การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการปฏิบัติตามระบบสากล GHS และเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ก่อนและหลังเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการสื่อสารและการจำแนกความเป็นอันตรายตามระบบสากล GHS และการปฏัติงานกับสารเคมี กลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ใช้ในการศึกษาเลือกมาอย่างสุ่มในแผนกที่มีการใช้สารเคมีทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ สารไวไฟ สารกัดกร่อน สารพิษ จำนวน 190 คน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบตรวจรายการ (Checklist) มีความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.67-1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และแบบทดสอบความรู้มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 การทดสอบการเปรียบเทียบความรู้ก่อน-หลังอบรมใช้สถิติ pair t-test ผลการศึกษาพบว่า การจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีทั้งสิ้น 17 รายการ แบ่งเป็น สารไวไฟ 5 รายการ สารกัดกร่อน 2 รายการ สารพิษ 10 รายการ โดยสถานประกอบการสามารถจัดทำเอกสารข้อมูลความยังดำเนินการไม่ครอบคลุมททุกภาชนะ และในส่วนการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายของสารเคมีตามความเป็นอันตรายซึ่งจำแนกตามระบบสากล GHS นั้นยังไม่เหมาะสมครบทุกพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมี เนื่องจากการจำแนกความเป็นอันตรายตามระบบสากลค่อนข้างมีความละเอียดกว่ามาตรฐานเดิม สำหรับผลการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนและหลังเข้ารับการอบรมของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยค่า p-value < 0.001 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นอกจากนี้ ยังพบประเด็นว่าพนักงานมีความรู้เกี่ยวกับสื่อสารและการจำแนกความเป็นอันตรายตามระบบสากล GHS มากขึ้น แต่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับความการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและการจัดเก็บสารเคมีอย่างเหมาะสมจึงควรปรับปรุงเนื้อหาและการอบรมในส่วนนี้มากขึ้น
This study was a cross-sectional study. The purposes of this study were to classify and communicate the chemical hazards and to compare the differences between the pretest and posttest scores of chemical training. Samples were chemical 3 groups such as flammable corrosion and toxic; and employees 190 persons. The study conducted between October and December 2017. The data were collected by checklist and examination documents. Accuracy and reliability of checklist were 0.67-1.00 and 1.00 respectively. Accuracy and reliability of document were 0.67-1.00 and 0.71 respectively. Both tools had quality, pairwise comparison using pair t-test. The study indicated that there were 17 chemical safety data sheets, including 5 flammable substances, 2 toxic substances and 10 toxic substances. The safety data sheet and labels is 100 percent compliant with the GHS. However, the implementation was still lacking in the labeling of GHS compliant on containers and the provision of person protective equipment (PPE) in accordance with the GHS, as the GHS has a more detailed classification of hazards. The results of the comparison of the pre and post test scores of the samples showed a statistically significant difference at p-value of 0.00 at 95% confidence level. The results indicate that knowledge of personal protective equipment and chemical handling should pay more attention to training.