับประทานอาหาร พาไปพบแพทย์เท่าที่มีเวลา และกระตุ้น ผู้สูงอายุให้ดูแลตนเองไม่มาก กระบวนการสร้างหุ้นส่วนสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม มี 4 ระยะ คือ 1) สร้างความเป็นหุ้นส่วนด้วยการประสานผู้เกี่ยวข้องกําหนดแผนงานและกิจกรรม 2) สร้างระบบรองรับการทํางาน 3) ประเมินคุณภาพกิจกรรมเป็นระยะจนได้ข้อตกลงร่วมกัน 4) พัฒนาความต่อเนื่องของหุ้นส่วนด้วยการร่วมประเมินการทํางาน กิจกรรมที่เกิดขึ้น คือ บริหารข้อเข่า ทําสมุนไพรพอกเข่า ให้ความรู้และเยี่ยมบ้านด้วยคู่มือดูแลข้อเข่าเสื่อม ผลของกระบวนการสร้างหุ้นส่วนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม พบว่า ผู้สูงอายุ รับรู้เรื่องโรค และความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น (p<0.05) พฤติกรรมดูแลข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น (p<0.05) น้ําหนักตัวลดลง (p<0.05) อาการปวดและความยากลําบากในการทํากิจวัตรประจําวันลดลง (p<0.05) ด้านผู้ดูแล รับรู้ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น (p<0.05) พฤติกรรมการช่วยดูแลผู้สูงอายุ ข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น (p<0.05)
This action research was to study condition, process and the result of the process of health partnership for the elderly osteoarthritis. The participants consisted of the 35 elderly people who live in Phitaktham community, Samrong Tai Sub-district Phrapradaeng District, Samut Prakarn Province. The participants were, caregivers, nurses, Thai traditional medical officers, community leaders, village health volunteers and health personnel at Poochaosamingprai Municipality. Data collection were carried out by using the interviews, the questions via focus groups and participatory observations. Data analysis was performed by using paired t-test and content analysis The results showed the condition that was significantly associated with behavioral care for the elderly were age, knee pain, and efficient life styles. For the caregivers, the conditions were the sufficient income and the recognition of the severity of osteoarthritis affecting the elderly. The role of stakeholders that may affect osteoarthritis were 1) health personnel should treat symptoms and give advice, but shouldn’t give monetary funds. 2)health personnel know about the problems of osteoarthritis, but the village, community don’t have the information or skills to help. 3) caregivers only focused on medication, diet, doctors visits and encouraging the elderly to look after themselves, which is clearly not enough. To solve these problems the involvements mutually decided to help elderly osteoarthritis by; 1) form a health partnership to help plan activities, 2) create a support system, 3) evaluate the activities and there use, 4) create a continuity plan, record and discuss about activities. The activities emerged from their help included, joint exercise, herbal wraps and a home visit with a care manual for osteoarthritis. The following points from their participations were; the patients significantly perceived to recognize their problems and had more care behaviors, the weight of these patients significantly decreased, the joint pain, jamming also significantly decreased. And finally the caregivers significantly increased their perceptions and had more care behaviors to the osteoarthritis.