DSpace Repository

การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
dc.contributor.advisor Thipaporn Phothithawil
dc.contributor.author จุฑารัตน์ แคล่วคล่อง
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-06-06T12:52:17Z
dc.date.available 2024-06-06T12:52:17Z
dc.date.issued 2009
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2371
dc.description การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552 en
dc.description.abstract การศึกษาอิสระเรื่อง “การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรึอยุธยา” นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของครอบครัวต่อการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Study) และการสำรวจภาคสนาม (Field Study) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวของเด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างเข้ารับการบำบัดภายในศูนย์ฝึกและอบรม จำนวน 70 ครอบครัว ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50 ปีนับถือศาสนาพุทธ สถานภาพการสมรสแยกกันอยู่/หย่าร้าง/หม้าย เป็นบิดามารดาของเด็กและเยาวชน ภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ระดับการศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพ รับจ้าง รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ศูนย์ฝึกและอบรมจัดกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมทำกิจกรรมรร่วมกับบุตรหลาน ระยะเวลาที่เห็นว่าเหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมต่อครั้ง คือ ระหว่าง 1-3 ชั่วโมง วิธีการเดินทางมาเยี่ยมเยาวชน โดยรถโดยสารประจำทาง จำนวนครั้งที่เหมาะสมต่อการเข้าร่วมกิจกรรม คือ เดือนละ 1 ครั้ง การศึกษาทัศนคติของครอบครัวต่อการเข้ารับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ พบว่า ทัศนคติของครอบครัวต่อการเข้ารับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 อยู่ในระดับมากและทัศนคติเกี่ยวกับความสำคัญของครอบครัวต่อการบำบัดเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 อยู่ในระดับมากที่สุด การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในแต่ละขั้นตอนการบำบัด ได้แก่ ระยะแรกรับ ระยะบำบัด และระยะเตรียมการกลับสู่สังคม โดยได้แบ่งลักษณะการมีส่วนร่วมเป็น 5 ลักษณะ คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติการ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมประเมินผล พบว่า ครอบครัวไม่ได้มีส่วนร่วมทุกลักษณะ และในระยะบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ครอบครัวส่วนใหญ่มีส่วนร่วมรับประโยชน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนร่วมในลักษณะอื่นเลย แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมที่เหมาะสมในการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ที่เหมาะสม ก็คือ การให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ ตั้งแต่ลักษณะแรกจนลักษณะสุดท้ายของงการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู อันได้แก่ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติการ ร่วมรับประโยชน์ และร่วมประเมินผล เนื่องจากครอบครัวจะรับทราบการฝึกอบรมตั้งแต่เริ่มแรกที่เด็กและเยาวชนเข้ารับการฝึกอบรมภายในศูนย์ฝึกและอบรมฯ ตลอดจนทราบถึงบทบาทของตนเองว่าจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมได้อย่างไรบ้าง ขั้นตอนใดบ้าง ตลอดจนการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและเยาวชนเพื่อช่วยให้เด็กและเยาวชนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น และยังพบว่า ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ คือ ศูนย์ฝึกและอบรมฯ จัดให้มีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนน้อย จึงทำให้ครอบครัวไม่มีโอกาสที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเท่าที่ควร การที่ครอบครัวต้องทำงานหารายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว จึงทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ ศูนย์ฝึกและอบรมฯ จัดขึ้นได้ นอกจากนี้การให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ อาจเกิดผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนที่ไม่มีครอบครัว ไม่มีผู้อุปการะดูแลได้ ถึงแม้ว่าศูนย์ฝึกและอบรมฯ เอง จะมีการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ให้กับเด็กและเยาวชนเหล่านั้น แต่ก็ไม่สามารถที่จะหาครอบครัวอุปถัมภ์ได้ในจำนวนที่ครบสำหรับเด็กและเยาวชนทุกคนและทุกครั้งไป ข้อเสนอแนะของการศึกษา กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรกำหนดนโยบายการปฏิบัติงานกับครอบครัวของเด็กและเยาวชนอย่างชัดเจน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับครอบครัวของเด็กและเยาวชนและดำเนินการจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนแต่ละราย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัวกับเด็กและเยาวชนให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดี และควรกำหนดแผนงานการให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชน และการจัดกิจกรรมของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนให้ชัดเจน โดยให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของครอบครัว en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject เยาวชน -- การใช้ยา en
dc.subject Youth -- Drug use en
dc.subject การกระทำความผิดอาญาของเยาวชน en
dc.subject Juvenile delinquency en
dc.subject คนติดยาเสพติด -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ en
dc.subject Drug addicts -- Rehabilitation. en
dc.subject คนติดยาเสพติด -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว en
dc.subject Drug addicts -- Domestic relations. en
dc.title การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา en
dc.title.alternative Family Participation in Rehabilitation Training for Juvenile Delinquency (Drug Addict Cases) at Phra Nakorn Sri Ayudhaya Vocational Training Center en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การบริหารสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account