การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการ แรงงานต่างด้าวและเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว รวมทั้งเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ประกอบการ จำนวน 45 ราย แรงงานต่างด้าว จำนวน 100 ราย และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ จำนวน 20 ราย รวมทั้งสิ้น 165 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เมื่อเก็บรวมรวมข้อมูลครบถ้วน จึงนำมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC โดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสถิติการถดถอยพหูคูณ ซึ่งผลวิจัยพบว่า ความคิดเห็นในการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ ในด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่เห็นด้วยอย่างมากกับการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และพบว่าผู้ประกอบการมีความคิดเห็นที่ดีต่อประสิทธิผลการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐโดยรวมอยู่ในระดับสูงด้วยเช่นกัน สำหรับแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ มีสัญชาติพม่า กัมพูชา และลาว ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่ดีต่อคนไทยโดยรวมในระดับปานกลาง และแรงงานต่างด้าวมีความคิดเห็นที่ดีต่อประสิทธิผลการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนความคิดเห็นต่อการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ พบว่า ในด้านความคิดเห็นต่อการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความคิดเห็นต่อขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐมีความคิดเห็นที่ดีต่อประสิทธิผลการทำงานของหน่วยงานภาครัฐโดยรวมอยู่ในระดับสูงจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบตัวแปร 9 ตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว คือปัจจัยด้านผู้ประกอบการ ได้แก่ ตัวแปร 1 ความรู้ในขั้นตอนการจดทะเบียน ตัวแปร 2 จำนวนการจ่างแรงงานต่างด้าว และตัวแปร 3 ความคิดเห็นต่อแรงงานต่างด้าว ปัจจัยด้านแรงงานต่างด้าว ได้แก่ ตัวแปร 4 อายุการทำงาน ตัวแปร 5 รายได้ ตัวแปร 6 ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน และ ตัวแปร 7 ความเสี่ยงในการถูกตรวจจับ ปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ได้แก่ ตัวแปร 8 ความคิดเห็นต่อขั้นตอนการดำเนินงาน และตัวแปร 9 ภาระงานปัญหาอุปสรรคในการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในความคิดเห็นของผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว ปรากฏว่าการจดทะเบียนมีขั้นตอนยุ่งยาก การขาดการประชาสัมพันธ์ การจดทะเบียนใช้เวลานาน ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสูงเกินไป สถานที่ในการจดทะเบียนแออัดไม่เหมาะสม เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการขาดความรู้ความเข้าใจในงานและขาดการประสานงาน รวมทั้งระบบงานในการจดทะเบียนขาดประสิทธิภาพ ในความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภาครัฐพบปัญหา และอุปสรรคคือ นายจ้างไม่เข้าใจรายละเอียด และขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมาจดทะเบียน นายจ้างไม่ให้ความร่วมมือ ลูกจ้างแรงงานต่างด้าวเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อย ความล่าช้าในการมาจดทะเบียน การจดทะเบียนมีขั้นตอนมาก และมีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ หน่วยงานภาครัฐไม่มีความพร้อมด้านกำลังคน งบประมาณ และสถานที่ ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน และกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานไม่ชัดเจน มีปัญหาด้านภาษาและการสื่อสารที่เข้าใจยาก ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ กระทรวงแรงงานควรจัดทำฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอันจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการวางแผนและการกำหนด นโยบายเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติ การตรวจชำระกฎหมาย ประกาศทางราชการ และระเบียบการเกี่ยวกับคนต่างด้าวทั้งหมด กระทรวงแรงงานต้องจัดทำแผนปฏิบัติการและทำการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนอย่างต่อเนื่อง มีการปรับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพื้นที่ ในแต่ประเภทงาน และพิจารณาลดค่าธรรมเนียมให้ถูกลงกระทรวง แรงงานควรมีมาตรการกลไกรองรับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และจัดสิทธิประโยชน์ที่แรงงานต่างด้าวได้รับอย่างเป็นธรรมเช่นเดียวกับแรงงานไทย อีกทั้งควรพัฒนาเพิ่มศักยภาพ การทำงานขององค์กร และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป
The objectives of the thesis were to study the opinion of entrepreneurs, foreign labour, and the officers who were responsible for the registration of foreign labour on factors, which affect the effectiveness of registration and the suggestion for its improvement in Sumutprakarn Province. The sample size of 165 included 45 entrepreneurs, 100 foreign labour and 20 officers. The SPSS Programme for Window was used for the analysis dealing with Percentage, Mean and Multiple Regression. The result of the research showed that the opinion of the entrepreneurs on the knowledge of registration is at medium level. Most entrepreneurs had high degree of agreement with the registration and the efficiency of the government officers. The majority of foreign labours ranging from high to low were Burmese, Cambodian and Laotian nationals. Most foreign labours had a favorable opinion of Thai people generally at medium level and at high level on the effectiveness of government officials. The officers had an overall opinion on foreign labour’s registration and the steps of registration process at medium level and at high level on the effectiveness of government officials.The findings of this research indicated that there were factors that enhanced the effectiveness of the registration. Factors concerning entrepreneurs were 1) Knowledge on the steps of registration 2) Number of foreign labour employed 3) T he opinion toward foreign labour; while factors concerning foreign labour were 4) Duration of work 5) Income 6) Registration’s expenses 7) The risk to be arrested ; and factors concerning the government officers were 8) The opinion the steps of registration 9) Load of work. Problems of registration of foreign labour in the opinion of entrepreneurs and foreign labour themselves were the complication of the steps of registration, lack of public relations, long registration process, high expenses, restricted registration’s area, lack of understanding on part of government officers, lack of coordination and lack of efficiency on registration system. Problems in the opinion of government officers were lack of understanding of employees, lack of employee’s cooperation, frequent change of workplaces of foreign labour, lateness on registration, too many steps on registration, operational complication, insufficiency of budget as well as manpower and space, lack of coordination among public agencies, and communication difficulties. The recommendations were as the followings: the Ministry of labour should develop an up-to-date database of foreign labour for the benefits of planning and policy formulation and for amendment of outmoded rules and laws governing foreign labour. The Ministry of Labour must develop an operational plan and continuously publicize the requirement for foreign labour registration to the entrepreneurs and foreign labour, adjust the according to the areas and types of work, or even reduce the fees. The Ministry should develop measure to guarantee against violation of human rights and give foreign labour equally fair treatment as Thais. Besides, the Ministry should increase the potentiality of the Organization and of officers responsible for the administration of foreign labour.