การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเขิงพรรณานาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตาในผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง บริเวณรอบมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างบริเวณรอบมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 121 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Chi-square เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 98.35 เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.85 มีอายุตั้งแต่ 41 ปีขึ้นไป ร้อยละ 98.35 ประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 51.24 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา ร้อยละ 52.07 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 83.47 มีอายุการทำงานต่ำกว่า 10 ปี ร้อยละ 57.85 มีชั่วโมงการทำงานตั้งแต่ 8 ชั่วโมง/วันขึ้นไป ร้อยละ 85.12 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 92,56 ครอบครัวไม่มีประวัติเป็นโรคประจำตัว ร้อยละ 57.85 สูบบุหรี่ และร้อยละ 62.81 ดื่มสุรา ร้อยละ 56.20 มีระดับการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตาอยู่ในระดับปานกลาง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 85.10 มีระดับพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตาอยู่ในระดับปานกลาง และโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตาอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านชั่วโมงการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตา อย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 57.85 อยู่ในกลุ่มที่มีชั่วโมงการทำงานตั้งแต่ 8 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป และร้อยละ 55.37 มีระดับพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตา อยู่ในระดับปานกลาง-น้อย แสดงให้เห็นว่า การที่มีชั่วโมงการทำงานที่มากขึ้นทำให้ระดับพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตาลดลง และระดับการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงของอาการทางตาอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 57.85 เป็นกลุ่มที่มีระดับการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตา อยู่ในระดับปานกลาง-ไม่ดี และร้อยละ 54.54 มีระดับพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตา อยู่ในระดับปานกลาง-น้อย แสดงให้เห็นว่าการมีระดับพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตาที่น้อยลงทำให้ระดับพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตาลดลงเช่นกัน ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงโดยการให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางตา เพื่อลดพฤติกรรมต่อการเกิดอาการทางตาและเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีในผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างต่อไป
The cross-sectional descriptive research was designed for study the relationship between the factors related to preventive behaviors from risk on ocular symptoms of the taxi motorcyclists around Huachiew Chalermprakiet University. The study group was 121 subjects by used questionnaire for collect data and analyzed data using computer. The statistics used for the analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. Chi-square was used to test the relationship between the variables studied. Most sample were male 98.35%. The age was more than 41 year olds 57.85%. The major job was motorcycle taxi 98.35%. The graduated from high school 51.24%. The income per month about 10,000 Baths/months. Working Experience lower than 10 years 83.47%. The hours of working more than 8 hours/days 57.85%. Not congenital disease 85.12%. Smoking 57.85% and drink alcohols 62.81%. For risk to ocular symptoms perception level were medium level 56.20% and preventive behaviors from risk on ocular symptoms were medium level 85.10%. Overview of risk to ocular symptoms perception for average were medium level (Mean=98.79, SD=11.94) and risk preventive behaviors from risk on ocular symptoms were medium level (Mean=46.74, SD=6.93). The results to test the relationship of variables showed that hours of working more than 8 hours/day related preventive behaviors level from risk on ocular symptoms were significant difference at p-Value <0.05 which most of the 57.85% working more than 8 hours/day and 54.54% had preventive behaviors level form risk on ocular symptoms were medium to poor level showed that more hours of working to reduce preventive behaviors level from risk on ocular symptoms. For risk to ocular symptoms perception level related preventive behaviors level from risk on ocular symptoms were significant difference at p-Value <0.05 which most of the 57.85% had perception level to risk from ocular symptoms were medium to poor level and 54.54% had preventive behaviors from risk on ocular symptoms were medium to poor level showed that less perception level to risk from ocular symptoms to reduce preventive behaviors level from risk on ocular symptom, too. The result for this study can implement to reduce risks behavior ocular symptoms and for good quality of life in the taxi motorcyclists.